วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

FolderBrowserDialog

ลักษณะสำคัญของ FolderBrowserDialog
FolderBrowserDialog มีคุณสมบัติเพิ่มเติมบางอย่างที่มีการ จำกัด มุมมองเกี่ยวกับระบบเอกสารที่เป็นผู้ผลิตป้ายแม้จะแสดงให้ผู้ใช้ pre - เลือกไฟล์เมื่อโต้ตอบเป็นหลักแสดงและแสดงปุ่มเพื่อให้บุคคลที่จะผลิตเป็นผู้ผลิตโฟลเดอร์ใหม่ .ก่อนที่จะแสดงไฟล์เว็บการควบคุมเบราว์เซอร์ที่อยู่ในบ้าน SelectedPath อาจจะต้องจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเส้นทางที่สมบูรณ์ของไฟล์ที่ก่อให้เกิดแฟ้มที่สำหรับการเป็นที่เลือกไว้ล่วงหน้าภายในเว็บเบราเซอร์แฟ้มบัตรที่ผู้จัดจำหน่ายต้นไม้ ตัวอย่างเช่นเมื่อบ้านหลังนี้ได้ถูกก่อตั้งขึ้นที่"C :", node สอดคล้องกับ c : ไดรฟ์เป็นที่เลือกไว้ล่วงหน้าภายในต้นไม้เมื่อโต้ตอบเป็นหลัก displayed.SRF


FolderBrowserDialog : ค้นหาหรือสร้างโฟลเดอร์ได้

คอมโพเนนต์ FolderBrowserDialog ตัวนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการกับโฟลเดอร์ เช่น การค้นหาโฟลเดอร์ การสร้างโฟลเดอร์ เป็นต้น















FolderBrowserDialog มีพร็พเพอร์ตี้พื้นฐานที่ควรรู้ดังนี้



ตัวอย่าง การใช้งาน FolderBrowserDialog : ตัวอย่างนี้จะแสดงชื่อโฟลเดอร์ที่เราเลือกผ่าน FolderBrowser


















วันนี้ก็ของเสนอเกี่ยวกับการสร้าง FolderBrowserDialog แบบง่ายๆ มาใช้ในการเลือก Directory ทีเราต้องการ แบบเนียนๆ กันนะครับ ไปชม ตัวอย่าง Source Code กันเลยครับ

Source Code C#

Namespace
using System.Windows.Forms;

//สร้าง object SaveFileDialog.
SaveFileDialog ObjsaveFile = new SaveFileDialog();

//Title ของ Dialog.
ObjsaveFile.Title = "C# Open File Dailog";

//ตั้งค่าเริ่มต้นชื่อ File
ObjsaveFile.FileName = "Text.text";

//กรองนามสกุลไฟล์
ObjsaveFile.Filter = "Text Files*.txtALL Files*.*";

//แสดง Save File Dialog
//ObjsaveFile.ShowDialog();

//สร้าง object FolderBrowserDialog.
FolderBrowserDialog objFolderBrowserDialog = new FolderBrowserDialog();

//แสดงปุ่มสร้าง Folder ใหม่
objFolderBrowserDialog.ShowNewFolderButton = true;

//แสดงรายละเอียดของ Dialog
objFolderBrowserDialog.Description = "C# Folder Browser Dialog";

// Show the FolderBrowserDialog.
if (objFolderBrowserDialog.ShowDialog() == DialogResult.OK)
{
//นำ Path ที่ได้ไปแสดงบน TextBox
textBox1.Text = objFolderBrowserDialog.SelectedPath;
}
else
{
textBox1.Text = string.Empty;
}











1. ออกแบบโปรแกรมที่ต้องการ ดังนี้




2. กำหนดค่าพร็อพเพอร์ตี้คอนโทรลดังนี้







3. เขียนโค้ดกำหนดการทำงาน ดังนี้












4. ทดสอบการทำงานได้ผลลัพธ์ ดังนี้














private void Form1_Load(object sender, EventArgs e)
{
//
// This event handler was created by double-clicking the window in the designer.
// It runs on the program's startup routine.
//
DialogResult result = folderBrowserDialog1.ShowDialog();
if (result == DialogResult.OK)
{
//
// The user selected a folder and pressed the OK button.
// We print the number of files found.
//
string[] files = Directory.GetFiles(folderBrowserDialog1.SelectedPath);
MessageBox.Show("Files found: " + files.Length.ToString(), "Message");
}
}
}
}















อ้างอิง :


http://support.microsoft.com/kb/818459/th#top


http://www.mscomed54.com/vbwbi/chapter8/chapter8-3.php





วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

คำสั่ง if คำนวน vs2010

คำสั่ง if คำนวน vs2010

using System;
using System.Collections.Generic;
using System.ComponentModel;
using System.Data;
using System.Drawing;
using System.Linq;
using System.Text;
using System.Windows.Forms;

namespace WindowsFormsApplication4
{
public partial class Form1 : Form
{
public Form1()
{
InitializeComponent();
}
void sub()
{
int a = 0; int b = 0; int c = 0;
a = Int32.Parse(textBox1.Text);
b = Int32.Parse(textBox2.Text);
if (a > b)
c = a - b;
else if (b > a)
c = b - a;

label3.Text = c.ToString();
}
private void button1_Click(object sender, EventArgs e)
{
sub();
}
}
}

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

งาน อ. ธนากร

using System;
using System.Collections.Generic;
using System.ComponentModel;
using System.Data;
using System.Drawing;
using System.Linq;
using System.Text;
using System.Windows.Forms;

namespace NOt2
{
public partial class Form1 : Form
{
public Form1()
{
InitializeComponent();
}

private void radioButton1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{

}

private void radioButton1_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศชาย");
}

private void radioButton2_Click(object sender, EventArgs e)
{
MessageBox.Show("คุณเลือกเพศหญิง");
}

private void Form1_Load(object sender, EventArgs e)
{
radioButton1.Checked = false;
radioButton2.Checked = false;
}

private void checkBox1_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Red;
}

private void checkBox2_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Green;
}

private void checkBox3_CheckedChanged(object sender, EventArgs e)
{
showColor();
//panel1.BackColor = Color.Blue;
}

private void showColor()
{
if ((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.White;
}
else if ((checkBox1.Checked) && (checkBox2.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Yellow;
}
else if ((checkBox1.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Magenta;
}
else if ((checkBox2.Checked) && (checkBox3.Checked))
{
panel1.BackColor = Color.Cyan;
}

else if (checkBox1.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Red;
}
else if (checkBox2.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Green;
}
else if (checkBox3.Checked)
{
panel1.BackColor = Color.Blue;
}

}
}

}

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ทิศ 6

ทิศหก
ทิศหก บุคคลประเภทต่างๆ ที่เราต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์ ดุจทิศที่อยู่รอบตัวจัดเป็น ๖ ทิศ ดังนี้
๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา
๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์
๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา
๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้ายได้แก่ มิตรสหาย
๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบนได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์
๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง

๑. ปุรัตถิมทิส ทิศเบื้องหน้า ได้แก่ บิดา มารดา


มารดาบิดาอนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ บุตรธิดาพึงบำรุงมารดาบิดา ดังนี้
๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความด
๓. ให้ศึกษาศิลปวิทยา
๔. หาคู่ครองที่สมควรให้
๕. มอบทรัพย์สมบัติให้ในโอกาสอันสมควร ๑. ท่านเลี้ยงเรามาแล้วเลี้ยงท่านตอบ
๒. ช่วยทำกิจของท่าน
๓. ดำรงวงศ์สกุล
๔. ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วทำบุญอุทิศให้ท่าน

๒. ทักขิณทิสทิศเบื้องขวา ได้แก่ ครูอาจารย์


ครูอาจารย์อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้ ศิษย์พึงบำรุงครูอาจารย์ ดังนี้
๑. ฝึกฝนแนะนำให้เป็นคนดี
๒. สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง
๓. สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง
๔. ยกย่องให้ปรากฏในหมู่เพื่อน
๕. สร้างเครื่องคุ้มกันภัยในสารทิศคือ สอนให้ศิษย์ปฏิบัติได้จริง นำวิชาไปเลี้ยงชีพทำการงานได้ ๑. ลุกต้อนรับแสดงความเคารพ
๒. เข้าไปหา
๓. ใฝ่ใจเรียน
๔. ปรนนิบัติ
๕. เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ

๓. ปัจฉิมทิส ทิศเบื้องหลัง ได้แก่ สามีภรรยา


สามีพึงบำรุงภรรยา ดังนี้ ภรรยาอนุเคราะห์สามี ดังนี้
๑. ยกย่องสมฐานะภรรยา
๒. ไม่ดูหมิ่น
๓. ไม่นอกใจ
๔. มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้านให้
๕. หาเครื่องประดับมาให้เป็นของขวัญ ตามโอกาส ๑. จัดงานบ้านให้เรียบร้อย
๒.สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี
๓. ไม่นอกใจ
๔. รักษาสมบัติที่หามาได้
๕. ขยันไม่เกียจคร้านในงานทั้งปวง

๔. อุตตรทิส ทิศเบื้องซ้าย ได้แก่ มิตรสหาย


พึงบำรุงมิตรสหาย ดังนี้ มิตรสหายอนุเคราะห์ตอบ ดังนี้
๑. เผื่อแผ่แบ่งปัน
๒. พูดจามีน้ำใจ
๓. ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
๔. มีตนเสมอร่วมสุขร่วมทุกข์ด้วย
๕. ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน ๑. เมื่อเพื่อนประมาทช่วยรักษาป้องกัน
๒. เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน
๓. ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้
๔. ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก
๕. นับถือตลอดถึงวงศ์ญาติของมิตร

๕. อุปริมทิส ทิศเบื้องบน ได้แก่ พระสงฆ์ สมณพราหมณ์


คฤหัสถ์พึงบำรุงพระสงฆ์ ดังนี้ พระสงฆ์อนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้
๑. จะทำสิ่งใดก็ทำด้วยเมตตา
๒. จะพูดสิ่งใดก็พูดด้วยเมตตา
๓. จะคิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา
๔. ต้อนรับด้วยความเต็มใจ
๕. อุปถัมภ์ด้วยปัจจัย ๔ ๑. ห้ามปรามจากความชั่ว
๒. ให้ตั้งอยู่ในความดี
๓. อนุเคราะห์ด้วยความปรารถนาดี
๔. ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
๕. ทำสิ่งที่เคยฟังแล้วให้แจ่มแจ้ง
๖. บอกทางสวรรค์ สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุขความเจริญ

๖. เหฏฐิมทิส ทิศเบื้องล่าง ได้แก่ ลูกจ้างกับนายจ้าง


นายจ้างพึงบำรุงลูกจ้าง ดังนี้ ลูกจ้างอนุเคราะห์นายจ้าง ดังนี้
๑. จัดการงานให้ทำตามกำลังความสามารถ
๒. ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและ ความเป็นอยู่
๓. จัดสวัสดิการดีมีช่วยรักษาพยาบาลในยาม
เจ็บไข้ เป็นต้น
๔. ได้ของแปลกๆ พิเศษมา ก็แบ่งปันให้
๕. ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส อันควร ๑. เริ่มทำงานก่อน
๒. เลิกงานทีหลัง
๓.เอาแต่ของที่นายให้
๔. ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น
๕. นำความดีของนายไปเผยแพร่

มงคลชีวิต 38 ประการ


มงคล คือเหตุแห่งความสุข ความก้าวหน้าในการดำเนินชีวิต ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้พึงปฏิบัติ นำมาจากบทมงคลสูตรที่พระพุทธเจ้าตรัสตอบปัญหาเทวดาที่ถามว่า คุณธรรมอันใดที่ทำให้ชีวิตประสบความเจริญหรือมี "มงคลชีวิต" ซึ่งก็มี ๓๘ ประการได้แก่

๑. การไม่คบคนพาล ๑๔.ทำงานไม่ให้คั่งค้าง ๒๗.มีความอดทน
๒. การคบบัญฑิต ๑๕.การให้ทาน ๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา ๑๖.การประพฤติธรรม ๒๙.การได้เห็นสมณะ
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร ๑๗.การสงเคราะห์ญาติ ๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล
๕. เคยทำบุญมาก่อน ๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ ๓๑.การบำเพ็ญตบะ
๖. การตั้งตนชอบ ๑๙.ละเว้นจากบาป ๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์
๗. ความเป็นพหูสูต ๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา ๓๓.การเห็นอริยสัจ
๘. การรอบรู้ในศิลปะ ๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย ๓๔.การทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
๙. มีวินัยที่ดี ๒๒.มีความเคารพ ๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต ๒๓.มีความถ่อมตน ๓๖.มีจิตไม่เศร้าโศก
๑๑.การบำรุงบิดามารดา ๒๔.มีความสันโดษ ๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส
๑๒.การสงเคราะห์บุตร ๒๕.มีความกตัญญู ๓๘.มีจิตเกษม
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา ๒๖.การฟังธรรมตามกาล

--------------------------------------------------------------------------------
๑. การไม่คบคนพาล

ท่านว่าลักษณะของคนพาลมี ๓ ประการคือ
๑.คิดชั่ว คือการมีจิตคิดอยากได้ในทางทุจริต มีความพยาบาท และมิจฉาทิฏฐิ คือเห็นผิดเป็นชอบ
๒.พูดชั่ว คือคำพูดที่ประกอบไปด้วยวจีทุจริตเช่น พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และพูดเพ้อเจ้อ
๓.ทำชั่ว คือทำอะไรที่ประกอบด้วยกายทุจริตเช่น การฆ่าสัตว์ ลักขโมย ฉ้อโกง ฉุดคร่าอนาจาร ประพฤติผิดในกาม

รูปแบบของคนพาล มีข้อควรสังเกตุคือ
๑. ชอบแนะนำไปในทางที่ผิด หรือที่ไม่ควรแนะนำ อาทิเช่น แนะนำให้ไปเล่นการพนัน ให้ไปลักขโมย ให้กินยาบ้า ให้เสพยา ชวนไปฉุดคร่าอนาจารเป็นต้น เหล่านี้ถือว่าเป็นพาล
๒. ชอบทำในสิ่งที่ไม่ใช่ธุระ อาทิเช่น ไม่ทำงานตามหน้าที่ของตนให้เรียบร้อย แต่กลับชอบจะไปก้าวก่ายยุ่งกับหน้าที่การงานของผู้อื่น หรือไปจับผิดเพื่อนร่วมงาน แกล้ง ยุยง นินทาว่าร้ายกันและกันเป็นต้น
๓. ชอบทำผิดโดยเห็นสิ่งผิดเป็นของดี อาทิเช่น การสูบยาได้เป็นฮีโร่ เห็นคนที่ซื่อสัตย์เป็นคนโง่ไม่กินตามน้ำ ชอบรับสินบน ทุจริตในหน้าที่ หรือช่วยพวกพ้องให้พ้นจากความผิดเป็นต้น
๔. จะโกรธเคืองเมื่อพูดเตือน อาทิเช่น การเตือนเรื่องการเที่ยวเตร่ เตือนเรื่องการดื่มเหล้า กลับบ้านดึก เตือนเรื่องการคบเพื่อนเป้นต้น คนพวกนี้จะโกรธเมื่อได้รับการตักเตือน และไม่รับฟัง
๕. ไม่มีระเบียบวินัย อาทิเช่น ไม่เข้าคิวตามลำดับก่อนหลัง แต่ชอบแซงคิวอย่างหน้าด้านๆ ทิ้งขยะลงคลอง หรือข้างทาง ไม่เคารพกฏหมายของบ้านเมือง หรือของท้องถิ่นเป็นต้น
--------------------------------------------------------------------------------
๒. การคบบัญฑิต

บัณฑิต หมายถึงผู้ทรงความรู้ มีปัญญา มีจิตใจที่งาม และมีการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง รู้ดีรู้ชั่ว (ไม่ใช่คนที่จบปริญญาโดยนัย) มีลักษณะดังนี้คือ

๑. เป็นคนคิดดี คือการไม่คิดละโมบ ไม่พยาบาทปองร้ายใคร รู้จักให้อภัย เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ ความกตัญญูรู้คุณเป็นต้น
๒. เป็นคนพูดดี คือวจีสุจริต พูดจริง ทำจริงไม่โกหก ไม่พูดหยาบ ถากถาง นินทาว่าร้าย
๓. เป็นคนทำดี คือทำอาชีพสุจริต มีเมตตา ทำทานเป็นปกตินิสัย อยู่ในศีลธรรม ทำสมาธิภาวนา

