ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก
ความหมายของการพิมพ์
คือ จำลองต้นฉบับอันหนึ่งซึ่งจะเป็นภาพหรือเป็นตัวหนังสือก็ตามออกเป็นจำนวนมาก ๆ หลายสำเนาเหมือน ๆ กัน บนวัตถุที่เป็นพื้นแบนหรือใกล้เคียงกับพื้นแบนด้วยการใช้เครื่องมือกล
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
1. หนังสือพิมพ์ (newspaper)
2. นิตยสารและวารสาร ( magazine / journal)
3. หนังสือเล่ม (book)
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
ความหมายของ " สื่อ " พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายคำว่า "สื่อ" ว่าหากเป็นคำกริยา หมายถึง การทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน ในกรณีที่เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หรือสิ่งของที่ทำให้การติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
ความหมายของบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. พัฒนาการบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในกระบวนการสื่อสาร
3. แสดงวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้แจ่มชัด
4. มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเพียงพอ การที่จะเสนอเนื้อหาในฐานะผู้ส่งสาร
5. รับผิดชอบในเนื้อหาหนังสือพิมพ์ ในฐานะผู้ส่งสาร
6. พยายามเข้าใจความสามารถและความพร้อมในการรับของผู้รับสาร ฐานะผู้ส่งสาร
คือ สื่อที่ใช้การพิมพ์เป็นหลักเพื่อติดต่อสื่อสาร ทำความเข้าใจกันด้วยภาษาเขียนโดยใช้วัสดุกระดาษหรือวัสดุอื่นใดที่พิมพ์ได้หลายสำเนา เช่น ผ้า แผ่นพลาสติก
ความหมายของการพิมพ์
คือ จำลองต้นฉบับอันหนึ่งซึ่งจะเป็นภาพหรือเป็นตัวหนังสือก็ตามออกเป็นจำนวนมาก ๆ หลายสำเนาเหมือน ๆ กัน บนวัตถุที่เป็นพื้นแบนหรือใกล้เคียงกับพื้นแบนด้วยการใช้เครื่องมือกล
ประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์
1. หนังสือพิมพ์ (newspaper)
2. นิตยสารและวารสาร ( magazine / journal)
3. หนังสือเล่ม (book)
4. สิ่งพิมพ์เฉพาะกิจ
ความหมายของสื่อสิ่งพิมพ์
ความหมายของ " สื่อ " พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ได้ให้ความหมายคำว่า "สื่อ" ว่าหากเป็นคำกริยา หมายถึง การทำการติดต่อให้ถึงกัน ชักนำให้รู้จักกัน ในกรณีที่เป็นคำนาม หมายถึง ผู้หรือสิ่งของที่ทำให้การติดต่อให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
ความหมายของบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. พัฒนาการบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในกระบวนการสื่อสาร
3. แสดงวัตถุประสงค์ในการสื่อสารให้แจ่มชัด
4. มีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาเพียงพอ การที่จะเสนอเนื้อหาในฐานะผู้ส่งสาร
5. รับผิดชอบในเนื้อหาหนังสือพิมพ์ ในฐานะผู้ส่งสาร
6. พยายามเข้าใจความสามารถและความพร้อมในการรับของผู้รับสาร ฐานะผู้ส่งสาร
บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ“สาร”
1. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ “ ผู้รับสาร ”
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในระบบสังคม
3. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในการพัฒนา
4. ปัจจัยจำกัดบทบทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
ความเป็นมา
สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสำหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสำคัญของ สิ่งพิมพ์ ว่า “สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้ มีหลาย ๆ สำเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ในสังคมไทยมีหลายแบบหลายลักษณะ มีทั้งที่พิมพ์ในวงจำกัดและที่พิมพ์แพร่หลายทั่วไป ตามความต้องการของสังคมและจุดมุ่งหมายของผู้ผลิต ยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนมีความต้องการที่จะรับรู้ข่าวสารที่ดี ที่ถูกต้อง กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ในบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลในปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์นับเป็นสื่อที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้
