วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก
ความหมายของการพิมพ์
คือ จำลองต้นฉบับอันหนึ่งซึ่งจะเป็นภาพหรือเป็นตัวหนังสือก็ตามออกเป็นจำนวนมาก ๆ หลายสำเนาเหมือน ๆ กัน บนวัตถุที่เป็นพื้นแบนหรือใกล้เคียงกับพื้นแบนด้วยการใช้เครื่องมือกล
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
1. หนังสือพิมพ์ (newspaper)
2. นิตยสารและวารสาร ( magazine / journal)
3. หนังสือเล่ม (book)
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
ความหมายของ " สื่อ " พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายคำว่า "สื่อ" ว่าหากเป็นคำกริยา หมายถึง การทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน ในกรณีที่เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หรือสิ่งของที่ทำให้การติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน

ความหมายของบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. พัฒนาการบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในกระบวนการสื่อสาร
3. แสดงวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้แจ่มชัด
4. มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเพียงพอ การที่จะเสนอเนื้อหาในฐานะผู้ส่งสาร
5. รับผิดชอบในเนื้อหาหนังสือพิมพ์ ในฐานะผู้ส่งสาร
6. พยายามเข้าใจความสามารถและความพร้อมในการรับของผู้รับสาร ฐานะผู้ส่งสาร


บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ“สาร”
1. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ “ ผู้รับสาร ”
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในระบบสังคม
3. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในการพัฒนา
4. ปัจจัยจำกัดบทบทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
ความเป็นมา
สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสำหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสำคัญของ สิ่งพิมพ์ ว่า “สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้ มีหลาย ๆ สำเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ในสังคมไทยมีหลายแบบหลายลักษณะ มีทั้งที่พิมพ์ในวงจำกัดและที่พิมพ์แพร่หลายทั่วไป ตามความต้องการของสังคมและจุดมุ่งหมายของผู้ผลิต ยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนมีความต้องการที่จะรับรู้ข่าวสารที่ดี ที่ถูกต้อง กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ในบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลในปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์นับเป็นสื่อที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้