รูปแบบของบัณฑิต มีข้อควรสังเกตุคือ
๑. ชอบชักนำในทางที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการชักนำให้เลิกทำในสิ่งที่ผิด ตักเตือนให้ทำความดีอย่างเช่น ให้เลิกเล่นการพนันเป็นต้น
๒. ชอบทำในสิ่งที่เป็นธุระ อาทิเช่นการทำหน้าที่ของตนให้ลุล่วง และใช้เวลาที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ ไม่ก้าวก่ายเรื่องของผู้อื่นเว้นแต่จะได้รับการร้องขอ
๓. ชอบทำและแนะนำสิ่งที่ถูกที่ควร อาทิเช่นการพูดและทำอย่างตรงไปตรงมา แนะนำการทำทานที่ถูกต้อง ทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อคนอื่น
๔. รับฟังดี ไม่โกรธ อาทิเช่นเมื่อมีคนมาว่ากล่าวก็ไม่ถือโทษ หรือโกรธ หรือทำอวดดี แต่จะรับฟังแล้วนำไปพิจารณาโดยยุติธรรม แล้วนำมาแก้ไขปรับปรุง
๕. รู้ระเบียบ กฏกติกามรรยาทที่ดี อาทิเช่นการรักษาระเบียบวินัยขององค์กร เพื่อให้หมู่คณะมีความเป็นระเบียบ และการดำเนินงานไม่สับสน หรือการรักษาความสะอาด ปฏิบัติ และเคารพกฏของสถานที่ ไม่ทำตามอำเภอใจ

--------------------------------------------------------------------------------
๓. การบูชาบุคคลที่ควรบูชา

การบูชา คือการแสดงความเคารพบุคคลที่เรานับถือ ยกย่อง เลื่อมใสในบุคคลคนนั้น ซึ่งการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ อย่างคือ

๑. อามิสบูชา คือการบูชาด้วยสิ่งของเช่น การนำเงินให้พ่อแม่ไว้ใช้จ่าย หรือมอบทรัพย์สินให้พ่อแม่ หรือการนำดอกไม้ ธูปเทียนไปบูชาพระก็ถือเป็นอามิสบูชาเป้นต้น
๒.ปฏิบัติบูชา คือการบูชาด้วยการเจริญสมาธิภาวนา การฝึกจิตให้ไม่ฟุ้งซ่าน เห็นความจริงในความเป็นไปของโลกเป็นต้น

บุคคลที่ควรบูชา มีดังนี้คือ
๑.พระพุทธเจ้า (คงไม่ต้องอธิบาย)
๒.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า หมายถึงพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา
๓.พระมหากษัตริย์ผู้ตั้งอยู่ในทศพิศราชธรรม
๔.บิดามารดา
๕.ครูอาจารย์ ที่มีความรู้ดี มีความสามารถ และประพฤติดี
๖.อุปัชฌาย์ หรือผู้บังคับบัญชาที่มีความประพฤติดี ตั้งอยู่ในธรรม

--------------------------------------------------------------------------------
๔. การอยู่ในถิ่นอันสมควร

ถิ่นอันสมควรควรประกอบด้วยสิ่งแวดล้อม ๔ อย่างได้แก่
๑.อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึงอยู่แล้วสบาย เช่นสะอาด เดินทางไปมาสะดวก อากาศดี เป็นแหล่งชุมชน ไม่มีแหล่งอบายมุขเป็นต้น
๒.อาหารเป็นที่สบาย หมายถึงอาหารการกินอุดมสมบูรณ์ เช่นมีแหล่งอาหารที่สามารถจัดซื้อหามาได้ง่าย เป็นต้น
๓.บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึงที่ที่มีคนดี จิตใจโอบอ้อมอารี ถ้อยทีถ้อยอาศัย มีศีลธรรม ไม่มีโจร นักเลง หรือใกล้แหล่งอิทธิพลเป็นต้น
๔.ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึงมีที่พึ่งด้านธรรมะ มีที่ฟังธรรมเช่น มีวัดอยู่ในละแวกนั้น มีโรงเรียน หรือแหล่งศึกษาหาความรู้เป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------
๕. เคยทำบุญมาก่อน

ขึ้นชื่อว่าบุญนั้น มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้คือ
๑. ทำให้กาย วาจา และใจ สะอาดได้
๒. นำมาซึ่งความสุข
๓. ติดตามไปได้ หมายถึงบุญจะติดตัวเราไปได้ตลอดจนถึงชาติหน้า
๔. เป็นของเฉพาะตน หมายถึงขอยืม หรือแบ่งกันไม่ได้ ทำเองได้เอง
๕. เป็นที่มาของโภคทรัพย์ทั้งหลาย คือว่าผลของบุญจะบันดาลให้เกิดขึ้นได้เองโดยไม่ได้หวังผล
๖. ให้มนุษย์สมบัติ ทิพย์สมบัติ และนิพพานสมบัติแก่เราได้ หมายถึงความสมบูรณ์ตั้งแต่ทางโลก จนถึงนิพพานได้เลย
๗. เป็นปัจจัยให้ถึงซึ่งนิพพาน ก็คือเป็นปัจจัยในการส่งเสริมให้บรรลุถึงนิพพานได้เร็วขึ้นเมื่อปฏิบัติ
๘. เป็นเกราะป้องกันภัยในวัฏสังสาร หมายถึงในวงจรการเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือที่เรียกว่าเวียนว่ายตายเกิดนั้น บุญจะคุ้มครองให้ผู้นั้นเกิดในที่ดี อยู่อย่างมีความสุข หรือตายอย่างไม่ทรมาน ขึ้นอยู่กับกำลังบุญที่สร้างสมมา

การทำบุญนั้นมีหลายวิธี แต่พอสรุปได้สั้นๆดังนี้คือ
๑.การทำทาน
๒.การรักษาศีล
๓.การเจริญภาวนา

--------------------------------------------------------------------------------
๖. การตั้งตนชอบ

หมายถึงการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมาย ด้วยความถูกต้องและสุจริต อยู่ในสัมมาอาชีพ มีแผนการที่จะไปให้ถึงจุดหมายนั้นด้วยความไม่ประมาท มีการเตรียมพร้อม และมีความอดทนไม่ละทิ้งกลางคัน

--------------------------------------------------------------------------------

๗. ความเป็นพหูสูต

คือเป็นผู้ที่ฟังมาก เล่าเรียนมาก เป็นผู้รอบรู้ โดยมีลักษณะดังนี้คือ
๑.รู้ลึก คือการรู้ในสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆอย่างหมดจดทุกแง่ทุกมุม อย่างมีเหตุมีผล รู้ถึงสาเหตุจนเรียกว่าความชำนาญ
๒.รู้รอบ คือการรู้จักช่างสังเกตในสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่นเหตุการณ์แวดล้อมเป็นต้น
๓.รู้กว้าง คือการรู้ในสิ่งใกล้เคียงกับเรื่องนั้นๆ ที่เกี่ยวข้องกัน สัมพันธ์กันเป็นต้น
๔.รู้ไกล คือการศึกษาถึงความเป็นไปได้ ผลในอนาคตเป็นต้น

ถ้าอยากจะเป็นพหูสูตก็ควรต้องมีคุณสมบัติดังว่านี้คือ
๑.ความตั้งใจฟัง ก็คือชอบฟัง ชอบอ่านหาความรู้ และค้นคว้าเป็นต้น
๒.ความตั้งใจจำ ก็คือรู้จักวิธีจำ โดยตั้งใจอ่านหรือฟังในสิ่งนั้นๆ และจับใจความให้ได้
๓.ความตั้งใจท่อง ก็คือท่องให้รู้โดยอัตโนมัติ ไม่ลืม ในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
๔.ความตั้งใจพิจารณา ก็คือการรู้จักพิจารณา ตรึกตรองในสิ่งนั้นๆอย่างทะลุปรุโปร่ง
๕.ความเข้าใจในปัญหา ก็คือการรู้อย่างแจ่มแจ้งในปัญหาอย่างถ่องแท้ด้วยปัญญา

--------------------------------------------------------------------------------
๘. การรอบรู้ในศิลปะ

ศิลปะ คือสิ่งที่แสดงออกถึงความงดงาม และมีความสุนทรีย์ โดยลักษณะของมันมีดังนี้คือ
๑.มีความปราณีต
๒.ทำให้ของดูมีค่ามากขึ้น
๓.ทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
๔.ไม่ทำให้เกิดกามกำเริบ
๕.ไม่ทำให้เกิดความพยาบาท
๖.ไม่ทำให้เกิดความเบียดเบียน

ถ้าท่านอยากเป็นคนมีศิลปะ ควรต้องฝึกให้มีคุณสมบัติเหล่านี้ไว้ในตัวคือ
๑.มีศรัทธาในความงดงามของสิ่งต่างๆ
๒.หมั่นสังเกตและพิจารณา
๓.มีความปราณีต อารมณ์ละเอียดอ่อน
๔.เป็นคนสุขุม มีความคิดสร้างสรรค์

--------------------------------------------------------------------------------
๙. มีวินัยที่ดี

วินัย ก็คือข้อกำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด ๗ อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี ๑๐ อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม ๑๐ ประการ
อนาคาริยวินัยของพระมีดังนี้
๑.ปาฏิโมกขสังวร คือการอยู่ในศีลทั้งหมด ๒๒๗ ข้อ การผิดศีลข้อใดข้อหนึ่งก็ถือว่าต้องโทษแล้วแต่ความหนักเบา เรียงลำดับกันไปตั้งแต่ ขั้นปาราชิก สังฆาทิเสส ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ ทุพภาสิต เป็นต้น (ความหมายของแต่ละคำมันต้องอธิบายเยอะ จะไม่กล่าวในที่นี้)
๒.อินทรียสังวร คือการสำรวมอายตนะทั้ง ๕ และกาย วาจา ใจ ให้อยู่กับร่องกับรอย โดยอย่าไปเพลิดเพลินติดกับสิ่งที่มาสัมผัสเหล่านั้น
๓.อาชีวปาริสุทธิสังวร คือการหาเลี้ยงชีพในทางที่ชอบ นั่นก็คือการออกบิณฑบาตร ไม่ได้เรียกร้อง เรี่ยไรหรือเที่ยวขอเงินชาวบ้านมาเพื่อความอุดมสมบูรณ์ของตัวเอง
๔.ปัจจยปัจจเวกขณะ คือการพิจารณาในสิ่งของทั้งหลายถึงคุณประโยชน์โดยเนื้อแท้ของสิ่งของเหล่านั้นอย่างแท้จริง โดยใช้เพื่อบริโภค เพื่อประโยชน์ ความอยู่รอด และความเป็นไปของชีวิตเท่านั้น

วินัยสำหรับฆราวาส หรือบุคคลทั่วไป เรียกว่าอาคาริยวินัย มีดังนี้ (อกุศลกรรมบถ ๑๐ ประการ)
๑.ไม่ฆ่าชีวิตคน หรือสัตว์ไม่ว่าน้อย ใหญ่
๒.ไม่ลักทรัพย์ ยักยอกเงิน สิ่งของมาเป็นของตัว
๓.ไม่ประพฤติผิดในกาม ผิดลูกผิดเมีย ข่มขืนกระทำชำเรา
๔.ไม่พูดโกหก หลอกลวงให้หลงเชื่อ หรือชวนเชื่อ
๕.ไม่พูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย ยุยงให้คนแตกแยกกัน
๖.ไม่พูดจาหยาบคาย ให้เป็นที่แสลงหูคนอื่น
๗.ไม่พูดจาไร้สาระ หรือที่เรียกว่าพูดจาเพ้อเจ้อไม่มีสาระ เหตุผล หรือประโยชน์อันใด
๘.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือมีความคิดอยากเอาของคนอื่นมาเป็นของเรา
๙.ไม่คิดร้าย ผูกใจเจ็บ แค้น ปองร้ายคนอื่น
๑๐.ไม่เห็นผิดเป็นชอบ เช่น เห็นว่าพ่อแม่ไม่มีความสำคัญ บุญหรือกรรมไม่มีจริงเป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------
๑๐.กล่าววาจาอันเป็นสุภาษิต

คำว่าวาจาอันเป็นสุภาษิตในที่นี้มิได้หมายถึงเพียงว่าต้องเป็นคำร้อยกรอง ร้อยแก้ว เป็นคำคมบาดใจมีความหมายลึกซึ้งเท่านั้น แต่รวมถึงคำพูดที่ดี มีประโยชน์ต่อผู้ฟัง ซึ่งสรุปว่าประกอบด้วยลักษณะดังนี้
๑.ต้องเป็นคำจริง คือข้อมูลที่ถูกต้อง มีหลักฐานอ้างอิงได้ ไม่ได้ปั้นแต่งขึ้นมาพูด
๒.ต้องเป็นคำสุภาพ คือพูดด้วยภาษาที่สุภาพ มีความไพเราะในถ้อยคำ ไม่มีคำหยาบโลน หรือคำด่า
๓.พูดแล้วมีประโยชน์ คือมีประโยชน์ต่อผู้ฟังถ้าหากนำแนวทางไปคิด หรือปฏิบัติในทางสร้างสรรค์
๔.พูดด้วยจิตที่มีเมตตา คือพูดด้วยจิตใจที่มีความปรารถนาดีต่อผู้ฟัง มีความจริงใจต่อผู้ฟัง
๕.พูดได้ถูกกาลเทศะ คือพูดในสถานที่เหมาะสม และในเวลาที่เหมาะสม โดยความเหมาะสมจะมีมากน้อยเช่นไรก็ขึ้นอยู่กับเรื่องที่พูด

--------------------------------------------------------------------------------
๑๑.การบำรุงบิดามารดา

ท่านว่าพ่อแม่นั้นเปรียบได้เป็นทั้ง ครูของลูก เทวดาของลูก พรหมของลูก และอรหันต์ของลูก ความหมายโดยละเอียดมีดังต่อไปนี้คือ

ที่ว่าเป็นครูของลูก เพราะว่าท่านได้คอยอบรมสั่งสอนลูก เป็นคนแรกก่อนคนอื่นใดในโลก
ที่ว่าเป็นเทวดาของลูก เพราะว่าท่านจะคอยปกป้อง คุ้มครอง เลี้ยงดู ประคบประหงมมาตั้งแต่อ้อนแต่ออก บำรุงให้เติบใหญ่เป็นอย่างดี ไม่ให้เกิดอันตรายต่อลูกในทุกด้าน
ที่ว่าเป็นพรหมของลูก เพราะว่าท่านมีพรหมวิหาร ๔ นั่นก็คือ มีเมตตา หมายถึงความเอ็นดู ความปรารถนาดีต่อลูกในทุกๆด้าน ไม่มีที่สิ้นสุด มีกรุณา หมายถึงให้ความกรุณาต่อลูก ลูกอยากได้อะไรก็หามาให้ลูก ให้การศึกษาเล่าเรียน ส่งเสียเท่าที่มีความสามารถจะให้ได้ มีมุทิตา หมายถึงความรักที่ยอมสละได้แม้ชีวิตของตัวเองเพื่อลูก ยอมเสียสละได้ทุกอย่าง และมีอุเบกขา หมายถึงการวางเฉย ไม่ถือโกรธเมื่อลูกประมาท ซน ทำผิดพลาดเพราะความไร้เดียงสา หรือเพราะความไม่รู้
ที่ว่าเป็นอรหันต์ของลูก เพราะว่าท่านมีคุณธรรม ๔ ประการอันได้แก่
เป็นผู้มีอุปการะคุณต่อลูก คืออุปการะเลี้ยงดูมาด้วยความเหนื่อยยาก กว่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่
เป็นผู้มีพระเดชพระคุณต่อลูก คือให้ความอบอุ่นเลี้ยงดู ปกป้องจากภยันตรายต่างๆ นานา
เป็นเนื้อนาบุญของลูก คือลูกเป็นส่วนหนึ่งของกรรมดีที่พ่อแม่ได้ทำไว้ และเป็นผู้รับผลบุญที่พ่อแม่ได้สร้างไว้แล้วทางตรง
เป็นอาหุไนยบุคคล คือเป็นเหมือนพระที่ควรแก่การเคารพนับถือและรับของบูชา เพื่อเทอดทูนไว้เป็นแบบอย่าง
การทดแทนพระคุณบิดามารดาท่านสามารถทำได้ดังนี้

ระหว่างเมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็เลี้ยงดูท่านเป็นการตอบแทน ช่วยเหลือเป็นธุระเรื่องการงานให้ท่าน ดำรงวงศ์ตระกูลให้สืบไปไม่ทำเรื่องเสื่อมเสีย รวมทั้งประพฤติตนให้ควรแก่การเป็นสืบทอดมรดกจากท่าน ครั้นเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็ทำบุญอุทิศกุศลให้ท่าน ส่วนการเป็นลูกกตัญญูต่อพ่อแม่ในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านกล่าวว่าไว้ดังนี้

๑.ถ้าท่านยังไม่มีศรัทธา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือพยายามให้ท่านมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา เชื่อในเรื่องการทำดี
๒.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ให้ท่านถึงพร้อมด้วยศีล คือพยายามให้ท่านเป็นผู้รักษาศีล ๕ ให้ได้
๓.ถ้าท่านเป็นคนตระหนี่ ให้ท่านถึงพร้อมด้วยการให้ทาน คือพยายามให้ท่านรู้จักการให้ด้วยเมตตาโดยไม่หวังผลตอบแทน
๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ให้ท่านถึงพร้อมด้วยปัญญา คือพยายามให้ท่านหัดนั่งทำสมาธิภาวนาให้ได้

--------------------------------------------------------------------------------
๑๒.การสงเคราะห์บุตร