สิ่งพิมพ์ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้สื่ออื่น ๆ ปัจจุบันมีการสนับสนุนวงการพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานแสดงความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการพิมพ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน งานดรูปา (Drupa) จัดทุก 4 ปี ที่เมืองดุชเชลดอร์ฟ การจัดงานประกวดโฆษณายอดเยี่ยมของโลก (Clio Award) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกวดงาน โฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2536 - 2537 (Tact Award) มีสิ่งพิมพ์ส่งเข้าประกวดมากที่สุดถึง 697 ชิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อวงการต่าง ๆ
ภารกิจ อิสรเสรีภาพ และความรับผิดชอบของสื่อสิ่งพิมพ์
1. บทบาทและหน้าที่
1.1 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้กรอบทฤษฎี
ภารกิจ (Function) - ลักษณะของจรรยาบรรณ (Code of Ethics) จากบันทึกความจำ ถ่ายทอดข่าวสาร อธิบายความ (Interpretation) บทบาทต่อธุรกิจ บันเทิง (Entertainment) เป็นสื่อกลาง สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ เป็นสถาบันทางสังคม รักษาสถานภาพของสังคม
1.2 บทบาทและหน้าที่ ในกระบวนการสื่อสาร ของสื่อสิ่งพิมพ์
1.2.1 ฐานะผู้ส่งสาร (Sender, Source)
- บอกวัตถุประสงค์ information, teaching, education, attention, entertain
- บอกเนื้อหา facts, truth
- รับผิดชอบเนื้อหา และวิธีการนำเสนอ การเขียน การเลือกช่องทางเผยแพร่
- วิเคราะห์ผู้รับสารให้ถูกตัว ถูกกลุ่ม ถูกกาละ ตรงตามต้องการ/สนใจ
1.2.2 ฐานะสาร (Message) สารประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
- รหัสสาร (Code message)
- เนื้อหา (Content message)
- การจัดสาร (Message treatment) -“ตอกไข่ ปรุง ใส่ข้าว”
1.2.3 ฐานะสื่อ (Channel)
- ส่งไปยังผู้รับอย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก (สื่อสารมวลชน)
- มองเห็น อ่านได้
- คงทนถาวรกว่าสื่ออื่น
- ส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่ออื่น
- ทบทวนข่าวสารได้หลายครั้ง โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้ง
- ราคาถูก
1.2.4 ฐานะผู้รับสาร (Reciever)
- ความเป็นปัจเจกบุคคล (เป็นตัวของตัวเอง)
- ความเป็นกลุ่มก้อน (เป็นสมาชิกกลุ่ม)
- ความเป็นสื่อกลาง
- เป็นผู้ใช้ หรือบริโภคข่าวสาร
1.3 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้ระบบของสังคม และการเมือง
Authoritarianism
Libertarianism
Social responsibility
บทบาทหน้าที่ต่อ - ชนชั้นกลาง
- นักการเมือง
- คนรากหญ้า
1.4 บทบาทและหน้าที่ ต่อการพัฒนาทุนทางสังคม
1. คน และพลังมวลชน
2. ระบบ แบบแผน กิจกรรม กิจการ พิธีกรรม
3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
4. ความรู้ และความจริง
5. การสื่อสาร
6. สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม
7. วัฒนธรรม
8. ทุนที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ
9. นวัตกรรมทางสังคม
1.5 บทบาทหน้าที่ต่อการส่งเสริมการส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
1.6 กฎหมาย นโยบาย และระบบการผลิต ที่มีอิทธิพลต่อบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. เสรีภาพและความรับผิดชอบ (อำนาจภายนอกที่มีต่อสื่อ)
2.1 เสรีภาพตามกฎธรรมชาติ ศาสนา และปรัชญา ของบุคคล