คำว่าบุตรนั้น มีอยู่ ๓ ประเภทได้แก่
๑.อภิชาติบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเหนือกว่าบิดา มารดา
๒.อนุชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถเสมอบิดา มารดา
๓.อวชาตบุตร คือบุตรที่มีความดี คุณธรรม และความสามารถต่ำกว่าบิดา มารดา

การที่เราเป็นพ่อ เป็นแม่ของบุตรนั้น มีหน้าที่ที่ต้องให้กับลูกของเราคือ
๑.ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว
๒.ปลูกฝัง สนับสนุนให้ทำความดี
๓.ให้การศึกษาหาความรู้
๔.ให้ได้คู่ครองที่ดี (ใช้ประสพการณ์ของเราให้คำปรึกษาแก่ลูก ช่วยดูให้)
๕.มอบทรัพย์ให้ในโอกาสอันควร (การทำพินัยกรรม ก็ถือว่าเป็นสิ่งถูกต้อง)

--------------------------------------------------------------------------------
๑๓.การสงเคราะห์ภรรยา

เมื่อว่าด้วยเรื่องคนที่จะมาเป็นคู่ครองของชาย หรือที่เรียกว่าจะมาเป็นภรรยานั้น ในโลกนี้ท่านแบ่งลักษณะของภรรยาออกเป็น ๗ ประเภทได้แก่
๑.วธกาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพชรฆาต เป็นพวกที่มีจิตใจคิดไม่ดี ชอบทำร้าย ชอบด่าทอสาปแช่ง คิดฆ่าสามี หรือมีชู้กับชายอื่น
๒.โจรีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยโจร เป็นคนล้างผลาญ สร้างหนี้สิน หาได้เท่าไรก็ไม่พอ หรือเอาเรื่องในบ้านไปโพทนาให้คนข้างนอกรับรู้ทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง
๓.อัยยาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยนาย เป็นคนชอบข่มสามีให้อยู่ในอำนาจ ไม่ให้เกียรติสามีเมื่ออยู่ต่อหน้าผู้อื่น ชอบสั่งการหรือเอาแต่ใจตัวเอง เห็นสามีเป็นคนไร้ความสามารถ แต่ตัวเองเป็นผู้นำ
๔.มาตาภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยแม่ คือผู้ที่มีความรักต่อสามีอย่างสุดซึ้ง ไม่เคยทอดทิ้งแม้ยามทุกข์ยาก ป่วยไข้ ไม่ทำให้มีเรื่องสะเทือนใจ
๕.ภคินีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยน้องสาว คือผู้ที่มีความเคารพต่อสามีในฐานะพ่อบ้าน แต่ขัดใจกันบ้างตามประสาคนใกล้ชิดกันแล้วก็ให้อภัยกัน โดยไม่คิดพยาบาท เดินตามแนวทางของสามี ต้องพึ่งพาสามี
๖.สขีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยเพื่อน ต่างคนต่างก็มีอะไรที่เหมือนกัน ความสามารถพอกัน ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัน ไม่ค่อยยอมกัน เป็นตัวของตัวเอง แต่ก็รักกันและช่วยเหลือกันโดยต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเอง
๗.ทาสีภริยา หมายถึงภรรยาเสมอด้วยคนรับใช้ คือภรรยาที่อยู่ภายใต้คำสั่งสามีโดยไม่มีข้อโต้แย้ง สามีเป็นผู้เลี้ยงดู สั่งอะไรก็ทำอย่างนั้นแม้จะไม่เห็นด้วยก็ไม่ออกความเห็น อดทนทำงานตามหน้าที่ตามแต่สามีจะสั่งการ แม้ถูกดุด่า เฆี่ยนตีก็ยังทนอยู่ได้โดยไม่โต้ตอบ

ท่านว่าคนที่จะมาเป็นสามี ภรรยาได้ดีหรือคู่สร้างคู่สมนั้นควรต้องมีคุณสมบัติดังนี้
๑.สมสัทธา คือมีศรัทธาเสมอกัน
๒.สมสีลา คือมีศีลเสมอกัน
๓.สมจาคะ คือมีการเสียสละเหมือนกัน
๔.สมปัญญา คือมีปัญญาเสมอกัน

เมื่อได้แต่งงานกันแล้ว แต่ละฝ่ายก็มีหน้าที่ที่ต้องทำดังนี้
สามีมีหน้าที่ต่อภรรยาคือ
๑.ยกย่องนับถือว่าเป็นภรรยา คือการแนะนำเปิดเผยว่าเป็นภรรยา ไม่ปิดบังกับผู้อื่น และให้เกียรติภรรยาในการตัดสินใจเรื่องต่างๆด้วย
๒.ไม่ดูหมิ่น คือไม่ดูถูกภรรยาเมื่อทำไม่เป็น ทำไม่ถูก หรือเรื่องชาติตระกูล การศึกษาว่าต่ำต้อยกว่าตน แต่ต้องสอนให้
๓.ไมประพฤตินอกใจภรรยา คือการไปมีเมียน้อยนอกบ้าน เลี้ยงต้อย หรือเที่ยวเตร่หาความสำราญกับหญิงบริการ
๔.มอบความเป็นใหญ่ให้ในบ้าน คือการมอบธุระทางบ้านให้กับภรรยาจัดการ รับฟังและทำตามความเห็นของภรรยาเกี่ยวกับบ้าน
๕.ให้เครื่องแต่งตัว คือให้ความสุขกับภรรยาเรื่องการแต่งตัวให้พอดี เพราะสตรีเป็นผู้รักสวยรักงามโดยธรรมชาติ

ฝ่ายภรรยาก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนสามีคือ
๑.จัดการงานดี คืองานบ้านการเรือนต้องไม่บกพร่อง ดูแลด้านความสะอาด ทำนุบำรุงรักษา ด้านโภชนาการให้เรียบร้อยดี
๒.สงเคราะห์ญาติสามีดี คือให้ความเอื้อเฟื้อญาติฝ่ายสามี เท่าที่ตนมีกำลังพอทำได้ ไม่ได้หมายถึงเรื่องทรัพย์สินเงินทองอย่างเดียว
๓.ไม่ประพฤตินอกใจสามี คือไม่คบชู้ หรือปันใจให้ชายอื่น ซื่อสัตย์ต่อสามีคนเดียว
๔.รักษาทรัพย์ให้อย่างดี คือรู้จักรักษาทรัพย์สินไว้ไม่ให้หมดไปด้วยความสิ้นเปลือง แต่ก็ไม่ถึงกับตระหนี่
๕.ขยันทำงาน คือไม่เกียจคร้านเอาแต่ออกงาน นอน กิน หรือเที่ยวแต่อย่างเดียว ต้องทำงานบ้านด้วย

--------------------------------------------------------------------------------
๑๔.การทำงานไม่ให้คั่งค้าง

ว่าด้วยสาเหตุที่ทำให้งานคั่งค้างนั้นสรุปสาเหตุได้เพราะว่า
๑.ทำงานไม่ถูกกาล
๒.ทำงานไม่ถูกวิธี
๓.ไม่ยอมทำงาน
หลักการทำงานให้เสร็จลุล่วงมีดังนี้
๑.ฉันทะ คือมีความพอใจในงานที่ทำ
๒.วิริยะ คือมีความตั้งใจ พากเพียรในงานที่ทำ
๓.จิตตะ คือมีความเอาใจใส่ในงานที่ทำ
๔.วิมังสา คือมีการคิดพิจารณาทบทวนงานนั้นๆ

--------------------------------------------------------------------------------
๑๕.การให้ทาน

การให้ทาน คือการให้ที่ไม่หวังผลตอบแทนโดยหมายให้ผู้ได้รับได้พ้นจากทุกข์ แบ่งออกเป็น ๓ อย่างได้แก่
๑.อามิสทาน คือการให้วัตถุ สิ่งของ หรือเงินเป็นทาน
๒.ธรรมทาน คือการสอนให้ธรรมะเป็นความรู้เป็นทาน
๓.อภัยทาน คือการให้อภัยในสิ่งที่คนอื่นทำไม่ดีกับเรา ไม่จองเวร หรือพยาบาทกัน

การให้ทานที่ถือว่าเป็นความดี และได้บุญมากนั้นจะประกอบด้วยปัจจัย ๓ ประการอันได้แก่
๑.วัตถุบริสุทธิ์ คือเป็นของที่ได้มาโดยสุจริต ไม่ได้ไปยักยอกมา โกงมา หรือได้มาด้วยวิธีแยบยล
๒.เจตนาบริสุทธิ์ คือมีจิตยินดี ผ่องใสเบิกบาน ไม่รู้สึกเสียดายสิ่งที่ให้ ตั้งแต่ก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้
๓.บุคคลบริสุทธิ์ คือให้กับผู้รับที่มีศีลธรรม ตัวผู้ให้เองก็ต้องมีศีลที่บริสุทธิ์

การให้ทานที่ถือว่าไม่ดี และยังอาจเป็นบาปกรรมถึงเราทางอ้อมอีกด้วยได้แก่
๑.ให้สุรา ยาเสพย์ติด เป็นต้น (ถ้าเขาเมาแล้วขับรถชนตาย เราก็มีส่วนบาปด้วย)
๒.ให้อาวุธ (ถ้าอาวุธนั้นถูกเอาไปใช้ประหัตประหาร บาปก็มาถึงเราด้วย)
๓.ให้มหรสพ คือการบันเทิงทุกรูปแบบ
๔.ให้สัตว์เพศตรงข้ามเพื่อผสมพันธุ์ อันนี้รวมถึงการจัดหาสาวๆ ไปบำเรอผู้มีอำนาจหรือผู้น้อยด้วยเป็นต้น
๕.ให้ภาพลามก หรือสิ่งพิมพ์ลามก เพราะทำให้เกิดความกำหนัด เกิดกามกำเริบ (เมื่อดูแล้วเกิดไปฉุดคร่า ข่มขืนใคร บาปก็ตกทอดมาถึงเราด้วย)

--------------------------------------------------------------------------------
๑๖.การประพฤติธรรม

การประพฤติธรรม ก็คือการปฏิบัติให้เป็นไป แบ่งออกได้เป็น ๒ อันได้แก่
กายสุจริต คือ
๑.การไม่ฆ่าสัตว์ หมายรวมหมดตั้งแต่สัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ และมนุษย์
๒.การไม่ลักทรัพย์ หมายรวมถึงการคอรัปชั่น ไปหลอกลวง ปล้นจี้ชาวบ้านด้วย
๓.การไม่ประพฤติผิดในกาม หมายรวมถึงการคบชู้ นอกใจภรรยา และการข่มขืนด้วย
วจีสุจริต คือ
๑.การไม่พูดเท็จ คือการพูดแต่ความจริง ไม่หลอกลวง
๒.การไม่พูดคำหยาบ คือคำที่ฟังแล้วไม่รื่นหู เกิดความรู้สึกไม่สบายใจรวมหมด
๓.การไม่พูดจาส่อเสียด การนินทาว่าร้าย
๔.การไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล คือการพูดที่ไม่เป็นสาระ หาประโยชน์อันใดมิได้
มโนสุจริต คือ
๑.การไม่โลภอยากได้ของผู้อื่น คือการนึกอยากได้ของเขามาเป็นของเรา
๒.การไม่คิดพยาบาทปองร้ายผู้อื่น คือการนึกอยากให้คนอื่นประสพเคราะห์กรรม คิดจะทำร้ายผู้อื่น
๓.การเห็นชอบ คือมีความเชื่อความเข้าใจในความเป็นจริง ความถูกต้องตามหลักคำสอนตามแนวทางพระพุทธศาสนา

--------------------------------------------------------------------------------
๑๗.การสงเคราะห์ญาติิ

ลักษณะของญาติที่ควรให้การสงเคราะห์ เมื่ออยู่ในฐานะดังนี้คือ
๑.เมื่อยากจนหาที่พึ่งมิได้
๒.เมื่อขาดทุนทรัพย์ในการค้าขาย
๓.เมื่อขาดยานพาหนะ
๔.เมื่อขาดอุปกรณ์ทำมาหากิน
๕.เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย
๖.เมื่อคราวมีธุระการงาน
๗.เมื่อคราวถูกใส่ความหรือมีคดี

การสงเคราะห์ญาติ ทำได้ทั้งทางธรรมและทางโลกได้แก่
ในทางธรรม ก็ช่วยแนะนำให้ทำบุญกุศล ให้รักษาศีล และทำสมาธิภาวนา
ในทางโลก ก็ได้แก่
๑.ให้ทาน คือการสงเคราะห์เป็นทรัพย์สิน หรือเงินทองเพื่อให้เขาพ้นจากทุกข์หรือความลำบากตามแต่กำลัง
๒.ใช้ปิยวาจา คือการพูดเจรจาด้วยถ้อยคำที่อ่อนโยน สุภาพ และประกอบไปด้วยความปรารถนาดี
๓.มีอัตถจริยา คือการประพฤติตนให้เป็นประโยชน์กับเขา อาจช่วยเหลือด้วยแรงกาย กำลังใจ หรือด้วยความสามารถที่มี
๔.รู้จักสมานัตตตา คือการวางตัวให้เหมาะสม อย่างเสมอต้นเสมอปลาย ร่วมทุกข์ร่วมสุข ไม่ถือตัว

--------------------------------------------------------------------------------
๑๘.ทำงานที่ไม่มีโทษ

งานที่ไม่มีโทษ ประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
๑.ไม่ผิดกฏหมาย คือทำให้ถูกต้องตามกฏหมายของบ้านเมือง
๒.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดำเนินตาม
๓.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล ๕
๔.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง

ส่วนอาชีพต้องห้ามสำหรับพุทธศาสนิกชนได้แก่
๑.การค้าอาวุธ
๒.การค้ามนุษย์
๓.การค้ายาพิษ
๔.การค้ายาเสพย์ติด
๕.การค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า

--------------------------------------------------------------------------------
๑๙.ละเว้นจากบาป

บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทำ ท่านว่าสิ่งที่ทำแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ
๑.ฆ่าสัตว์
๒.ลักทรัพย์
๓.ประพฤติผิดในกาม
๔.พูดเท็จ
๕.พูดส่อเสียด
๖.พูดคำหยาบ
๗.พูดเพ้อเจ้อ
๘.โลภอยากได้ของเขา
๙.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น
๑๐.เห็นผิดเป็นชอบ

--------------------------------------------------------------------------------
๒๐.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา

ว่าด้วยเรื่องของน้ำเมานั้น อาจทำมาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่มแล้วทำให้มึนเมา เช่นเบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนมีโทษอันได้แก่
๑.ทำให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำเงินไปซื้อหาทั้งๆที่เงินจำนวนเดียวกันนี้สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
๒.ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
๓.ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
๔.ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย
๕.ทำให้ลืมตัวไม่รู้จักอาย คนเมาทำสิ่งที่ไม่ควรทำ ทำสิ่งที่คนมีสติจะไม่ทำ เช่นแก้ผ้าเดิน หรือนอนในที่สาธารณะเป็นต้น
๖.ทอนกำลังปัญญา ทานแล้วทำให้เซลล์สมองเริ่มเสื่อมลง ก็จะทำให้สุขภาพและปัญญาเสื่อมถอย ความสามารถโดยรวมก็ด้อยลง

--------------------------------------------------------------------------------
๒๑.ไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย

ธรรมในที่นี้ก็คือหลักปฏิบัติที่ทำแล้วมีผลในทางดีและเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้

คนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้คือ
๑.ไม่ทำเหตุดี แต่จะเอาผลดี
๒.ทำตัวเลว แต่จะเอาผลดี
๓.ทำย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก

สิ่งที่ไม่ควรประมาทได้แก่
๑.การประมาทในเวลา คือการปล่อยให้เวลาล่วงเลยไปโดยไม่ทำอะไรให้เกิดประโยชน์ หรือผลัดวันประกันพรุ่งเป็นต้น
๒.การประมาทในวัย คือคิดว่าอายุยังน้อย ไม่ต้องทำความเพียรก็ได้เพราะยังต้องมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
๓.การประมาทในความไม่มีโรค คือคิดว่าตัวเองแข็งแรงไม่ตายง่ายๆ ก็ปล่อยปละละเลยเป็นต้น
๔.การประมาทในชีวิต คือการไม่กำหนดวางแผนถึงอนาคต คิดอยู่แต่ว่ายังมีชีวิตอยู่อีกนานเป็นต้น
๕.การประมาทในการงาน คือไม่ขยันตั้งใจทำให้สำเร็จ ปล่อยตามเรื่องตามราว หรือปล่อยให้ดินพอกหางหมูเป็นต้น
๖.การประมาทในการศึกษา คือการไม่คิดศึกษาเล่าเรียนในวัยที่ควรเรียน หรือขาดความเอาใจใส่ที่เพียงพอ
๗.การประมาทในการปฏิบัติธรรม คือการไม่ปฏิบัติสมาธิภาวนาหรือศึกษาหลักธรรมให้ถ่องแท้ เพราะคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวเป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------
๒๒.มีความเคารพ

ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมีอยู่ดังนี้
๑.พระพุทธเจ้า
๒.พระธรรม
๓.พระสงฆ์
๔.การศึกษา
๕.ความไม่ประมาท คือการดำเนินตามหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาอื่นๆ ด้วยความเคารพ
๖.การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความเคารพ

--------------------------------------------------------------------------------
๒๓.มีความถ่อมตน

ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออกถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม

ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ
๑.ทำให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต
๒.ทำให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้
๓.ทำให้เสียหมู่คณะ คือถ้าต่างคนต่างถือดี ก็ทำให้ไม่สามารถตกลงกันได้ ในที่สุดก็ไม่ถึงจุดหมาย หรือทำให้เป็นที่เบื่อหน่ายของคนอื่น

การทำตัวให้เป็นคนอ่อนน้อมถ่อมตนนั้นมีหลักดังนี้คือ
๑.ต้องคบกัลยาณมิตร คือเพื่อนที่ดีมีศีลมีธรรม คอยตักเตือนหรือชักนำไปในทางที่ดีที่ถูกที่ควร
๒.ต้องรู้จักคิดไตร่ตรอง คือการรู้จักคิดหาเหตุผลอยู่ตลอดถึงความเป็นไปในธรรมชาติของมนุษย์ ต่างคนย่อมต่างจิดต่างใจ และรวมทั้งหลักธรรมอื่นๆ
๓.ต้องมีความสามัคคี คือการมีความสามัคคีในหมู่คณะ อลุ่มอล่วยในหลักการ ตักเตือน รับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล

ท่านว่าลักษณะของคนถ่อมตนนั้นมีดังนี้
๑.มีกิริยาที่นอบน้อม
๒.มีวาจาที่อ่อนหวาน
๓.มีจิตใจที่อ่อนโยน
สรุปแล้วก็คือ สมบูรณ์พร้อมด้วยกาย วาจา และใจนั่นเอง

--------------------------------------------------------------------------------
๒๔.มีความสันโดษ

คำว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่ลำพังคนเดียวอย่างเดียวก็หาไม่ แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ในของของตัว ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ
๑.ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่
๒.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง เรามีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น ตั้งแต่กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังบารมี หรือกำลังความสามารถเป็นต้น
๓.ยถาสารูปสันโดษ หมายถึงความยินดีตามควร ซึ่งโยงใยไปถึงความพอเหมาะพอควรในหลายๆเรื่อง เช่นรูปลักษณ์ของตนเอง และรวมทั้งฐานะที่เราเป็นอยู่

--------------------------------------------------------------------------------
๒๕.มีความกตัญญู

คือการรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้
๑.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึงและตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์เป็นต้น
๒.กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทำงานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดีเช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้านเป็นต้น
๓.กตัญญูต่อสิ่งของ ได้แก่สิ่งของทุกอย่างที่มีคุณต่อเราเช่น หนังสือที่ให้ความรู้แก่เรา อุปกรณ์ทำมาหากินต่างๆ เราไม่ควรทิ้งคว้าง หรือทำลายโดยไม่เห็นคุณค่า

--------------------------------------------------------------------------------
๒๖.การฟังธรรมตามกาล

เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่างๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้างเพื่อสดับตรับฟังสิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเราเพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ
๑.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สำคัญทางศาสนา
๒.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรม ก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ หรือการอ่านจากสื่อต่างๆ
๓.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ฟังธรรมที่ดีควรต้องมีดังนี้คือ
๑.ไม่ดูแคลนในหัวข้อธรรมว่าง่ายเกินไป
๒.ไม่ดูแคลนในความรู้ความสามารถของผู้แสดงธรรม
๓.ไม่ดูแคลนในตัวเองว่าโง่ ไม่สามารถเข้าใจได้
๔.มีความตั้งใจในการฟังธรรม และนำไปพิจารณา
๕.นำเอาธรรมนั้นๆไปปฏิบัติให้เกิดผล

--------------------------------------------------------------------------------
๒๗.มีความอดทน

ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ
๑.ความอดทนต่อความลำบาก คือความลำบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อมเป็นต้น
๒.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกายเป็นต้น
๓.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บช้ำใจ ไม่เป็นอย่างที่หวังเป็นต้น
๔.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิเช่น ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออำนาจเงินเป็นต้น

วิธีทำให้มีความอดทนคือ มีหิริโอตัปปะ
๑.หิริ ได้แก่การมีความละอายต่อบาป การที่รู้ว่าเป็นบาปแล้วยังทำอีกก็ถือว่าไม่มีความละอายเลย
๒.โอตัปปะ ได้แก่การมีความเกรงกลัวในผลของบาปนั้นๆ

--------------------------------------------------------------------------------
๒๘.เป็นผู้ว่าง่าย

ท่านว่าผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ
๑.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
๒.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนำคำตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ
๓.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทำให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม
๔.เคารพต่อคำสอนและผู้สอน คือการรู้จักสัมมาคารวะต่อผู้ทำให้คำสอน และเคารพในสิ่งที่ผู้สอนได้นำมาแนะนำ
๕.มีความอ่อนน้อมถ่อมตน คือไม่แสดงความยะโส ถือตัวว่าอยู่เหนือผู้อื่นเพราะสิ่งที่ตัวเองเป็นตัวเองมี
๖.มีความยินดีต่อคำสอนนั้น คือยอมรับในคำสอนนั้นๆ ด้วยความยินดีเช่นการไม่แสดงความเบื่อหน่ายเพราะเคยฟังมาแล้ว เป็นต้น
๗.ไม่ดื้อรั้น คือการไม่อวดดี คิดว่าของตัวเองนั้นผิดแต่ก็ยังดันทุรังทำต่อไปเพราะกลัวเสียชื่อ เสียฟอร์ม
๘.ไม่ข้ดแย้ง เพราะว่าการว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งสอนนั้นก็คือ สิ่งที่ตรงข้ามกับที่เราทำอยู่แล้ว เราควรต้องเปิดใจให้กว้างไม่ขัดแย้งต่อคำสอน คำวิจารณ์นั้นๆ
๙.ยินดีให้ตักเตือนได้ทุกเวลา คือการยินดีให้มีการแสดงความคิดเห็นตักเตือนได้โดยไม่มีข้อยกเว้นเรื่องเวลา
๑๐.มีความอดทนต่อการเป็นผู้ถูกสั่งสอน คือการไม่เอาความขัดแย้งในความเห็นเป็นอารมณ์ แต่ให้เข้าใจเจตนาที่แท้จริงของผู้สอนนั้น

การทำให้เป็นคนว่าง่ายนั้นทำได้ดังนี้
๑.ลดมานะของตัว คือการไม่ถือดี ไม่ถือตัว ความไม่สำคัญตัวเองว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ อาทิเช่นถือตัวว่าการศึกษาดีกว่าเป็นต้น
๒.ละอุปาทาน คือการไม่ยึดถือในสิ่งที่เรามี เราเป็น หรือถือมั่นในอำนาจกิเลสต่างๆ
๓.มีสัมมาทิฏฐิ คือมีปัญญาที่เห็นชอบ การเห็นถูกเห็นควรตามหลักอริยสัจ ๔ เชื่อเรื่องความไม่เที่ยง เชื่อในเรื่องบุญเรื่องบาปเป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------
๒๙.การได้เห็นสมณะ

คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ) ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย ๓ อย่างคือ
๑.ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม
๒.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี
๓.ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา

การได้เห็นสมณะมีอยู่ดังนี้คือ
๑.เห็นด้วยตา ความหมายก็ตรงตัวคือการเห็นจากการสัมผัสด้วยสายตาของตนเอง แล้วมีความประทับใจในความสำรวมในกาย
๒.เห็นด้วยใจ เนื่องจากความสำรวมกาย วาจา ใจของสมณะจะช่วยโนัมน้าวจิตใจของเราให้โอนอ่อนผ่อนตาม และรับฟังหลักคำสอนด้วยใจที่ยินดี ซึ่งนั่นก็หมายถึงการเปิดใจเราให้สมณะได้ชี้นำนั่นเอง
๓.เห็นด้วยปัญญา หมายความถึงการรู้โดยการใช้ปัญญาใคร่ครวญ พิจารณาในการสัมผัสและเข้าถึงและรับรู้ถึงคำสอนของสมณะผู้นั้น และรู้ว่าท่านเป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมอย่างแท้จริง

เมื่อเห็นแล้วก็ต้องทำอย่างนี้คือ
๑.ต้องเข้าไปหา คือเข้าไปขอคำแนะนำ ชี้แนะจากท่าน หรือให้ความเคารพท่าน
๒.ต้องเข้าไปบำรุงช่วยเหลือ คือการช่วยเหลือท่านในโอกาสอันควร เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน
๓.ต้องเข้าไปฟัง คือการรับฟังคุณธรรม หลักคำสอนของท่านมาไว้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาชีวิต
๔.หมั่นระลึกถึงท่าน คือการระลึกถึงความดีที่ท่านมีแล้วนำมาเป็นตัวอย่างกับตัวเราเอง
๕.รับฟังรับปฏิบัติ คือการรับคำแนะนำของท่านมาปฏิบัติทำตามเพื่อให้เกิดผล ครั้นเมื่อติดขัดก็ใคร่แก้ไขเพื่อให้รู้จริงเห็นจริงตามนั้น

--------------------------------------------------------------------------------
๓๐.การสนทนาธรรมตามกาล

การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย

ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ
๑.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
๒.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
๓.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
๔.ต้องพูดด้วยความเมตตา
๕.ต้องพูดจาโอ้อวด ยกตนข่มท่าน

ข้อปฏิบัติเมื่อมีการสนทนาธรรม
๑.มีศีลธรรม คือการเป็นผู้ที่รักษาศีล ๕ หรือศีล ๘ เป็นนิจศีลอยู่แล้ว การเป็นผู้ปฏิบัติถือเป็นหน้าที่ขั้นต้นในการเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี
๒.มีสมาธิดี คือการมีจิตใจจดจ่ออยู่กับเรื่องที่สนทนา ไม่ว่อกแวก พร้อมทั้งเป็นผู้ที่หมั่นเจริญสมาธิภาวนาด้วย
๓.แต่งการสุภาพ คือการแต่งตัวให้เหมาะสมกับยุคสมัย อยู่ในกรอบประเพณีของสังคมแวดล้อม ณ ที่นั้นๆ ถูกกาลเทศะ
๔.มีกิริยาสุภาพ คือมีความสุภาพในท่วงท่าไม่ว่าจะเดิน นั่ง ยืน หรือการกระทำใดๆ การที่มีกิริยางดงาม สุภาพย่อมโน้มน้าวจิดใจผู้พบเห็นให้เกิดความประทับใจที่ดี
๕.ใช้วาจาสุภาพ คือการใช้ถ้อยคำที่สุภาพในการสนทนา ไม่ใช้คำหยาบคาย หรือก้าวร้าว
๖.ไม่กล่าวค้านพระพุทธพจน์ คือการไม่นำเอาคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาเป็นข้อสงสัย หรือกล่าวค้าน เพราะสิ่งที่กล่าวไว้ในพระพุทธพจน์ย่อมเป็นความจริงตลอดกาล
๗.ไม่ออกนอกประเด็นที่ตั้งไว้ คือการพูดให้อยู่ในหัวข้อที่ตั้งไว้ ไม่พูดแบบน้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง
๘.ไม่พูดนานจนน่าเบื่อ คือการเลือกเวลาที่เหมาะสมตามสถานการณ์ เนื่องจากเรื่องบางเรื่องอาจไม่จำเป็นต้องขยายความมากเกินไป

--------------------------------------------------------------------------------
๓๑.การบำเพ็ญตบะ

ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทำให้ร้อน ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบำเพ็ญตบะหมายความถึงการทำให้กิเลส ความรุ่มร้อนต่างๆ หมดไป หรือเบาบางลง ลักษณะการบำเพ็ญตบะมีดังนี้

๑.การมีใจสำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖ อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หลงติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป ไม่ให้กิเลสครอบงำใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่านอินทรีย์ทั้ง ๖ (อินทรีย์สังวร)
๒.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์ เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง
๓.การปฏิบัติธรรม คือการรู้และเข้าใจในหลักธรรมเช่นอริยสัจ เป็นต้น ปฏิบัติตนให้อยู่ในศีล และถึงพร้อมด้วยสมาธิ และปัญญา โดยมีจุดหมายสูงสุดที่พระนิพพาน กำจัดกิเลส ละวางทุกสิ่งได้หมดสิ้นด้วยปัญญา

--------------------------------------------------------------------------------
๓๒.การประพฤติพรหมจรรย์

คำว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น (ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ
๑.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา
๒.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
๓.รักษาศีล ๕ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)
๔.มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขากับคนที่เราต้องพบปะด้วยทุกคน (อัปปมัญญา)
๕.งดเว้นจากการเสพกาม (เมถุนวิรัติ)
๖.ยินดีในคู่ของตน คือการมีสามีหรือภรรยาคนเดียว (สทารสันโดษ)
๗.เพียรพยายามที่จะละความชั่ว ไม่ท้อถอยในความบากบั่น (วิริยะ)
๘.รักษาซึ่งศีล ๘ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ร่วมประเวณี ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา ไม่บริโภคอาหารตั้งแต่เที่ยงวันเป็นต้นไป ไม่ฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่น ใช้ของหอมหรือเครื่องประดับ ไม่นอนบนที่สูงใหญ่ หรูหรา (อุโบสถ)
๙.ใช้ปัญญาเห็นแจ้งใน ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค (อริยธรรม)
๑๐.ศึกษาปฏิบัติในศีล สมาธิ ปัญญา ให้รู้แจ้งเห็นจริง (สิกขา)
*ขออธิบายเพิ่มเติมว่าข้อ ๕ ที่บอกว่าให้งดเว้นการเสพกาม แต่ข้อ ๖ ให้ยินดีในคู่ของตนนั้น เพราะว่าการประพฤติพรหมจรรย์ในที่นี้หมายถึง บุคคลทั่วไปที่อาจมีครอบครัวแล้ว ก็ประพฤติพรหมจรรย์ได้โดยการงดเว้นการร่วมประเวณี เช่นในวันสำคัญๆเป็นต้น

--------------------------------------------------------------------------------
๓๓.การเห็นอริยสัจ

อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ ๔ ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้
๑.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์ ๓ ประการคือ การเกิด ความแก่ ความตาย นอกจากนี้ก็มีความทุกข์ที่เป็นอาการ หรือเกิดจากสภาพแวดล้อมสรุปได้ดังนี้คือ
-ความโศกเศร้า (โสกะ)
-ความรำพันด้วยความเสียใจ (ปริเทวะ)
-ความเจ็บไข้ได้ป่วย (ทุกขะ)
-ความเสียใจ (โทมนัสสะ)
-ความท้อแท้ สิ้นหวัง คับแค้นใจ (อุปายาสะ)
-การตรอมใจ ผิดหวังจากสิ่งที่ไม่รัก (อัปปิเยหิ สัมปโยคะ)
-การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก (ปิเยหิ วิปปโยคะ)
-ความหม่นหมองเมื่อปรารถนาแล้วไม่ได้สิ่งนั้น (ยัมปิจฉัง นลภติ)
๒.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ต้นตอของทุกข์ก็อยู่ที่ใจของเราด้วยนั่นก็คือความอยาก ท่านว่าเป็นตัณหา ๓ อย่าง ซึ่งแบ่งออกได้เป็นดังนี้คือ
-ความอยากได้ หมายรวมถึงอยากทุกอย่างที่นำมาสนองสัมผัสทั้ง ๕ และกามารมณ์ (กามตัณหา)
-ความอยากเป็น คือความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ (ภวตัณหา)
-ความไม่อยากเป็น คือความไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ (วิภวตัณหา)
๓.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
๔.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์ คือ มรรคมี ๘ ประการ คือ
-ความเห็นชอบ เช่นความศรัทธาในเบื้องต้นต่อหลักธรรม คำสอน เช่นการเชื่อว่ากรรมดีกรรมชั่วมีจริงเป็นต้น (สัมมาทิฏฐิ)
-ความดำริชอบ หรือความคิดชอบ มีความคิดที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการใช้ปัญญาพิจารณาความไม่เที่ยงของสังขาร หรือการไม่คิดอยากได้ของเขามาเป็นของเราเป็นต้น (สัมมาสังกัปปะ)
-เจรจาชอบ คือการปฏิบัติตามหลักธรรม ไม่พูดโกหก ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเป็นต้น (สัมมาวาจา)
-ทำการชอบ หรือการมีการกระทำที่ไม่ผิดหลักศีลธรรม เช่นไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์เป็นต้น (สัมมากัมมันตะ)
-เลี้ยงชีพชอบ คือการทำมาหากินในทางที่ถูก ไม่เบียดเบียนหรือทำความเดือดร้อนให้กับสัตว์หรือผู้อื่น อยู่ในหลักธรรมที่กำหนด เช่น ไม่มีอาชีพค้ามนุษย์ หรืออาชีพค้าอาวุธเป็นต้น (สัมมาอาชีวะ)
-ความเพียรชอบ คือการหมั่นทำนุบำรุงในสิ่งที่ถูกต้อง อาทิเช่นการพยายามละกิเลสออกจากใจ หรือการพยายามสำรวม กาย วาจา ใจให้ดำเนินตามหลักธรรมของท่านเป็นต้น (สัมมาวายามะ)
-ความระลึกชอบ คือมีสติตั้งมั่นในสิ่งที่ถูกต้องตามหลักธรรม เช่นการพึงระลึกถึงความตายที่ต้องเกิดกับทุกคนเป็นต้น (สัมมาสติ)
-จิตตั้งมั่นชอบ คือมีจิตที่มีสมาธิ ไม่ว่อกแวกหรือคิดฟุ้งซ่าน และการทำสมาธิภาวนาตามหลักการที่ท่านได้บัญญัติแนะนำเอาไว้ (สัมมาสมาธิ)