2.2 เสรีภาพตามกรอบกฎหมาย จริยธรรม-จรรยาบรรณ ของสิ่งพิมพ์
2.3 ความรับผิดชอบของสิ่งพิมพ์ ในฐานะสถาบันการศึกษา สถาบันแห่งความเป็นกลาง และในฐานะเป็นสมบัติของประชาชน
3. อิสรภาพและอุดมการณ์ (อำนาจภายในของสื่อ)
3.1 อิสรภาพตามลัทธิความเชื่อทางศาสนา และปรัชญาของสังคม
3.2 อุดมการณ์ความเป็นสื่อกลางของประชาชน
3.3 หน้าที่ต่อการสร้างระบบสุขภาวะของประชาชน
4. อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์
4.1 อิทธิพลที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจ
4.2 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
4.3 อิทธิพลทีมีต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสังคม
- เป็นสถาบันทางการสื่อสาร
- เป็นตัวเชื่อมของสังคมที่มีความแตกต่างกัน
- เป็นแหล่ง Information
4.5 ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลของสื่อ (ต่อ Awareness, Knowledge, Attitude, Behavior, Decission, Culture-Socialization-Economic-Political)
- กฎหมาย
- จริยธรรมของสื่อ
- เทคโนโลยีการพิมพ์
- เทคนิคการนำเสนอ
- การพัฒนาระบบและเนื้อหา
- นักเขียน
- ความละเอียดหลากหลายของข้อมูลข่าวสาร
- ลักษณะธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์
4.6 ปัญหาที่มาจากตัวสื่อ
- ความรับผิดชอบ
- ความซื่อสัตย์ ไม่บิดเบือน
- ความเป็นกลาง ไม่มีอคติ
- การสำคัญผิด
บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์เปรียบเสมือนสื่อกลางหรือกระจกสะท้อนให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของสังคมบ้านเมืองหรือของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเพณีและวัฒนธรรม โดยทำหน้าที่และบทบาทในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล การนำเสนอ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ดังนั้นบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือ การกระทำหรือการสื่อสารของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้ส่งผลกำลังส่งผลหรือจะส่งผลต่อชีวิตและสังคม
1.บทบาทการเป็นนายทวารประตูข่าว
เคิร์ท เลวิน ได้ให้ความหมายของนายทวารประตูข่าว หรือคนเฝ้าประตูว่า คือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในช่องทางการสื่อสาร เป็นผู้ตัดสินใจข่าวสารที่ตนได้รับมานั้นจะส่งไปยังมวลชนหรือไม่ และส่งไปอย่างไร บุคคลผู้ทำหน้าที่นี้มักได้แก่ บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว นักข่าว ซึ่งจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเลือกและเสนอข่าวสารไปยังประชาชน
2.บทบาทการเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
มีบทบาทในการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ เสาะหาข้อเท็จจริง รายงานแบบเจาะลึก รวมไปถึงการราย งานเชิงสืบสวนเปิดโปง
3.บทบาทการเป็นสุนัขยาม
3.1 เฝ้าและจับตาดูการปฏิบัติงานของรัฐบาลเจ้าหน้าที่รัฐว่าการทำงานตามหน้าที่ตามนโยบายหรือไม่
3.2 พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนจากกลุ่มอิทธิพลนักการเมือง