--------------------------------------------------------------------------------
๓๔.การทำให้แจ้งในพระนิพพาน

นิพพาน คือ ภาวะของจิตที่ดับกิเลสได้หมดสิ้น หลุดจากอำนาจกรรม และไม่ต้องวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏอีก ซึ่งก็คือพ้นจากทุกข์นั่นเอง
ท่านว่าลักษณะของนิพพานมีอยู่ ๒ ระดับดังนี้คือ
๑.การดับกิเลสขณะที่ยังมีเบญจขันธ์เหลืออยู่ หรือการเข้าถึงนิพพานขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ -สอุปาทิเสสนิพพาน
๒.การดับกิเลสที่ไม่มีเบญจขันธ์เหลืออยู่เลย คือการที่ร่างกายเราแตกดับแล้วไปเสวยสุขอันเป็นอมตะในพระนิพพาน (ตรงนี้ไม่สามารถอธิบายให้กระจ่างมากไปกว่านี้ได้) -อนุปาทิเสสนิพพาน

การที่จะเข้าถึงพระนิพพานได้ ก็ต้องปฏิบัติธรรมและเจริญสมาธิภาวนาจนถึงขั้นสูงสุด

--------------------------------------------------------------------------------
๓๕.มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม

คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี ๔ ประการคือ
๑.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา มีแล้วก็ย่อมหมดไปได้ เป็นแค่ความสุขชั่วคราวเท่านั้น
๒.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น เป็นสิ่งที่คนยอมรับกันว่าเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ พอหมดยศก็หมดบารมี
๓.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา การถูกนินทาจึงไม่ใช่เรื่องผิดปกติ
๔.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย มีความสุขแล้วก็อย่าหลงระเริงไปจนลืมนึกถึงความทุกข์ที่แฝงมาด้วย

การทำให้จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม มีวิธีดังนี้คือ
๑.ใช้ปัญญาพิจารณา โดยตั้งอยู่ในหลักธรรมของพระพุทธศาสนา พิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงหลักธรรมต่างๆ
๒.เจริญสมาธิภาวนา ใช้กรรมฐานพิจารณาถึงความเป็นไปในความไม่เที่ยงในสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก และสังขาร

--------------------------------------------------------------------------------
๓๖.มีจิตไม่โศกเศร้า

ท่านว่ามีเหตุอยู่ ๒ ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ
๑.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก รวมถึงรักสิ่งของ ทรัพย์สินเงินทองด้วย
๒.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่

การทำให้จิตใจไม่โศกเศร้านั้น มีข้อแนะนำดังนี้
๑.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา
๒.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
๓.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น
๔.คิดว่าทุกสิ่งทุกอย่างล้วนไม่เที่ยงด้วยกันทั้งนั้น

--------------------------------------------------------------------------------
๓๗.มีจิตปราศจากกิเลส

กิเลส ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดความเศร้าหมอง ซึ่งได้แก่ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ท่านได้แบ่งประเภทของกิเลสออกเป็นดังนี้ คือ
๑.ราคะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-ความโลภอย่างแรงจนแสดงออกมา เช่นการลักขโมย ปล้น จี้ ข่มขืนกระทำชำเรา เป็นต้น (อภิชฌาวิสมโลภะ)
-ความเพ่งเล็งจะเอาของคนอื่นมาเป็นของตัว มีใจอยากได้ของคนอื่นแต่ยังไม่ถึงกับแสดงออก (อภิชฌา)
-ความอยากได้ในทางไม่ชอบ เช่นการยอมรับสินบน การทุจริตเพื่อแลกกับการมีทรัพย์เป็นต้น (ปาปิจฉา)
-ความมักมากเห็นแก่ได้ ด้วยการเอามาเป็นของตนจนเกินพอดี เอาประโยชน์ใส่ตัวโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น (มหิจฉา)
-ความยินดีในกาม ก็คือยังไม่สามารถละกิจกรรมทางเพศได้ ยังมีความรู้สึก มีแรงกระตุ้น มีความพอใจในเรื่องเพศ (กามระคะ)
-ความยินดีในรูปธรรมอันปราณีต ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของรูปฌาณ ปรารถนาในรูปของภพเมื่อทำสมาธิขั้นสูงขึ้นไป (รูปราคะ)
-ความยินดีในอรูปฌาณ ก็คือติดอยู่ในอารมณ์ของอรูปฌาณเมื่อทำสมาธิถึงภพของอรูปพรหม (อรูปราคะ)
๒.โทสะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-พยาบาท คือการผูกใจอาฆาต มีใจที่ไม่หวังดี การจองเวร
-โทสะ คือการคิดประทุษร้าย เนื่องด้วยมีใจพยาบาทแล้วก็มีใจคิดหมายทำร้าย
-โกธะ คือความโกรธ ความเดือดร้อนใจ ซึ่งล้วนเป็นเหมือนไฟที่เผาตัวเอง
-ปฏิฆะ คือความขัดใจ ความไม่พอใจอันทำให้อารมณ์หงุดหงิด
๓.โมหะ สามารถแบ่งย่อยออกได้เป็น
-ความเห็นผิดเป็นชอบ เช่นการไม่เชื่อในเรื่องบาป เรื่องบุญเป็นต้น (มิจฉาทิฐิ)
-ความหลงผิด ไม่รู้ตามความเป็นจริง (โมหะ)
-การเห็นว่ามีตัวตน เช่นการเชื่อในสิ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่าเท่านั้น (สังกายทิฏฐิ)
-ความสงสัย คือสงสัยในพระธรรม คำสั่งสอนในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ (วิจิกิจฉา)
-การยึดถืออย่างงมงาย เช่นการไปกราบไหว้สัมพเวสีที่อยู่ตามต้นไม้ ขอลาภเป็นต้น (สีลัพพตปรามาส)
-ความถือตัว คือการสำคัญตัวเองผิดว่าเป็นอย่างโน้นเป็นอย่างนี้ (มานะ)
-ความฟุ้งซ่าน คือการที่จิตใจว่อกแวก คิดไม่เป็นสาระ ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่มีสมาธิ หรือการทำสมาธิไม่นิ่ง (อุทธัจจะ)
-ความไม่รู้จริง คือการที่รู้แค่ผิวเผิน หรือการทึกทักเอาเอง ไม่ปฏิบัติตามหลักพระธรรม ยังไม่เกิดปัญญา (อวิชชา)

โทษของการมีกิเลสดังกล่าวข้างต้นพอสรุปได้สั้นๆ ดังนี้คือ
๑.ราคะ มีโทษน้อย แต่คลายช้า
๒.โทสะ มีโทษมาก แต่คลายเร็ว
๓.โมหะ มีโทษมาก แต่คลายช้า

--------------------------------------------------------------------------------
๓๘.มีจิตเกษม

เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุขในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ ๔ ประการคือ
๑.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ สิ่งมีชีวิตทั้งหลายเรียกว่ากามคุณซึ่งประกอบด้วย รูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส
๒.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ โดยให้เห็นว่าสิ่งใดๆในโลกล้วนไม่เที่ยงแท้ หรือคงอยู่ตลอดไป
๓.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ โดยให้ดำเนินตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่กล่าวมาแล้ว
๔.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย โดยให้มุ่งปฏิบัติเพื่อปัญญาที่รู้แจ้งเห็นจริง

พหูสูตร

พหูสูตร




"แสงสว่างเป็นสิ่งจำเป็นในการเดินทางไกลฉันใด ความเป็นพหูสูตก็เป็นสิ่งจำเป็นในการบุกเบิกสร้างความเจริญให้แก่ชีวิตฉันนั้น"

พหูสูต หมายถึง ผู้ที่มีความรอบรู้ หรือพูดสั้นๆ ว่า "ฉลาดรู้" ความเป็นผู้ฉลาดรู้ คือเป็นผู้ที่รู้จักเลือกเรียน ในสิ่งที่ควรรู้ เป็นผู้ที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมามาก ได้ยินได้ฟังได้อ่านมามาก ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้เป็นต้นทางแห่งปัญญา ทำให้เกิดความรู้สำหรับบริหารงานชีวิต และเป็นกุญแจไขไปสู่ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข และทุกสิ่งที่เราปรารถนา

ความแตกต่างระหว่างบัณฑิตกับพหูสูต

บัณฑิต คือผู้ที่มีคุณธรรมประจำใจ มีความประพฤติดีงาม ไม่ว่าจะมีความรู้มากหรือน้อยก็ตาม บัณฑิตจะใช้ความรู้นั้นๆ สร้างประโยชน์แก่ตนเองและผู้อื่นอย่างเต็มที่ เป็นผู้ที่สามารถเอาตัวรอดได้แน่นอน ไม่ตกไปสู่อบาย-ภูมิเป็นอันขาด

พหูสูต คือผู้มีความรู้มาก แต่คุณธรรมความประพฤติยังไม่แน่ว่า จะดี ยังไม่แน่ว่าจะเอาตัวรอดได้ ถ้าใช้ความรู้ที่มีอยู่ไปทำชั่ว เช่น เอาความรู้ เคมีไปผลิตเฮโรอีน ก็อาจตกนรกได้


ลักษณะความรู้ที่สมบูรณ์ของพหูสูต

1. รู้ลึก หมายถึง รู้เรื่องราวสาวไปหาเหตุในอดีตได้ลึกซึ้งถึงความเป็นมา เช่น แพทย์เมื่อเห็นอาการคนป่วย ก็บอกได้ว่าเป็นโรคอะไร รู้ไปถึงว่าที่เป็นโรคนี้เพราะเหตุใด หรือช่างเมื่อเห็นอาการเครื่องยนต์ที่เสีย ก็สามารถบอกได้ทันทีว่า เครื่องนั้นเสียที่ชิ้นส่วนไหน เป็นเพราะอะไร เป็นต้น

2. รู้รอบ หมายถึง ช่างสังเกต รู้สิ่งต่างๆ รอบตัว สภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ผู้คนในชุมชน ความเป็นไปของเหตุการณ์ต่างๆ รอบตัว สิ่งที่ควรรู้ต้องรู้

3. รู้กว้าง หมายถึง สิ่งรอบตัวแต่ละอย่างที่รู้ก็รู้อย่างละเอียด รู้ถึงความเกี่ยวพันของสิ่งนั้นกับสิ่งอื่นๆ ด้วย คล้ายรู้รอบแต่เก็บรายละเอียดมากขึ้น

4. รู้ไกล หมายถึง มองการณ์ไกล รู้ถึงผลที่จะตามมาในอนาคต เช่น เห็นสภาพดินฟ้าอากาศ ก็รู้ทันทีว่า ปีนี้พืชผลชนิดใดจะขาดแคลน เห็นพฤติการณ์ของผู้ร่วมงานไม่น่าไว้วางใจ ก็รู้ทันทีว่าเขากำลังจะคิดไม่ซื่อ เห็นตนเองเริ่มย่อหย่อนต่อการปฏิบัติธรรม ก็รู้ทันทีว่าถ้าทิ้งไว้เช่นนี้ต่อไปตนก็จะเสื่อมจากกุศลธรรม ฯลฯ

ผู้ที่ประกอบด้วยความรู้ ๔ ประการนี้ ทั้งทางโลกและทางธรรมจึงจะเป็นพหูสูตที่แท้จริง

คุณสมบัติของพหูสูตหรือนักศึกษาที่ดี

1. พหุสสุตา อ่านมาก ฟังมาก คือมีนิสัยชอบฟัง ชอบอ่าน ชอบค้นคว้า ยึดหลัก "เรียนจากครู ดูจากตำรับ สดับปาฐะ"

2. ธตา จำแม่น คือมีความจำดี รู้จักจับสาระสำคัญ จับหลักให้ได้ แล้วจำได้แม่นยำ คนที่ความจำไม่ดี เพราะภพในอดีตชอบพูดปด ดื่มสุรามาก ฯลฯ ดังนั้นถ้าในชาตินี้เลิกดื่มสุรา เลิกพูดปดและพยายามท่องบ่อยๆ หมั่นจดหมั่นเขียนบ่อยๆ ไม่ช้าก็จะเป็นผู้มีความจำดี

3. วจสา ปริจิตา คล่องปาก คือต้องฝึกท่องให้คล่องปากท่องจนขึ้นใจ จำได้คล่องแคล่วจัดเจน ไม่ต้องพลิกตำรา โดยเฉพาะพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งเป็นความจริงแท้แน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง ควรท่องไว้ให้ขึ้นใจทุกข้อกระทงความ ให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ส่วนวิชาการทางโลก ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพราะยังไม่มีใครรู้จริง จึงควรท่องเฉพาะที่สำคัญและหมั่นคิดหาเหตุผลด้วย

4. มนสานุเปกขิตาขึ้นใจ คือใส่ใจนึกคิดตรึกตรอง สาวเหตุสาวผลให้เข้าใจตลอด พิจารณาให้เจนจบ นึกถึงครั้งใดก็เข้าใจปรุโปร่งหมด

5. ทิฏฐิยา สุปฏิวิทธา แทงตลอดด้วยปัญญา คือเข้าใจแจ่มแจ้ง ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ความรู้กับใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คุณสมบัติข้อนี้จะเกิดเต็มที่ได้ ต้องฝึกสมาธิอย่างจริงจัง จนเกิดปัญญาสว่างไสว รู้เห็นสิ่งต่างๆ ไปตามความเป็นจริง


ลักษณะผู้ที่เป็นพหูสูตไม่ได้ดี

1. คนราคจริต คือคนขี้โอ่ บ้ายอ เจ้าแง่แสนงอน รักสวยรักงาม พิถีพิถันจนเกินเหตุ มัวแต่งอน มัวแต่แต่งตัว จนไม่มีเวลาท่องบ่นค้นคว้าหาความรู้ พวกนี้แก้โดย ให้หมั่นนึกถึงความตาย พิจารณาซากศพอสุภะเนืองๆ

2. คนโทสจริต คือคนขี้โมโห ฉุนเฉียว โกรธง่าย ผูกพยาบาทมาก มัวแต่คิดโกรธแค้นจนไม่มีเวลาไตร่ตรอง พวกนี้แก้โดยให้หมั่นรักษาศีลและแผ่เมตตาเป็นประจำ

3. คนโมหจริต คือคนสะเพร่า ขี้ลืม มักง่าย ทำอะไรไม่พยายามเอาดี ทำสักแต่ให้เสร็จ สติไม่มั่นคง ใจกระด้างในการกุศล สงสัยในพระรัตนตรัยว่ามีคุณจริงหรือไม่ พวกนี้แก้โดยให้หมั่นฝึกสมาธิอย่างสม่ำเสมอ

4. คนขี้ขลาด คือพวกขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง ไม่กล้าลงมือทำอะไร กลัวถูกติ คอยแต่จะเป็นผู้ตาม ไม่มีความคิดริเริ่ม พวกนี้แก้โดยให้คบกับคนมาตรฐาน คือคบบัณฑิต จะอ่านจะทำอะไร ก็ให้จับให้ทำแต่สิ่งที่เป็นมาตรฐาน ไม่สักแต่ว่าทำ

5. คนหนักในอามิส คือพวกบ้าสมบัติ ตีค่าทรัพย์ว่าสำคัญกว่าความรู้ ทำให้ไม่ขวนขวาย ในการแสวงหาปัญญาเท่าที่ควร

6. คนจับจด คือพวกทำอะไรเหยาะแหยะไม่เอาจริง

7. นักเลงสุรา คือพวกขี้เมา ขาดสติ หมดโอกาสที่จะเรียนรู้

8. คนที่มีนิสัยเหมือนเด็ก คือพวกชอบเอิกเกริกสนุกเฮฮาจนเกินเหตุ ขาดความรับผิดชอบ

วิธีฝึกตนให้เป็นพหูสูต

1. ฉลาดเลือกเรียนแต่สิ่งที่ควร

2. ตั้งใจเรียนวิชาที่ตนเลือกแล้วอย่างเต็มความสามารถ

3. มีความกระตือรือร้นที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ

4. ต้องหาความรู้ทางธรรมควบคู่ไปกับความรู้ทางโลกด้วย

5. เมื่อเรียนแล้วก็จำไว้เป็นอย่างดี พร้อมที่จะนำความรู้ไปใช้ได้ทันที

ข้อเตือนใจ

ถ้ามีความรู้ทางโลกอย่างเดียว ไม่ว่าตนเองจะเป็นคนฉลาดเพียงใดก็มีโอกาสพลาดพลั้งได้ เช่น มีความรู้เรื่องปรมาณู อาจนำไปใช้ในทางสันติเป็นแหล่งพลังงาน หรือนำไปสร้างเป็นระเบิด ทำลายล้างชีวิตมนุษย์ก็ได้ เราจึงต้องศึกษาความรู้ทางธรรม ไว้คอยกำกับความรู้ทางโลกด้วย ความรู้ทางธรรม จะเป็น เสมือนดวงประทีปส่องให้เห็นว่า สิ่งที่กระทำนั้นถูกหรือผิด ควรหรือไม่ควร