3.3 เตือนหรือเห่าให้เจาหน้าที่รัฐทำตามหน้าที่อันที่ถูกต้องหรือละเว้นการกระทำไม่ถูกต้องและเตือนให้ประชาชนระวังกลลวง
4.บทบาทการเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์
4.1 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชน
4.2 ตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือพฤติกรรมที่ถูกร้องเรียนพร้อมหาข้อเท็จจริงมารายงาย
4.3 ตรวจสอบสื่อด้วยกันเองในเชิงจริยธรรม และจรรยาบรรณ
หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
3. ให้สาระและความบันเทิง
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรมคอมพิวเตอร์

จัดทำโดย
1.นายชาตรี ผาดวงดี เลขที่ 30
2. นางสาวปิยพร คำตัน เลขที่ 15


1.ความหมายของจริยธรรม
ความหมายของ จริยธรรมจริยธรรม หมายถึง ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ เป็นธรรมะทางใจที่ควบคุมพฤติกรรม ความประพฤติที่ดีที่ชอบที่ถูกที่ควร เป็นเรื่องของความรู้สึกในการพัฒนาตนเอง ที่มุ่งหมายให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริบูรณ์เปี่ยมไปด้วยความดีทั้งกายวาจาและใจจริยะหรือ จริยา คือ ความประพฤติ การกระทำ เมื่อสมาสกับคำว่า ธรรม หรือ ธรรมะ จึงเป็นความประพฤติที่ถูกต้องตามครรลองครองธรรม ชอบธรรม เป็นธรรมชาติจริยธรรมเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน ควบคู่กับ วินัย อันเป็นข้อห้ามหรือข้อบังคับให้ต้องปฏิบัติ สำหรับข้าราชการก็ให้เป็นไปตามระเบียบของทางราชการดังนั้น จริยธรรม จึงเป็นความประพฤติ การกระทำและความคิดที่ถูกต้องดีงาม รวมถึงการทำหน้าที่ของตนให้ครบถ้วนสมบูรณ์ เว้นในสิ่งที่ควรละเว้น ประกอบการและดำรงชีวิตอย่างฉลาด ด้วยสติและปัญญา รู้เหตุรู้ผลรู้กาลเทศะ กระทำทุกอย่างด้วยความรอบคอบ เสียสละอุทิศตน มุ่งมั่นและบากบั่นจริยธรรมจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นยิ่งสำหรับทุกคน ทุกหมู่เหล่าและทุกอาชีพ สังคมจะอยู่รอดและเป็นสุขได้ ก็ด้วยจริยธรรม
• ถึงสูงศักดิ์ อัครฐาน สักปานใด
• ถึงวิไล เลิศฟ้า สง่าศรี
• ถึงฉลาด กาจกล้า ปัญญาดี
• ถ้าไม่มี คุณธรรม ก็ต่ำคน
2.ความหมายของจริยธรรมทางธุรกิจ
องค์การธุรกิจใหม่ต้องบริหารงานโดยคำนึงถึงจริยธรรม รับผิดชอบต่อผู้บริโภคด้วยการผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ รับผิดชอบต่อพนักงานด้วยการปฏิบัติต่อพนักงานอย่างเป็นธรรม และรับผิดชอบในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจานั้นยังต้องดำเนินกิจการด้วยความโปร่งใสพร้อมจะให้สาธารณชนตรวจสอบเสมอ จริยธรรมเข้าไปเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทุกด้านขององค์การ การทำงานภายใต้ระบบทุนนิยมและกระแสเศรษฐกิจใหม่ถ้าไม่คำนึงถึงเรื่องจริยธรรมจะสร้างผลกระทบในทางลบได้อย่างรุนแรงและกว้างขวางมากกว่ายุคใด ๆ
3.ความหมายของจริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา
จริยธรรมนำชีวิต การใช้จริยธรรมนำชีวิต ต้องเริ่มจากการปริยัติคือศึกษาทฤษฎีให้เข้าใจแล้วจึงนำไปปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักการเพื่อผลในขั้นสุดท้ายอันเป็นผลที่น่ายินดีที่เรียกว่า เป็นคนมีจริยธรรม หรือปฏิเวธได้ในที่สุด
การปริยัติเพื่อการปฏิบัติตนให้เป็นผู้มีจริยธรรมควรเริ่มต้นจาก มรรยาทชาวพุทธ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมไทย เพื่อให้ตนมีจริยธรรมทางกาย ต่อไปก็ต้องทำใจให้บริสุทธ์สะอาดเพื่อการมีจริยธรรมทางใจ โดยการปริยัติ สมถะ วิปัสสนา มงคลชีวิต หลักพุทธธรรมเพื่อชีวิตและสังคม
เมื่อรู้ทฤษฎีในการปฏิบัติตนเพื่อพัฒนาจริยธรรมทางกายและใจแล้วควรได้ทราบว่าจะนำทฤษฎีไปพัฒนาตนอย่างไร โดยศึกษาจากเรื่อง ความสำคัญของพระพุทธศาสนา ในขณะเดียวกันก่อนลงมือปฏิบัติตามอาจเกิดความลังเลสงสัยเกิดขึ้นว่า เมื่อปฏิบัติแล้วจะได้ผลจริงหรือไม่ จึงจำเป็นต้องศึกษาแบบอย่างที่ดี ในเรื่องประวัติและคุณธรรมของพุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง
ประวัติและคุณธรรมดังกล่าวมีมาแต่พุทธกาล ความลังเลสงสัยอาจจะยังคงมีอยู่ว่าในปัจจุบันพระดีๆเป็นแบบอย่างได้ ยังมีอยู่จริงหรือ ก็ให้ศึกษาได้จาก บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม

ถ้าได้ศึกษาไปครบทั้ง 8 เรื่องแล้ว ยังลังเลว่าเรื่องเหล่านี้นำมาจากที่ใด ใครเป็นผู้สอน ให้ศึกษาจาก
พระไตรปิฎก ภาษาบาลี คำศัพท์ในพระพุทธศาสนา และพุทธศาสนสุภาษิต พุทธประวัติและวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเมื่อปริยัติครบทั้ง 11 เรื่อง มีความเข้าใจ มีจินตมยปัญญา สามารถนำไปปฏิบัติได้ ท่านจะเป็นผู้หนึ่งที่ถูกเรียกว่าชาวพุทธ ซึ่งมีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติเพื่อการคงอยู่ของพระพุทธศาสนา จึงต้องศึกษา หน้าที่ชาวพุทธ ศาสนพิธีและการปกครองคณะสงฆ์ไทย
หลังจากที่ได้มีการปริยัติ และ ปฏิบัติ มรรยาทฃาวพุทธ สมถะ วิปัสสนา มงคลชีวิต หลักพุทธธรรม ฯ หน้าที่ชาวพุทธ จนสุดท้ายศาสนพิธี จริยธรรมก็จะนำชีวิตไปสู่แสงสว่างแห่งความดี เป็นคนที่มีความรู้คู่คุณธรรม อันเป็นจุดมุ่งหมายของการพัฒนาคนตามที่สังคมต้องการ และจะให้สว่างยิ่งขึ้นก็ควรได้ศึกษา คู่มือมนุษย์ ธรรมะจากหลวงตาบัว ธรรมะจากพระอาจารย์ทูล จารึกไว้ในพระศาสนา รวมทั้งศึกษาหาแบบอย่างดีๆในปัจจุบันได้จาก ข่าวเยาวชน ปิดท้ายด้วยนิทานสนุกๆ เรื่อง มิลินทปัญหา และ ทศชาติชาดก

เว็ปไซด์ Moralism จึงเป็นเว็ปไซด์ที่จะนำชีวิตไปสู่ความดีงาม ทั้ง กาย วาจา และ ใจ เป็นผู้มีจริยธรรมในที่สุด รวมทั้งเป็นเว็ปไซด์ที่สามารถสนองตอบพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ 2542 ที่กำหนดให้มีการศึกษาตามอัธยาศัย คือการศึกษาด้วยตนเอง ตามความต้องการ ตามความสนใจ ตลอดเวลา และตลอดชีวิตเว็ปไซด์นี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการศึกษาตามอัธยาสัย
คุณธรรม (อังกฤษ: Virtue) เป็น มุมมองแง่หนึ่งของ จริยธรรม ซึ่งคำนึงถึง สิ่งที่ถูกและผิด โดยมีหลักใหญ่สามประการ ได้แก่ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีในแต่ล่ะบุคคล ระบบยุติธรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับ วัฒนธรรม ประเพณี ท้องถิ่น ประวัติศาสตร์ทางสังคม และ ธรรมเนียมปฏิบัติ สภาพคุณความดี หรือคุณลักษณะที่แสดงออกของความดี ที่แสดงออกด้วยการปฏิบัติและเป็นที่ประจักษ์แก่คนทั่วไป