ผู้ที่คิดแต่จะตักตวงความรู้ทางโลก แม้จะฉลาดร่ำรวย มีอำนาจสักปานใดก็ไม่น่ารัก ไม่น่าเคารพ ไม่น่ายำเกรง ไม่น่านับถือ ยังเป็นบุคคลประเภท เอาตัวไม่รอด

โปรดจำไว้ว่า"ความรู้ที่เกิดแก่คนพาล ย่อมนำความฉิบหายมาให้ เพราะเขาจะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ผิดๆ"

เราทุกคนจึงควรจะแสวงหาโอกาสศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม และรู้ให้ลึกซึ้ง เกินกว่าการงานที่ตนรับผิดชอบ ความรู้ที่เกินมานี้ จะเป็นเสมือนดวงประทีป ส่องทางเบื้องหน้า นำไปสู่ความสำเร็จได้โดยง่าย

การเป็นพหูสูต

1. ทำให้เป็นที่พึ่งของตนเองได้

2. ทำให้ได้ความเป็นผู้นำ

3. ทำให้แกล้วกล้าองอาจในทุกที่ทุกสถาน

4. ทำให้บริบูรณ์ด้วยลาภ ยศ สรรเสริญ สุข

5. ทำให้ได้รับคำชมเชย ได้รับความยกย่องเกรงใจ

6. เป็นสชาติปัญญาติดตัวข้ามภพข้ามชาติไป ไม่มีใครแย่งชิงได

7. เป็นพื้นฐานของศิลปะ และความสามารถอื่นๆ ต่อไป

8. ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย


วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กายกรรม3
ประพฤติชอบทางกาย มี 3 อย่างคือ
1.เว้นจากลักทรัพย์ ไม่ลักข้อมูล หรือก๊อปงานเขามาทำเป็นของตัวเอง
2.เว้นจากประพฤติผิดในกาม ไม่ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวกับสิ่งลามกทั้งปวง
3.เว้นจากฆ่าสัตว์

วจีกรรม4
วจีสุจริต
1.เว้นจากการ พูดคำหยาบ - คุยกับลูกค้า อย่างสุภาพ
2.เว้นจากการ พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล - ไม่พูดออกนอกเรื่อง พูดเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำ
3.เว้นจากการ พูดเท็จ - พูดเรื่องที่เป็นจริงกับลูกค้า
4.เว้นจากการ พูดส่อเสียด -

มโนกรรม3
มโนสุจริต 3
1.ไม่โลภอยากได้ของเขา คือ ไม่อยากได้รูปแบบงานของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง
2.ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่อย่าคิดทำร้ายผู้อื่นเพื่อหวังข้อมูลรูปแบบงานเขามา
3.เห็นชอบตามคลองธรรม คือ
โลกธรรม 8


"โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของโลกซึ่งมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์ เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม อยู่ที่ว่า ใครจะประสบมาก หรือประสบน้อยช้าหรือเร็วกว่ากัน

โลกธรรม แบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กัน ซึ่งมีความหมายตรงข้ามกัน คือ ฝ่ายอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนาและฝ่ายอนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ดังนี้

โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ

1. ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา

2. ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต

3. ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ

4. ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ

1. เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป

2. เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ

3. ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี ถูกผู้อื่นพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา

4. ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ ไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรแน่นอน ไม่มีอะไรเป็นตัวของเราเอง ไม่มีใครในโลกนี้จะพบแต่ความสมหวังตลอดชีวิต จะต้องพบกับ คำว่าผิดหวังบ้าง

ผู้มีปัญญาได้รับการศึกษาอบรมมาอย่างดีแล้ว พึงทำใจเอาไว้กลางๆ ว่า มีคนนินทา ก็ต้องมีคนสรรเสริญ มีสุขก็ต้องมีทุกข์ มีลาภย่อมเสื่อมลาภ มียศก็ย่อมเสื่อมยศ หากเราหวังอะไรเกินเหตุ เมื่อเวลาเราผิดหวัง ไม่สมหวัง ให้ทำใจไว้ว่านั่นคือโลกธรรมทั้ง 8 คือ มีได้ก็ต้องเสื่อมได้ เป็นของธรรมดาในโลกนี้ ไม่ว่าสัตว์หรือบุคคลใด ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้น เมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์ ก็ย่อมหนีสิ่งเหล่านี้ไปไม่พ้นอย่างแน่นอน เพราะเมื่อไม่สมปรารถนาที่ตัวเองคิดไว้ จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียอกเสียใจ รำพึงรำพันกับตัวเองถึงความไม่สมหวัง จะได้ไม่ต้องเป็นทุกข์มาก

เพราะฉะนั้น จงใช้สติปัญญาหมั่นพิจารณาอยู่เนืองๆ ว่า สิ่งใดมีเกิดขึ้น ก็ต้องมีเสื่อมไปเป็นของธรรมดา เหมือนโลกธรรมทั้ง 8 ประการ เราเกิดมาเป็นมนุษย์ ทุกคนจะต้องตกอยู่ในโลกธรรม 8 กันถ้วนหน้า จะได้ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจเป็นทุกข์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างเป็นสุข"

















อิทธิบาท4 : ทางสู่ความสำเร็จ



ไม่ว่าทางโลกหรือทางธรรม ทุกคนต่างปรารถนาความสำเร็จด้วยกันทั้งสิ้น แล้วทำอย่างไรจึงจะประสบความสำเร็จ ถ้าเราเดินเข้าไปในท้องตลาด ในร้านขายหนังสือจะพบกับตำราเทคนิควิธีการทำงานรูปแบบต่างๆ มากมาย จนบางทีอ่านแล้วงง แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ให้หลักการสั้นๆ ไว้เพียง 4ข้อเท่านั้นเอง
ในอิทธิบาท4 ชื่อก็บอกอยู่แล้ว อิทธิ แปลว่า ฤทธิ์ หรือ ความสำเร็จ บาท แปลว่า เส้นทางไป ทางดำเนินไป
อิทธิบาทก็คือ “ทางดำเนิน ไปสู่ความสำเร็จ” ซึ่งประกอบด้วยหมวดธรรม 4 ข้อ ได้แก่

1. ฉันทะ คือ เต็มใจทำ ได้แก่ มีความต้องการที่จะทำมีใจรักที่จะทำใจใฝ่รักที่จะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ
2. วิริยะ คือ แข็งใจทำ ขยันทำสิ่งนั้นด้วยความพยายาม อดทนไม่ท้อถอย อะไรจะเกิดก็แข็งใจทำ
3. จิตตะ คือ ตั้งใจทำ มีใจจดจ่อ ทำสิ่งนั้นด้วยความฝักใฝ่ เอาใจใส่เสมอ มีใจจดจ่อเป็นสมาธิ(Meditation)
4. วิมังสา คือ เข้าใจทำ มีความรู้ความสามารถในสิ่งที่ทำ ทำด้วยความพิจารณา หมั่นตรวจสอบ มีการวางแผน วัดผล ตลอดจนหาวิธีแก้ไขปรับปรุง



เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น ถึงหัวข้อธรรมทั้ง 4ข้อ โดยการศึกษาจากตารางต่อไปนี้





เมื่อเรารู้ หลักนี้แล้ว เราจึงต้องไม่หยุดในการหาความรู้ ฝึกฝนตนเองเสมอ แล้วเราชาวพุทธมีอาวุธลับสำคัญคือ “ธรรมะ”ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งทันสมัยที่สุดในโลกไม่มีวันเชยเพราะเป็น อกาลิโก คือ ไม่ขึ้นกับกาลเวลานั้นเอง
สังคหวัตถุ ๔



สังคหวัตถุ แปลว่า วิธีสงเคราะห์ หมายถึง วิธีปฏิบัติเพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่นที่ยังไม่เคยรักใคร่นับถือ หรือที่รักใคร่นับถืออยู่แล้วให้สนิทแนบยิ่งขึ้น พูดง่าย ๆ สังคหวัตถุ ก็คือ เทคนิควิธีทำให้คนรัก หรือมนต์ผูกใจคน นั่นเอง มีทั้งหมด 4 ประการ ดังนี้

1.1 ทาน ทาน คือ การให้ ได้แก่ การเสียสละ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การแบ่งปันช่วยเหลือกันด้วยสิ่งของ การให้ทานให้เพื่อขจัดกิเลส เช่น การบริจาคทานแก่นสมณชีพราหมณ์ ผู้ทรงศีล เพื่อขจัดความโลภหรือความตระหนี่ เป็นการชำระจิตใจให้สะอาด ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น และการให้เพื่อสงเคราะห์หรือเพื่อยึดเหนี่ยวน้ำใจคนอื่น การทำทานโดยให้สังคหวัตถุนี้ ในแง่ปฏิบัติ หมายถึง การเฉลี่ยหรือแบ่งให้จากส่วนที่คนมีอยู่ มิใช่ให้มากมายจนไม่เหลือ หรือให้จนผู้รับร่ำรวย จุดประสงค์เน้นที่การแสดงอัธยาศัยไมตรีมากกว่าความมากหรือน้อยของวัตถุที่ให้ เพราะฉะนั้น คนยากจนหรือคนที่มีวัตถุสิ่งของเล็กน้อยก็สามารถแบ่งปันให้ทานผู้อื่นได้ตามอัตภาพของตน เช่น การแบ่งปันอาหารให้เพื่อน แบ่งปันเครื่องเขียนให้เพื่อน เป็นต้น คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้ไม่เป็นคนละโมบ ไม่เห็นแก่ตัว เราควรคำนึงอยู่เสมอว่า ทรัพย์สิ่งของที่เราหามาได้ มิใช่สิ่งจีรังยั่งยืน เมื่อเราสิ้นชีวิตไปแล้วก็ไม่สามารถจะนำติดตัวเอาไปได้

1.2 ปิยวาจา ได้แก่ การพูดคำสุภาพ อ่อนหวาน เพื่อให้เกิดความสมานสามัคคี ปิยวาจาทำได้ง่าย เพราะวาจานั้นมีในตัวเรา เพียงเรามีสติ มีเมตตาในใจก็สามารถพูดออกมาได้ คำพูดมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่

(1) คำพูดที่พูดออกไปแล้วคนฟังเกลียด เช่น คำหยาบ คำด่า คำประชด คำกระทบกระเทียบ คำแดกดัน คำสบถ เป็นต้น คำพูดเหล่านี้เรียกว่า "อัปปิยวาจา"

(2) คำพูดที่พูดออกไปแล้วทำให้คนฟังรัก เช่น คำอ่อนหวาน คำชมเชยจากใจจริง คำพูดที่ชวนให้เกิดความสมัครสมานไมตรี เป็นต้น

1.3 อัตถจริยา หมายถึง การบำเพ็ญประโยชน์ช่วยเหลือกันและกันในวงแคบ และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ในวงกว้าง หลักธรรมข้อนี้มุ่งสอนให้คนพัฒนาตน 2 ด้าน คือ การทำตนให้เป็นประโยชน์ และทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ การทำตนให้เป็นประโยชน์ หมายถึง ทำตนให้มีคุณค่าในสังคมที่ตนอาศัยอยู่ อย่างคำพังเพยที่ว่า "อยู่บ้านท่านอย่างนิ่งดูดาย ปั้นวัวปั้นควายให้ลูกท่านเล่น" หรือ "อยู่ก็ให้เขาไว้ใจไปก็ให้เขาคิดถึง" คนที่ไม่นิ่งดูดายมีอะไรพอจะช่วยเหลือคนอื่นและสังคมได้ก็เอาใจใส่ขวนขวายช่วยเหลือตามสติกำลัง ทางพระพุทธศาสนาเรียกว่า "คนทำหมู่คณะให้งดงาม" อยู่ที่ไหนก็สร้างความเจริญที่นั้น วิธีทำตนให้เป็นประโยชน์และทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ อาจทำได้หลายวิธี เช่น การตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ฝึกฝนอบรมตนให้เป็นคนเจริญด้วยความรู้ ความสามารถ เป็นบุตรที่ดีของบิดามารดา เป็นศิษย์ที่ดีของครูอาจารย์เป็นนักเรียนที่ดีของสถานศึกษา เป็นพลเมืองที่ดีของประเทศชาติ ตลอดจนเป็นศาสนิกชนที่ดีของพระพุทธศาสนา

1.4 สมานัตตตา การวางตนเสมอต้นเสมอปลาย หมายถึง การวางตนได้เหมาะสม มีความหมาย 2 ประการ คือ (1) วางตนได้เหมาะสมกับฐานะที่ตนมีอยู่ในสังคม เช่น เป็นหัวหน้าครอบครัว เป็นบิดามารดา เป็นครูอาจารย์ เป็นเพื่อนบ้าน เป็นต้น ตนอยู่ในฐานะอะไรก็วางตนให้เหมาะสมกับฐานะที่เป็นอยู่ และทำได้อย่างเสมอต้นเสมดปลาย

(2) ปฏิบัติตนอย่างสม่ำเสมอต่อคนทั้งหลาย ให้ความเสมอภาค ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น เสมอในสุขและทุกข์ คือ ร่วมสุขร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้ปัญหา และร่วมแก้ปัญหาเพื่อประโยชน์ของสังคม

คุณธรรมข้อนี้จะช่วยให้เราเป็นคนมีจิตใจหนักแน่นไม่โลเล รวมทั้งยังเป็นการสร้างความนิยม และไว้วางใจให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย

ประโยชน์ของสังคหวัตถุ 4


สังคหวัตถุ 4 ประการดังกล่าวมาแล้ว อำนวยประโยชน์ที่มองเห็นได้เป็นรูปธรรมดังต่อไปดังนี้

1. ช่วยให้บุคคลดำรงตนอยู่ได้ในสังคมด้วยความสุข

2. เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจ สมานไมตรีระหว่างกัน

3. เป็นเครื่องส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ให้มีความเคารพนับถือกันตามสมควรแก่ฐานะ

4. เป็นเครื่องประสานองค์ประกอบต่างๆ ของสังคมให้คงรูปอยู่และดำเนินไปได้ด้วยดี

5. ช่วยส่งเสริมศีลธรรมและป้องกันความประพฤติเสื่อมเสียในสังคม


ข้อมูลจาก

http://school.obec.go.th/bandp/Dhamma1.htm

http://www.learntripitaka.com/scruple/sank4.html

วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อกุศลกรรม 10 (สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ 10 ประการ)

อกุศลกรรม 10 (สิ่งที่ไม่ควรประพฤติ 10 ประการ

อกุศลกรรมสิบ คือ ทางที่ไม่ควรดำเนิน ๑๐ ประการ เพราะให้ผลไปในทางเสื่อม เมื่อผู้ใดได้กระทำลงไปจะเป็นเหตุให้ชีวิตผู้นั้นต้องได้รับผลดังต่อไปนี้

๑. เข่นฆ่าชีวิต คนสัตว์ไม่ละเว้น
ผลที่จะได้รับจากการกระทำเหตุเช่นนี้ มากน้อยแตกต่างกันขึ้น อยู่กับความรุนแรงของการกระทำเช่น ผู้ที่ฆ่าสัตว์ใหญ่จำพวก วัว ควาย หมู จะบาปและรับผลรุนแรงกว่าการฆ่า มด ปลวก ยุง ฯ ทั้งนี้เพราะ กรรมวิธีและระยะเวลาของการกระทำบาปนั้นมีมากกว่า ทำให้จิตเก็บ อารมณ์นั้นได้มากกว่า ผลต่าง ๆ ที่จะได้รับจากการฆ่าสัตว์นี้มีมากมาย แตกต่างกัน ซึ่งจะเป็นไปตามลักษณะและอาการของสัตว์ที่เราได้ทำร้าย หรือทรมานเพื่อให้ตาย เพราะการที่เราได้กระทำปาณาติบาตออกไปนั้น จะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑. ร่างกายทุพพลภาพ
กล่าวคือ เกิดมาพิการแต่กำเนิด หรือได้รับอุบัติเหตุแล้วเสียอวัยวะกลายเป็น คนพิการ
๒. รูปไม่งาม
เช่น ขี้ริ้วขี้เหร่ รูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์ ไม่มีเสน่ห์ เป็นเหมือนอาการของสัตว์ ที่ถูกทำร้ายหรือกำลังบาดเจ็บ ๓. กำลังกายอ่อนแอ
กล่าวคือ มีอาการอยู่ในสภาพเดียวกับสัตว์ที่ได้ทำร้ายและใกล้ตายนั่นเอง
๔. กำลังปัญญาไม่ว่องไว
เพราะสัตว์ที่กำลังจะตาย ย่อมมีแต่ความมืดบอด คิดอะไรก็ไม่ออก
๕. เป็นคนขลาดหวาดกลัวง่าย
เพราะสัตว์ทุกชนิดย่อมรักชีวิต เมื่ออยู่ในภาวะที่กำลังถูกทำร้ายเพื่อให้ตาย ย่อมมีความขลาดหวาดกลัวอย่างรุนแรง
๖. กล้าฆ่าตนเอง หรือถูกฆ่า
เพราะเราได้ฆ่าชีวิตอื่นไว้ ชีวิตของเราก็อาจต้องถูกฆ่าในชาติต่อ ๆ ไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นสัตว์ตัวที่เราฆ่านั้นกลับมาฆ่าเรา เพียงแต่เป็นเหตุผลผลักดันให้เราถูกฆ่าโดยใครหรือสัตว์ใดก็ได้ และ การฆ่าสัตว์บ่อย ๆ จากสัตว์เล็ก ๆ จะทำให้มีอำนาจกล้าฆ่าสัตว์ที่ใหญ่ ขึ้น ในที่สุดความกล้านี้จะมีอำนาจทำให้สามารถกล้าฆ่าตนเองซึ่งเป็น ชีวิตที่เรารักที่สุดได้
๗. พินาศในบริวาร
กล่าวคือ ทำให้ชีวิตของเรานั้นไม่มีใครอยากอยู่ด้วย เช่นมีคนใช้ก็อยู่ ไม่ทนต้องเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก หรือเป็นหัวหน้างาน ก็มีลูกน้องที่ไม่ จริงใจ ไม่ซื่อตรง เป็นต้น
๘. โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน
กรณีนี้แล้วแต่อาการที่ได้กระทำต่อสัตว์นั้น เช่น คนบางคนชอบฆ่าสัตว์ โดยการใช้ไฟหรือน้ำร้อนลวกพวกมด หนู ฯลฯ คนเหล่านี้มักจะได้รับผล จากการถูกไฟครอก หากไม่ตายก็ถึงขึ้นพิการ หรือเสียโฉมไปตลอดชีวิต
๙. อายุสั้น
โดยปกติคนเราจะมีอายุขัยประมาณ ๗๕ ถึง ๑๐๐ ปีทั้งนี้ถ้าผู้ใดตายก่อนอายุ ขัยแสดงว่าผู้นั้นได้เคยฆ่าสัตว์ แล้วแต่ความรุนแรงของกรรมที่กระทำมา การรับผลของกรรมในการกระทำเช่นนี้ หรือที่คนทั่ว ๆ ไปเรียกกันว่า "ชด ใช้หนี้กรรม" นั้นไม่มีวันหมดสิ้นถ้าตราบใดที่เรายังเวียนว่ายตายเกิดอยู่

๒. ลักขโมย ยักยอก ฉ้อโกง
หมายถึง การลักทรัพย์ รวมไปถึงการฉ้อโกง ยักยอก หยิบฉวย โดยที่เจ้าของไม่ได้อนุญาต
ผลของบาปนั้นจะหนักหรือเบาขึ้นอยู่กับว่าได้ทำครบองค์ประกอบ หรือไม่เช่น การถือวิสาสะหยิบของผู้อื่นมาใช้ด้วยความคิดว่าเป็นคนกัน เองนั้น เท่ากับเป็นการสะสมความเคยชินในทางที่ผิด เพราะเมื่อกระทำ บ่อย ๆ เข้าจะเกิดความชำนาญ กล้าที่จะหยิบของผู้อื่นมากขึ้น ในที่สุด ก็จะเป็นขโมยอย่างแท้จริงได้ในวันข้างหน้า ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำการลักขโมย ออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) ด้อยทรัพย์
๒) ยากจน
๓) อดอยาก
๔) ไม่ได้ในสิ่งที่ตนปรารถนา
๕) พินาศในกิจการค้าและการลงทุน
๖) พินาศเพราะภัยพิบัติ

๓. ละเมิด ล่วงเกิน ผิดประเวณี
โดยส่วนใหญ่การกระทำผิดในข้อนี้ คนส่วนมากมักจะนึกถึงการ ประพฤติผิดในกาม หรือการล่วงประเวณีอันเป็นการกระทำลามก ไม่ว่า ยินยอมหรือขัดขืน หากผิดจากทำนองคลองธรรมคือผิดลูกผิดเมียเขา อันเป็นความประพฤติที่สังคมไม่ยอมรับ ผู้ที่กระทำจึงต้องมีพฤติกรรม ที่ปิดบังและซ่อนเร้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้กระทำผิดกาเมสุมิจฉาจารออกไปนั้น จะทำให้ได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) มีผู้เกลียดชังมาก
๒) มีผู้คิดปองร้าย
๓) ขัดสนทรัพย์
๔) อดอยาก ยากจน
๕) เกิดเป็นผู้หญิง
๖) เกิดเป็นกะเทย
๗) เกิดในตระกูลต่ำ
๘) ได้รับความอับอายอยู่เสมอ
๙) ร่ายกายไม่สมประกอบ
๑๐) เป็นคนวิตกจริต
๑๑) พลัดพรากจากผู้ที่ตนรัก

๔. พูดเท็จ พูดไม่ตรงความจริง
หลายคนคงตั้งข้อสงสัยว่าการพูดไม่ปดนั้นเป็นเรื่องที่ยากมาก เพราะบางครั้งดูเหมือนจำเป็นต้องทำ เพราะอยู่ในหน้าที่การทำงานซึ่ง หาทางเลี่ยงไม่ได้ เช่น เมื่อรับโทรศัพท์แล้วมีคนต้องการพูดกับเจ้านาย แต่เจ้านายให้บอกว่าไม่อยู่ เช่นนี้แล้วถือว่าเป็นอกุศลกรรมหรือไม่ ? ถ้าเรามาไตร่ตรองให้รอบคอบ อาจเป็นเพราะเรายังไม่เคยทราบ ว่าเมื่อได้กระทำออกไปแล้วผลที่เราจะต้องได้รับเป็นอย่างไร ถ้าเราได้ ทราบผลที่จะเกิดและกลัวต่อผลนั่น ๆ เราจะต้องหาทางหลีกเลี่ยง ลด ละ เลิก การกระทำนั้นได้ดีที่สุด เพราะการที่เราได้พูดปดออกไปนั้นจะทำให้ เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) พูดไม่ชัด
๒) ฟันไม่เรียบ
๓) มีกลิ่นปากเหม็นรุนแรง
๔) ไอตัวร้อนจัด มีกลิ่นตัวแรง
๕) ตาไม่อยู่ในระดับปกติ
๖) พูดติดอ่าง พูดไม่สะดวก
๗) บุคลิกไม่สง่าผ่าเผย
๘)จิตใจรวนเรคล้ายคนวิกลจริต

๕. พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก
หมายถึง พูดส่อเสียด พูดให้แตกแยก พูดพาดพิง พูดให้ร้ายฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่างเบา ที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) ชอบตำหนิตนเอง
๒) มักถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นจริง
๓) ถูกบัณฑิตติเตียน
๔) แตกกับมิตรสหาย

๖. พูดคำหยาบ ด่า สาปแช่ง
หมายถึง พูดคำหยาบ ด่าด้วยคำหยาบช้า ด่าพ่อล่อแม่ ด่า ประจาน สาปแช่งฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้วคือ
๑) มีกายและวาจาหยาบกระด้าง
๒) พินาศในทรัพย์
๓) ได้รับฟังแต่เรื่องไม่สบายใจ
๔) ตายด้วยอาการหลงใหล

๗. พูดเพ้อเจ้อ พูดไร้สาระ
หมายถึง พูดไม่มีเนื้อหา พูดเหลวไหล พูดเรื่อยเปื่อย พูดไม่ เป็นประโยชน์ฯ เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) เป็นอธรรมวาทบุคคล
กล่าวคือ เป็นคนที่พูดมากและเรื่องราวที่พูด นั้นไร้สาระหาประโยชน์ไม่ได้ บางคนไม่ว่า ใครจะพูดอะไรก็พูดกับเขาได้ทุกเรื่อง มีการเพลิดเพลินในการพูด โดยไม่สนใจว่าคนอื่น เขาจะรู้สึกอย่างไร >>
๒) ไม่มีผู้เลื่อมใสในคำพูด
๓) เป็นคนไร้อำนาจ
๔) วิกลจริต
ทั้ง ๔ ประการที่กล่าวมาข้างต้นจัดเป็นวาจาทุจริต คือการสร้าง กรรมทางปากเป็นอกุศลกรรมหรือวจีกรรม เมื่อได้กระทำออกไปย่อมมี ผลตามมามากมาย ดังนั้น ในศีลห้าข้อที่ ๔ มุสาวาท ซึ่งหมายถึงเว้นขาด จากการพูดจาโป้ปดมดเท็จ เพราะฉะนั้นจะรักษาศีลข้อนี้ให้บริสุทธิ์นั้น ทั้งนี้ต้องรวมถึงการไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ เข้าไป ด้วยนั่นเอง

๘. เพ่งเล็งอยากได้เป็นเจ้าของ
หมายถึง ปรารถนาที่จะได้มาครอบครองเป็นเจ้าของ ไม่ว่าสิ่งนั้น เป็นบุคคลหรือทรัพย์สินสิ่งของ ความคิดเช่นนี้เป็นอกุศลกรรมทางใจ หรือมโนกรรม ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้เกิดการกระทำทุจริตในข้ออทินนา ทาน (ลักขโมย) มุสาวาท (พูดเท็จ) หรือกาเมสุมิจฉาจาร (ผิดประเวณี) ตามมา เมื่อมีความอยากได้อาจทำให้ต้องสร้างเรื่องโกหกขึ้นมาเพื่อให้ได้ สิ่งของนั้น หรือมีการหยิบฉวยเมื่อเจ้าของเผลอ หรือฉุดพรากลูกเมีย เขา เป็นต้น เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือ โทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) เสื่อมในทรัพย์และคุณงามความดี
๒) เกิดในตระกูลต่ำ
๓) ขัดสนในลาภสักการะ
๔) ได้รับคำติเตียนอยู่เสมอ

๙. ความคิดชั่วร้าย ผูกพยาบาท
หมายถึง ความคิดที่มุ่งร้ายต่อผู้อื่น มีความปรารถนาที่จะทำร้าย ผู้อื่น หรือทำลายประโยชน์และความสุขของผู้อื่นให้เสียไป เช่น เมื่อมี ความโกรธแค้นก็คิดพยาบาทหรืออาฆาต เป็นแรงผลักดันให้เกิดวาจา ทุจริตคือ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ และอาจผลักดันให้เกิดความทุจริต ทางกายตามมาคือ กาเมสุมิจฉาจาร หรือปาณาติบาต (โดยการหาวิธี การทำร้านให้ถึงแก่ชีวิต) เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับ ผลหรือโทษอย่างเบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
๑) มีรูปกายทราม
๒) มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนอยู่เสมอ
๓) อายุสั้น
๔) ตายด้วยการถูกประหารชีวิต

๑๐. มิจฉาความคิด เห็นผิดเป็นชอบ
หมายถึง ความเห็นผิดจากความเป็นจริง คือ
๑) มีความเห็นว่าตายแล้วสูญ ทำอะไรก็ตาม ผลที่พึงได้รับย่อม ไม่มีคือ ทำดีไม่ได้ดี ทำชั่วไม่ได้ชั่ว คุณบิดามารดาไม่มี ผีสางเทวดาไม่มี
๒) มีความเห็นว่าผู้ที่กำลังได้รับความลำบากหรือความสุขสบาย ก็ตาม ล้วนเป็นไปเองทั้งสิ้น เป็นการปฏิเสธต้นเหตุผลกรรมโดยสิ้นเชิง
๓) มีความเห็นว่าการกระทำต่าง ๆ นั้น ไม่มีผลของบาปบุญคุณ โทษแต่ประการใด

เมื่อเราได้กระทำออกไปนั้นจะทำให้เราต้องได้รับผลหรือโทษอย่าง เบาที่สุดเมื่อมาเกิดเป็นคนแล้ว คือ
1. ห่างไกลต่อรัศมีพระธรรม
2. เกิดเป็นคนป่า
3. เป็นคนบ้าปัญญาทราม
4. มีฐานะทางจิตใจต่ำไม่ทัดเทียมผู้อื่น

กุศลกรรมบท 10 ประการ

กุศลกรรมบท 10 ประการ

1. งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ที่มีชีวิตให้ตาย และไม่ใช้ให้ผู้อื่นฆ่า สร้างจิตให้เมตตารักใคร่คน และสัตว์ดิรัจฉาน มีความปรารถนาอย่างจริงใจที่จะให้คน มีความปราศจากทุกข์โดยทั่วหน้ากัน มีความกรุณาสงสารคนและสัตว์ผู้ประสบความทุกข์ยาก งดเว้นการเบียดเบียนให้คนและสัตว์เดือดร้อน เช่น ทำให้อวัยวะ มีแขน ขา เป็นต้น ของคนและสัตว์ให้หักหรือพิการ หรือทรมานสัตว์ให้ได้รับความเหนื่อยยากลำบาก มีมุทิตาพลอยยินดีในเมื่อคนและสัตว์ได้ดี มีลาภ มียศ มีความสุข ความเจริญ งดเว้นจากการอิจฉาริษยาคนและสัตว์ที่ดีกว่าตน และตั้งจิตเป็นอุเบกขาวางเฉย ในเมื่อประสบคนและสัตว์ที่ถึงความปิติ จนไม่สามารถจะช่วยได้ โดยพิจารณาว่าเป็นกรรมของคนและสัตว์นั้นเอง

2. งดเว้นจากการลักขโมยสิ่งของ ๆ คนและสัตว์ และไม่ใช้ให้ผู้อื่นลักขโมย ไม่หลอกลวงให้ผู้อื่นต้องเสียทรัพย์และชื่อเสียง

หมั่นบำเพ็ญทาน และสละทรัพย์ และสิ่งของให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และสาธารณประโยชน์เสมอ ๆ เพื่อทำให้จิตใจบรรเทาเบาบางลงจากความตระหนี่ และความโลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน

3. งดเว้นจากการประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ไม่ข่มขืน ทำลามกอนาจาร ล่วงละเมิดสิทธิสตรีและบุรุษอื่น เรียกว่าไม่ทำชู้ในสามีและภรรยาของผู้อื่น พยายามถือสันโดษ ยินดีเฉพาะในภรรยาหรือสามีของตนเท่านั้น ไม่รักหญิงอื่นยิ่งกว่าภรรยาของตน

แม้สิ่งของใด ๆ ของใคร ๆ ก็ไม่ถือโอกาสเอาไปใช้ หรือแตะต้องก่อนได้รับอนุญาติจากเจ้าของ โดยถือหลักว่า “เมื่อไม่มีสิ่งที่ตัวชอบ จงชอบสิ่งที่ตัวมี”

4. งดเว้นจากการพูดเท็จ คือ ไม่พูดโกหกหลอกลวงให้ผู้อื่นเข้าใจผิดตามที่ตนพูด เช่น สิ่งใดที่เรารู้เราเห็น เมื่อเขาถาม เรากลับตอบว่าเราไม่รู้เราไม่เห็น และสิ่งใดที่เราไม่รู้ไม่เห็น แต่กลับตอบว่าเรารู้เราเห็น เป็นต้นเช่นนี้

พยายามพูดแต่คำที่สัตย์จริง หากคำใดเราเห็นว่าพูดออกไปแล้วแม้เป็นความจริง แต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เราก็งดเสียไม่พูดเลย เพราะถ้าไม่พูดคำจริงเราก็พูดเท็จ อันเป็นการทำให้เราเสียกุศลกรรมบถอันนี้

5. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ได้แก่การฟังข้างนี้ แล้วเอาไปบอกข้างโน้น เพื่อจะทำลายข้างนี้ หรือได้ฟังข้างโน้นแล้วเอามาบอกข้างนี้ เพื่อจะทำลายข้างโน้น คือ มุ่งหมายยุยงให้เขาแตกจากกัน ทำลายความพร้อมเพรียงกัน

ส่งเสริมผู้ที่แตกกันแล้วให้แตกมากยิ่งขึ้น ยินดีเพลิดเพลินในความเป็นพรรคเป็นพวก เข้าข้างพวกโน้นบ้างพวกนี้บ้าง ทำพรรคต่อพรรคให้แตกจากกัน ตั้งใจพูดแต่คำที่จะสมานไมตรีเชื่อมโยงให้คนโน้นคนนี้มีความรักใคร่ นับถือกัน พูดให้พรรคต่อพรรคปรองดองกลมเกลียวสามัคคีกัน ถ้าเห็นว่าจะช่วยให้เขาสามัคคีกันไม่ได้ก็งดเสีย