4.องค์ประกอบของจริยธรรม
จริยธรรมนั้นถือได้ว่าเป็นเครื่องกำหนดหลักปฏิบัติในการดำรงชีวิต เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งในสังคมหรือในทุกองค์กรต้องมีข้อปฏิบัติ ปฏิบัติร่วมกันจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันเป็นหมู่คณะได้มีดังนี้
1. ระเบียบวินัย (Discipline)
เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะต้องมีในองค์กรซึ่งถ้าองค์กรใดขาดกฎเกณฑ์ หรือระเบียบวินัย ที่จะเป็นแนวปฏิบัติร่วมกันแล้ว โดยแต่ละคน ต่างคนต่างทำอะไร ได้ตามความต้องการ ไม่มีผู้นำ ไม่มีระเบียบแบบแผนให้ยึดถือ ในแนวเดียวกัน ถ้าหาเป็นเช่นนี้จะทำให้เกิดการละเมิดสิทธิ หน้าที่ เกิดความ เดือดร้อน และความไม่สงบในองค์กรจึงอาจทำให้องค์กรไม่สามารถประสบความ สำเร็จตามเป้าหมายขององค์การได้ ดังนั้นองค์กรทุกองค์กรต้องมีระเบียบวินัย
2. สังคม (Society)
เป็นการรวมกลุ่มกัน ประกอบกิจกรรมอย่างมีระเบียบแบบแผนจะก่อให้เกิด ความเรียบร้อย ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามซึ่งการ รวมกลุ่ม กันประกอบกิจกรรมในด้านธุรกิจนั้น หากทุกองค์กร สามารถที่จะ ให้ ความ ร่วมมือ ให้เกิดการพัฒนาสังคมหรือตอบแทนคืนให้สังคมโดยไม่เห็นแก่่ประโยชน์ ส่วนตน จะทำให้สังคมเกิดสิ่งดี ๆ เช่น เกิดเหตุการณ์ คลื่นยักษ์สึนามิที่ภาคใต้ จะเห็นได้ว่าหน่วยต่าง ๆ ไม่ว่าภาครัฐหรือเอกชน หรือแม้กระทั่งคนไทยทั้งประเทศ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคม ด้วยการบริจาคทั้ง ทุนทรัพย์ และกำลังเท่าที่ สามารถช่วย ได้ในการทำกิจกรรมให้การช่วยเหลือใน รูปแบบต่าง ๆซึ่งจะเห็นได้จากกิจกรรม ทางสังคมนี้ ที่จะปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สังคมไทย นั้น เป็นสังคมที่เปี่ยมด้วย น้ำใจที่ ี่บริสุทธิ์อย่างแท้จริง
3. อิสระเสรี (Autonomy)
โดยทั่วไปแล้ว บุคคลผู้สำนึกในมโนธรรมและมีประสบการณ์ชีวิต ย่อมจะเป็นบุคคลที่ความสุข ที่จะอยู่ในระเบียบวินัย สำหรับ คนไทยไทยนั้นค่านิยม ยังหมายรวมถึง อิสระ เสรีภาพ ซึ่งเมื่อได้รับการขัดเกลาแล้ว สามารถปกครองตนเองให้อยู่ในทำนองคลองธรรมได้ ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้ คณะกรรมการ โครงการศึกษาจริยธรรม ได้ทำการกำหนดจริยธรรมที่ควรปลูกฝัง
แก่คนไทยไว้ 8 ประการดังนี้

1. การใฝ่สัจจะ คือ การยึดถือความจริง ศรัทธาในสิ่งที่มีหลักฐานข้อมูลรองรับ
ที่สามารถพิสูจน์ ตรวจสอบได้ แสวงหาความรู้ ความจริงได้
2. การใช้ปัญญาในการแก้ไขปัญหา คือ การใช้กระบวนการค้นหาความรู้
ความจริงเป็นทางออกอย่างมีเหตุผลที่เหมาะสม เพื่อแก้ปัญหาหรือจัดอุปสรรค์ข้อ ยุ่งยาก ต่าง ๆ ที่เผชิญอยู่
3. เมตตากรุณา คือ การเสียสละเอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่น โดยการเสียสละนั้นไม่
ก่อให้เกิดเดือนร้อนต่อตนเอง แต่ช่วยให้ผู้อื่นได้พ้นจากความทุกข์กังวล