6. งดเว้นจากการพูดวาจาหยาบคายที่เผ็ดร้อน ที่เป็นปม เป็นที่ขัดข้องของผู้อื่น เป็นที่ระคายหูของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง ยิ่งเป็นคำด่าคำแช่ง แม้แต่กับสัตว์ดิรัจฉานก็ไม่ควรพูดเลย เพราะเป็นการส่อสันดานของตนเองว่าเป็นคนเลว

พยายามพูดแต่คำที่อ่อนหวาน เรียบร้อย นุ่มนวล ละมุนละไม เป็นที่พอใจชุ่มชื่นเบิกบานใจของผู้ที่ได้ยินได้ฟัง

7. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ได้แก่ งดการพูดในเวลาที่ไม่ควรพูด ในสถานที่ที่เขาไม่ต้องการให้เราพูด การพูดมากไปกว่าความจริง พูดไม่มีเหตุผล พูดวาจาไม่มีหลักฐาน ไม่พูดตามธรรมวินัย พูดไม่รู้จักหยุด แม้ไม่มีใครอยากฟังแล้วก็ยังพูดเรื่อยเปื่อยไปโดยไม่มีประโยชน์

ต้องใช้สติสัมปชัญญะในการพูดทุกครั้ง ถึงเป็นเรื่องจริงก็ต้องพูดให้ถูกกาลเทศะ พูดให้มีเหตุผลพอที่จะเชื่อถือได้ พูดให้ถูกตามธรรมตามวินัย พูดแต่พอเหมาะพอสมควรไม่ให้มากเกินเรื่องราวจนจับไม่ได้ว่าเรื่องอะไร ซึ่งเรียกว่า “พูดเป็นน้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหรงเหรง” หรือ “พูดกระบุงเอาสักกระบายไม่ได้” ดังนี้ ถ้าเห็นว่าพูดแล้วมีประโยชน์แก่ผู้ฟังจึงพูด ถ้าเห็นว่าพูดแล้วจะไม่มีประโยชน์เลยก็อย่าพูดเสียดีกว่า จงนึกถึงภาษิตโบราณไว้เสมอว่า
“อันดีชั่วสุดนิยมที่ลมปาก
จะได้ยากโหยหิวเพราะชิวหา

จะถูกผิดเป็นมนุษย์เพราะพูดจา

จะเจรจาจงพิเคราะห์ให้เหมาะความ”

8. ไม่โลภอยากได้ของผู้อื่นมาเป็นของตน ได้แก่ เมื่อเห็นพัสดุอุปกรณ์เครื่องใช้สอย ทั้งที่มีวิญญาณ และไม่มีวิญญาณของผู้อื่นแล้ว แม้ตนจะชอบพอใจก็ไม่พยายามเพ่งว่า ขอให้สมบัติของผู้นั้นจงมาเป็นของเรา หรือครุ่นคิดแต่ในใจว่า ทำไฉนเราจึงจะได้ทรัพย์สมบัติของผู้นั้นหนอดังนี้

จงพยายามคิดให้เห็นว่า ทรัพย์สมบัติเครื่องใช้สอยอย่างดีเป็นอันมาก เกิดขึ้นแก่ผู้นั้นก็เพราะเขาได้ทำความดีเป็นบุญเป็นกุศลมาก่อน แม้ชาตินี้เราไม่เห็นเขาทำอะไร ก็คงเป็นเพราะเขาทำมาแล้วแต่อดีตชาติโน้น ผลจึงเกิดสนองให้เขาเป็นคนมั่งมีด้วยทรัพย์สมบัติอันน่าปลื้มใจ เช่นนั้นถ้าเราไปโลภอยากได้ของเขา จะทำให้เกิดเป็นบาปแก่ใจ คือเป็นสนิมเกาะกินจิตใจของเราเหมือนสนิมอันเกิดแก่เหล็ก และเกาะกินเนื้อเหล็กฉะนั้น ทำให้จิตใจของเรากร่อนอ่อนกำลังลงไม่สามารถจะทำความดีอย่างอื่นได้

ควรพยายามแสดงมุทิตาจิตพลอยยินดีต่อผู้นั้น แล้วพยายามบำเพ็ญบุญกุศล เช่นให้ทาน เสียสละความโลภของตนให้เบาบางลง และขวนขวายช่วยเหลือผู้อื่นในการทำความดีเป็นต้น ผลจะบังเกิดแก่ตนเองในภายหลัง

9. ไม่พยาบาทปองร้ายเขา คือ ไม่คิดอยากให้ผู้อื่นเดือดร้อน ไม่จองเวรต่อสัตว์และคนอื่น ไม่ตั้งใจที่จะให้ใคร ๆ เป็นผู้ฉิบหาย หรือวิบัติด้วยประการใด

แม้จะโกรธเคืองใครบ้าง โดยที่เขามาทำอะไรให้เสียหาย หรือมาด่าว่าให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจ ก็ไม่อาจอาฆาตพยาบาทจองเวรผู้นั้นต่อไปอีก เช่น เขามาทำร้ายเราก็ให้คิดเสียว่า เพราะเราระวังตัวไม่ดีหรือเพราะเราเคยทำร้ายให้เขาเดือดร้อนมาก่อนแล้ว กรรมจึงติดตามมาสนองเรา ขอให้เป็นการใช้หนี้

กรรมกันสุดสิ้นแต่เพียงชาตินี้เถิด หรือเขามาโกงเงินเรา โดยยืมไปแล้วไม่ใช้คืน หรือเข้าหุ้นกันแล้วเขาโกงไปเสีย เช่นนี้จงคิดว่าเราเคยโกงเขามาแล้วในชาติก่อนโน้น เขาจึงโกงเอาคืนไป ขอให้สิ้นสุดเวรกรรมกันเสียที ตั้งใจแผ่เมตตาให้เขาเหล่านั้นจงเป็นผู้มีความสุขปราศจากทุกข์ มีความเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไปเถิด อย่าพยาบาทจองเวรซึ่งกันและกันเลย พิจารณาให้เห็นโทษว่า การพยาบาทนั้นมันทำให้เราเดือดร้อนกระวนกระวาย กระสับกระส่ายเป็นทุกข์ใจไปคนเดียว เราเป็นผู้ขาดทุนคนเดียวแท้ ๆ จักผ่อนคลายความพยาบาทลงได้มากทีเดียว หรือคิดให้เห็นว่า ความพยาบาทนี้หากจองเวรกันตลอดไปแล้วย่อมไม่มีที่สิ้นสุด เหมือนงูเห่ากับพังพอน

10. เห็นชอบตามทำนองคลองธรรม ได้แก่ เห็นว่าบุญมีจริงบาปมีจริง ผลของบุญมี ผลของบาปมี คนทำดีย่อมได้ดี คนทำชั่วย่อมได้ชั่ว นรกมี สวรรค์มี และนิพพานก็มี โลกนี้โลกอื่นมี ชาตินี้ชาติหน้ามี

สัตว์ที่ยังมีกิเลสทำกรรมไว้ ตายแล้วย่อมต้องเกิดเสวยผลของกรรมนั้นอีก ผู้ที่ไม่มีกิเลสอันเป็นเหตุให้ทำกรรมมีจิตสงบบริสุทธิ์หมดจดตายแล้วย่อมไม่ต้องเกิดอีก เพราะหมดเหตุหมดปัจจัยอันจะทำให้เกิดแล้ว

จงระวังอย่าให้จิตเห็นผิดว่านรกไม่มี สวรรค์ไม่มี นิพพานไม่มี ทำบุญไม่ได้บุญ ทำบาปไม่ได้บาป คนจะดีชั่วก็ดีเองชั่วเอง พ่อแม่ไม่มีตายแล้วก็สูญ เกิดมาแล้วต้องกินให้เต็มที่ สนุกให้เต็มที่ ดังนี้

วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก
ความหมายของการพิมพ์
คือ จำลองต้นฉบับอันหนึ่งซึ่งจะเป็นภาพหรือเป็นตัวหนังสือก็ตามออกเป็นจำนวนมาก ๆ หลายสำเนาเหมือน ๆ กัน บนวัตถุที่เป็นพื้นแบนหรือใกล้เคียงกับพื้นแบนด้วยการใช้เครื่องมือกล
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
1. หนังสือพิมพ์ (newspaper)
2. นิตยสารและวารสาร ( magazine / journal)
3. หนังสือเล่ม (book)
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
ความหมายของ " สื่อ " พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายคำว่า "สื่อ" ว่าหากเป็นคำกริยา หมายถึง การทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน ในกรณีที่เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หรือสิ่งของที่ทำให้การติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน

ความหมายของบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. พัฒนาการบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในกระบวนการสื่อสาร
3. แสดงวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้แจ่มชัด
4. มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเพียงพอ การที่จะเสนอเนื้อหาในฐานะผู้ส่งสาร
5. รับผิดชอบในเนื้อหาหนังสือพิมพ์ ในฐานะผู้ส่งสาร
6. พยายามเข้าใจความสามารถและความพร้อมในการรับของผู้รับสาร ฐานะผู้ส่งสาร


บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ“สาร”
1. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ “ ผู้รับสาร ”
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในระบบสังคม
3. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในการพัฒนา
4. ปัจจัยจำกัดบทบทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
ความเป็นมา
สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสำหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสำคัญของ สิ่งพิมพ์ ว่า “สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้ มีหลาย ๆ สำเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ในสังคมไทยมีหลายแบบหลายลักษณะ มีทั้งที่พิมพ์ในวงจำกัดและที่พิมพ์แพร่หลายทั่วไป ตามความต้องการของสังคมและจุดมุ่งหมายของผู้ผลิต ยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนมีความต้องการที่จะรับรู้ข่าวสารที่ดี ที่ถูกต้อง กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ในบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลในปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์นับเป็นสื่อที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้
สิ่งพิมพ์ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้สื่ออื่น ๆ ปัจจุบันมีการสนับสนุนวงการพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานแสดงความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการพิมพ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน งานดรูปา (Drupa) จัดทุก 4 ปี ที่เมืองดุชเชลดอร์ฟ การจัดงานประกวดโฆษณายอดเยี่ยมของโลก (Clio Award) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกวดงาน โฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2536 - 2537 (Tact Award) มีสิ่งพิมพ์ส่งเข้าประกวดมากที่สุดถึง 697 ชิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อวงการต่าง ๆ
ภารกิจ อิสรเสรีภาพ และความรับผิดชอบของสื่อสิ่งพิมพ์
1. บทบาทและหน้าที่
1.1 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้กรอบทฤษฎี
ภารกิจ (Function) - ลักษณะของจรรยาบรรณ (Code of Ethics) จากบันทึกความจำ ถ่ายทอดข่าวสาร อธิบายความ (Interpretation) บทบาทต่อธุรกิจ บันเทิง (Entertainment) เป็นสื่อกลาง สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ เป็นสถาบันทางสังคม รักษาสถานภาพของสังคม
1.2 บทบาทและหน้าที่ ในกระบวนการสื่อสาร ของสื่อสิ่งพิมพ์
1.2.1 ฐานะผู้ส่งสาร (Sender, Source)
- บอกวัตถุประสงค์ information, teaching, education, attention, entertain
- บอกเนื้อหา facts, truth
- รับผิดชอบเนื้อหา และวิธีการนำเสนอ การเขียน การเลือกช่องทางเผยแพร่
- วิเคราะห์ผู้รับสารให้ถูกตัว ถูกกลุ่ม ถูกกาละ ตรงตามต้องการ/สนใจ
1.2.2 ฐานะสาร (Message) สารประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
- รหัสสาร (Code message)
- เนื้อหา (Content message)
- การจัดสาร (Message treatment) -“ตอกไข่ ปรุง ใส่ข้าว”
1.2.3 ฐานะสื่อ (Channel)
- ส่งไปยังผู้รับอย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก (สื่อสารมวลชน)
- มองเห็น อ่านได้
- คงทนถาวรกว่าสื่ออื่น
- ส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่ออื่น
- ทบทวนข่าวสารได้หลายครั้ง โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้ง
- ราคาถูก
1.2.4 ฐานะผู้รับสาร (Reciever)
- ความเป็นปัจเจกบุคคล (เป็นตัวของตัวเอง)
- ความเป็นกลุ่มก้อน (เป็นสมาชิกกลุ่ม)
- ความเป็นสื่อกลาง
- เป็นผู้ใช้ หรือบริโภคข่าวสาร
1.3 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้ระบบของสังคม และการเมือง
Authoritarianism
Libertarianism
Social responsibility
บทบาทหน้าที่ต่อ - ชนชั้นกลาง
- นักการเมือง
- คนรากหญ้า
1.4 บทบาทและหน้าที่ ต่อการพัฒนาทุนทางสังคม
1. คน และพลังมวลชน
2. ระบบ แบบแผน กิจกรรม กิจการ พิธีกรรม
3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
4. ความรู้ และความจริง
5. การสื่อสาร
6. สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม
7. วัฒนธรรม
8. ทุนที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ
9. นวัตกรรมทางสังคม
1.5 บทบาทหน้าที่ต่อการส่งเสริมการส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
1.6 กฎหมาย นโยบาย และระบบการผลิต ที่มีอิทธิพลต่อบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. เสรีภาพและความรับผิดชอบ (อำนาจภายนอกที่มีต่อสื่อ)
2.1 เสรีภาพตามกฎธรรมชาติ ศาสนา และปรัชญา ของบุคคล
2.2 เสรีภาพตามกรอบกฎหมาย จริยธรรม-จรรยาบรรณ ของสิ่งพิมพ์
2.3 ความรับผิดชอบของสิ่งพิมพ์ ในฐานะสถาบันการศึกษา สถาบันแห่งความเป็นกลาง และในฐานะเป็นสมบัติของประชาชน
3. อิสรภาพและอุดมการณ์ (อำนาจภายในของสื่อ)
3.1 อิสรภาพตามลัทธิความเชื่อทางศาสนา และปรัชญาของสังคม
3.2 อุดมการณ์ความเป็นสื่อกลางของประชาชน
3.3 หน้าที่ต่อการสร้างระบบสุขภาวะของประชาชน
4. อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์
4.1 อิทธิพลที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจ
4.2 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
4.3 อิทธิพลทีมีต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสังคม
- เป็นสถาบันทางการสื่อสาร
- เป็นตัวเชื่อมของสังคมที่มีความแตกต่างกัน
- เป็นแหล่ง Information
4.5 ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลของสื่อ (ต่อ Awareness, Knowledge, Attitude, Behavior, Decission, Culture-Socialization-Economic-Political)
- กฎหมาย
- จริยธรรมของสื่อ
- เทคโนโลยีการพิมพ์
- เทคนิคการนำเสนอ
- การพัฒนาระบบและเนื้อหา
- นักเขียน
- ความละเอียดหลากหลายของข้อมูลข่าวสาร
- ลักษณะธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์
4.6 ปัญหาที่มาจากตัวสื่อ
- ความรับผิดชอบ
- ความซื่อสัตย์ ไม่บิดเบือน
- ความเป็นกลาง ไม่มีอคติ
- การสำคัญผิด
บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์เปรียบเสมือนสื่อกลางหรือกระจกสะท้อนให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของสังคมบ้านเมืองหรือของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเพณีและวัฒนธรรม โดยทำหน้าที่และบทบาทในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล การนำเสนอ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ดังนั้นบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือ การกระทำหรือการสื่อสารของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้ส่งผลกำลังส่งผลหรือจะส่งผลต่อชีวิตและสังคม
1.บทบาทการเป็นนายทวารประตูข่าว
เคิร์ท เลวิน ได้ให้ความหมายของนายทวารประตูข่าว หรือคนเฝ้าประตูว่า คือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในช่องทางการสื่อสาร เป็นผู้ตัดสินใจข่าวสารที่ตนได้รับมานั้นจะส่งไปยังมวลชนหรือไม่ และส่งไปอย่างไร บุคคลผู้ทำหน้าที่นี้มักได้แก่ บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว นักข่าว ซึ่งจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเลือกและเสนอข่าวสารไปยังประชาชน
2.บทบาทการเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
มีบทบาทในการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ เสาะหาข้อเท็จจริง รายงานแบบเจาะลึก รวมไปถึงการราย งานเชิงสืบสวนเปิดโปง
3.บทบาทการเป็นสุนัขยาม
3.1 เฝ้าและจับตาดูการปฏิบัติงานของรัฐบาลเจ้าหน้าที่รัฐว่าการทำงานตามหน้าที่ตามนโยบายหรือไม่
3.2 พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนจากกลุ่มอิทธิพลนักการเมือง
3.3 เตือนหรือเห่าให้เจาหน้าที่รัฐทำตามหน้าที่อันที่ถูกต้องหรือละเว้นการกระทำไม่ถูกต้องและเตือนให้ประชาชนระวังกลลวง
4.บทบาทการเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์
4.1 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชน
4.2 ตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือพฤติกรรมที่ถูกร้องเรียนพร้อมหาข้อเท็จจริงมารายงาย
4.3 ตรวจสอบสื่อด้วยกันเองในเชิงจริยธรรม และจรรยาบรรณ
หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
3. ให้สาระและความบันเทิง
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า