4. สติ- สัมปชัญญะ คือ การที่บุคคลนั้นมีความรู้ตนเองอยู่เสมอว่า ตนกำลัง
ทำอะไรอยู่ และสามารถที่จะเตือนตนเองให้สามารถตัดสินใจที่แสดงออกมาทางด้าน การประพฤติ ปฏิบัติในทางที่ถูกต้องที่ด้วยสติ
5. ไม่ประมาท คือ การที่จะกระทำอะไรก็ตาม จะต้องมีการวางแผน เพื่อเตรียม
เตรียมพร้อม โดยต้องมีการคาดการณ์ เพื่อรับผลที่ตามมาของการกระทำใด ๆ ของตนเองอยู่อย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นนิสัย
6. ซื่อสัตย์สุจริต คือ การมีจิตใจและการปฏิบัติตนที่ตรงต่อความเจริญความ
ถูกต้อง ความดีงาม ตรงต่อหน้าที่ความรับผิดชอบ ตรงตามระเบียบแบบแผนและ กฎเกณฑ์ต่อคำมั่นสัญญา ซึ่งหากปฏิบัติแบบนี้แล้ว จะก่อให้เกิดการยอมรับในที่อยู่ ร่วมกันในสังคมได้
7. ขยัน – หมั่นเพียร คือ การมีความพอใจต่อหน้าที่การงานของตนที่ได้
รับผิดชอบ จนสิ้นสุดกระบวนการในการทำงาน
8. หิริ – โอตตัปปะ คือ การละอาย และแกรงกลัวต่อการประพฤติชั่ว การผิด
ศีลธรรมต่อมาได้มีการเพิ่มคุณลักษณะจริยธรรมไทย 11 ประการ คือ

1. การมีเหตุผล 2. ความซื่อสัตย์ 3. ความรับผิดชอบ
4. ความเสียสละ 5. ความสามัคคี 6. ความกตัญญูกตเวที
7. การรักษาระเบียบวินัย 8. การประหยัด 9. ความยุติธรรม
10. ความอุตสาหะ 11. ความเมตตากรุณา




5.ประเภทของจริยธรรม
ประเภทของจริยธรรม

จากการศึกษาเราสามารถสรุปประเภทของจริยธรรมได้ 2 ระดับคือ
1. จริยธรรมภายใน เป็นสิ่งที่อยู่ภายในอาจจะไม่แสดงออกซึ่งเป็นจริยธรรม
ที่เกี่ยวข้องกับความรู้สึกนึกคิด เจตคติ ของบุคคล และสภาวะของจิตใจของแต่ละ บุคคล และบุคคล เช่น ความปราศจากอคติ ความยุติธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูกตเวที มีความเมตตากรุณาเป็นต้น
2. จริยธรรมภายนอก คือ พฤติกรรมภายนอกที่บุคคลแสดงออกมาซึ่งสามารถ
สังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าว่ามีความซื่อตรง มีสัจวาจา มีระเบียบวินัย รับผิดชอบ เอาใจใส่ต่อหน้าที่การงาน มีความขยันหมั่นเพียร ความประณีต สุภาพอ่อนน้อม ให้ความช่วยเหลือ เอื้ออาทร เคารพกฎกติกา มีมารยาท เป็นต้น

6.โครงสร้างในด้านคุณลักษณะของจริยธรรม
คุณลักษณะของจริยธรรมนั้น เป็นสิ่งที่จะบ่งบอกได้ว่า “จริยธรรม” นั้น มี
บทบาทต่อบุคคลในลักษณะใดบ้าง และส่งผลต่อบุคคลในการประพฤติปฏิบัติตน ในการ ดำรงชีวิต ทั้งในด้านการทำงานและ ความเป็นอยู่ในแต่ละสังคม คุณลักษณะโดยทั่วไปของจริยธรรม เมื่อพิจารณาแล้วเราสมารถแบ่งได้ดัง
1. ความรับผิดชอบ หมายถึง การบุคคลนั้น สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ความผูกพัน ด้วยความเพียร ละเอียดรอบคอบยอมรับผลของการกระทำ ในการ ปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้บรรลุ ตามมุ่งหมาย มีพยายามปรับปรุงการทำงาน ของตน ให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น และพร้อมที่จะสร้างสรรค์งานใหม่ อยู่ตลอดเวลา เป็นต้น
2. ความซื่อสัตย์ หมายถึง การประพฤติปฏิบัติตนของบุคคลอย่างเหมาะสม
ตรงต่อความเป็นจริง ตรงไปตรงมา ทั้งกาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น หาก ทำงานอยู่ในองค์กรต้องมีความซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง ต่อลูกจ้าง ต่อองค์กร ต่อสังคม และต่อประเทศชาติ เป็นต้น
3. ความมีเหตุผล หมายถึง ความสามารถในการใช้ปัญญา รู้จักไตร่ตรอง
พิสูจน์ให้ประจักษ์ ไม่หลง งมงาย มีความยับยั้งชั่งใจ โดยไม่ผูกพันกับอารมณ์และ
ความยืดมั่นของตนเอง ที่มีอยู่เดิมซึ่งอาจจะผิดได้ ไม่เชื่อง่าย หูเบา รู้จักใช้เหตุผล
ในกานพิจารณาเรื่องราวที่รับรู้ เป็นต้น
4. ความกตัญญูกตเวที หมายถึง การที่บุคคลนั้นมีจิตใจและการประพฤติ
ที่รู้สำนึกในอุปการคุณของผู้มีพระคูณแล้วแสดงออกตอบแทนต่อมีพระคุณอย่าง บริสุทธิ์ใจ มิใช่เป็นการกระทำเฉพาะหน้าที่ที่ต้องกระทำ แต่ควรเป็นการกระทำ ที่ แสกงออกมาซึ่งความ เต็มใจอย่างแท้จริง เป็นต้น
5. การรักษาระเบียบวินัย หมายถึง แนวปฏิบัติในการที่จะควบคุมความ
ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้อง เหมาะสมกับ จรรยาบรรณ ข้อบังคับ ข้อตกลง กฎหมาย และศีลธรรม ซึ่งในองค์กรทุกองค์กร เพื่อเป็นข้อตกลงร่วมกัน ทั้งต้องเป็น แนวปฏิบัติร่วมกันตลอดจนในสังคมจะต้องมี เพื่อให้เกิดความสันติสุขในสังคม เป็นต้น
6. ความสามัคคี หมายถึง การเตรียมความพร้อมเพรียม เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
ร่วมมือกันกระทำกิจกรรม หรือกิจกรรมต่างๆ ให้ได้สำเร็จลุล่วงด้วยดี เห็นแก่ ประโยชน์ส่วนร่วมมากกว่าส่วนตัว ซึ่งยัง หมายถึงการที่จะต้องรู้ถึงการปรับตนเอง ให้เข้ากับผู้อื่นได้ดี รับผิดชอบในหน้าที่ ตลอดจนการมีความรักในหมู่คณะ เป็นต้น
7. ความยุติธรรม หมายถึง การมีจิตใจที่ความเที่ยงตรง ซึ่งความเที่ยงตรงนี้
จะต้องสอดคล้องกับความจริง ไม่ลำเอียง หรือมีการปกปิด ซึ่งหากบุคคลมีความ ยุติธรรม ประจำตนแล้วนั้น ปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในทางที่ไม่ดี จะเกิดขึ้นน้อยมาก
8. ความเสียสละ หมายถึง การที่บุคคลนั้นละแล้วซึ่งความเห็นแก่ตัว รู้จัก
สลัดอารมณ์ร้ายในตัวเองทิ้ง การมีน้ำใจและแบ่งปันให้กับบุคคลอื่น การให้ความ ช่วยเหลือด้วยกำลังทรัพย์ กำลงกาย กำลังสติปัญญา เป็นต้น
9. การประหยัด หมายถึง การที่บุคคลนั้นไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือย รู้จักยับยั้ง
ความต้องการให้อยู่ในขอบเขต มีความพอดี ใช้สิ่งของทั้งหลาย อย่างพอเหมาะ พอควร ใช้ให้ได้ ประโยชน์มากที่สุด รู้จักระมัดระวัง ไม่ให้มีส่วนเกินเหลือทิ้ง เป็นต้น
10. ความเมตตากรุณา หมายถึง การที่บุคลมีความรักใคร่ปอง ดองกัน มี
ความปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข โดยไม่หวังสิ่งใด ๆ ตอบแทน ซึ่งมีจุดหมายที่จะ ให้บุคคลดังกล่าวให้พ้นทุกข์ เป็นต้น
11. ความอุตสาหะ หมายถึง การที่บุคคลมีความพยายามอย่างเข็มแข็งในการ
รทที่จะมุ่งมั่นในการทำงานหรือทำกิจกรรม ใด ๆ ให้สำเร็จดังที่ตั้งเป้าหมายไว้ เพื่อให้เกิดความสำเร็จ ในการทำงานและตรงตามเวลาที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นต้น


จัดทำโดย
1.นายชาตรี ผาดวงดี เลขที่ 30
2. นางสาวปิยพร คำตัน เลขที่ 15