สิ่งพิมพ์ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้สื่ออื่น ๆ ปัจจุบันมีการสนับสนุนวงการพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานแสดงความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการพิมพ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน งานดรูปา (Drupa) จัดทุก 4 ปี ที่เมืองดุชเชลดอร์ฟ การจัดงานประกวดโฆษณายอดเยี่ยมของโลก (Clio Award) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกวดงาน โฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2536 - 2537 (Tact Award) มีสิ่งพิมพ์ส่งเข้าประกวดมากที่สุดถึง 697 ชิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อวงการต่าง ๆ
ภารกิจ อิสรเสรีภาพ และความรับผิดชอบของสื่อสิ่งพิมพ์
1. บทบาทและหน้าที่
1.1 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้กรอบทฤษฎี
ภารกิจ (Function) - ลักษณะของจรรยาบรรณ (Code of Ethics) จากบันทึกความจำ ถ่ายทอดข่าวสาร อธิบายความ (Interpretation) บทบาทต่อธุรกิจ บันเทิง (Entertainment) เป็นสื่อกลาง สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ เป็นสถาบันทางสังคม รักษาสถานภาพของสังคม
1.2 บทบาทและหน้าที่ ในกระบวนการสื่อสาร ของสื่อสิ่งพิมพ์
1.2.1 ฐานะผู้ส่งสาร (Sender, Source)
- บอกวัตถุประสงค์ information, teaching, education, attention, entertain
- บอกเนื้อหา facts, truth
- รับผิดชอบเนื้อหา และวิธีการนำเสนอ การเขียน การเลือกช่องทางเผยแพร่
- วิเคราะห์ผู้รับสารให้ถูกตัว ถูกกลุ่ม ถูกกาละ ตรงตามต้องการ/สนใจ
1.2.2 ฐานะสาร (Message) สารประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
- รหัสสาร (Code message)
- เนื้อหา (Content message)
- การจัดสาร (Message treatment) -“ตอกไข่ ปรุง ใส่ข้าว”
1.2.3 ฐานะสื่อ (Channel)
- ส่งไปยังผู้รับอย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก (สื่อสารมวลชน)
- มองเห็น อ่านได้
- คงทนถาวรกว่าสื่ออื่น
- ส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่ออื่น
- ทบทวนข่าวสารได้หลายครั้ง โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้ง
- ราคาถูก
1.2.4 ฐานะผู้รับสาร (Reciever)
- ความเป็นปัจเจกบุคคล (เป็นตัวของตัวเอง)
- ความเป็นกลุ่มก้อน (เป็นสมาชิกกลุ่ม)
- ความเป็นสื่อกลาง
- เป็นผู้ใช้ หรือบริโภคข่าวสาร
1.3 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้ระบบของสังคม และการเมือง
Authoritarianism
Libertarianism
Social responsibility
บทบาทหน้าที่ต่อ - ชนชั้นกลาง
- นักการเมือง
- คนรากหญ้า
1.4 บทบาทและหน้าที่ ต่อการพัฒนาทุนทางสังคม
1. คน และพลังมวลชน
2. ระบบ แบบแผน กิจกรรม กิจการ พิธีกรรม
3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
4. ความรู้ และความจริง
5. การสื่อสาร
6. สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม
7. วัฒนธรรม
8. ทุนที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ
9. นวัตกรรมทางสังคม
1.5 บทบาทหน้าที่ต่อการส่งเสริมการส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
1.6 กฎหมาย นโยบาย และระบบการผลิต ที่มีอิทธิพลต่อบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. เสรีภาพและความรับผิดชอบ (อำนาจภายนอกที่มีต่อสื่อ)
2.1 เสรีภาพตามกฎธรรมชาติ ศาสนา และปรัชญา ของบุคคล
2.2 เสรีภาพตามกรอบกฎหมาย จริยธรรม-จรรยาบรรณ ของสิ่งพิมพ์
2.3 ความรับผิดชอบของสิ่งพิมพ์ ในฐานะสถาบันการศึกษา สถาบันแห่งความเป็นกลาง และในฐานะเป็นสมบัติของประชาชน
3. อิสรภาพและอุดมการณ์ (อำนาจภายในของสื่อ)
3.1 อิสรภาพตามลัทธิความเชื่อทางศาสนา และปรัชญาของสังคม
3.2 อุดมการณ์ความเป็นสื่อกลางของประชาชน
3.3 หน้าที่ต่อการสร้างระบบสุขภาวะของประชาชน
4. อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์
4.1 อิทธิพลที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจ
4.2 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
4.3 อิทธิพลทีมีต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสังคม
- เป็นสถาบันทางการสื่อสาร
- เป็นตัวเชื่อมของสังคมที่มีความแตกต่างกัน
- เป็นแหล่ง Information
4.5 ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลของสื่อ (ต่อ Awareness, Knowledge, Attitude, Behavior, Decission, Culture-Socialization-Economic-Political)
- กฎหมาย
- จริยธรรมของสื่อ
- เทคโนโลยีการพิมพ์
- เทคนิคการนำเสนอ
- การพัฒนาระบบและเนื้อหา
- นักเขียน
- ความละเอียดหลากหลายของข้อมูลข่าวสาร
- ลักษณะธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์
4.6 ปัญหาที่มาจากตัวสื่อ
- ความรับผิดชอบ
- ความซื่อสัตย์ ไม่บิดเบือน
- ความเป็นกลาง ไม่มีอคติ
- การสำคัญผิด
บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์เปรียบเสมือนสื่อกลางหรือกระจกสะท้อนให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของสังคมบ้านเมืองหรือของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเพณีและวัฒนธรรม โดยทำหน้าที่และบทบาทในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล การนำเสนอ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ดังนั้นบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือ การกระทำหรือการสื่อสารของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้ส่งผลกำลังส่งผลหรือจะส่งผลต่อชีวิตและสังคม
1.บทบาทการเป็นนายทวารประตูข่าว
เคิร์ท เลวิน ได้ให้ความหมายของนายทวารประตูข่าว หรือคนเฝ้าประตูว่า คือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในช่องทางการสื่อสาร เป็นผู้ตัดสินใจข่าวสารที่ตนได้รับมานั้นจะส่งไปยังมวลชนหรือไม่ และส่งไปอย่างไร บุคคลผู้ทำหน้าที่นี้มักได้แก่ บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว นักข่าว ซึ่งจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเลือกและเสนอข่าวสารไปยังประชาชน
2.บทบาทการเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
มีบทบาทในการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ เสาะหาข้อเท็จจริง รายงานแบบเจาะลึก รวมไปถึงการราย งานเชิงสืบสวนเปิดโปง
3.บทบาทการเป็นสุนัขยาม
3.1 เฝ้าและจับตาดูการปฏิบัติงานของรัฐบาลเจ้าหน้าที่รัฐว่าการทำงานตามหน้าที่ตามนโยบายหรือไม่
3.2 พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนจากกลุ่มอิทธิพลนักการเมือง
3.3 เตือนหรือเห่าให้เจาหน้าที่รัฐทำตามหน้าที่อันที่ถูกต้องหรือละเว้นการกระทำไม่ถูกต้องและเตือนให้ประชาชนระวังกลลวง
4.บทบาทการเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์
4.1 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชน
4.2 ตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือพฤติกรรมที่ถูกร้องเรียนพร้อมหาข้อเท็จจริงมารายงาย
4.3 ตรวจสอบสื่อด้วยกันเองในเชิงจริยธรรม และจรรยาบรรณ
หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
3. ให้สาระและความบันเทิง
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
1. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในฐานะ “ ผู้รับสาร ”
2. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในระบบสังคม
3. บทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์ในการพัฒนา
4. ปัจจัยจำกัดบทบทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
ความเป็นมา
สิ่งพิมพ์ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ความสำคัญยิ่งควบคู่มากับการพัฒนาการของมนุษยชาติ และจัดเป็นสื่อมวลชนประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญมาตลอดนับแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในการถ่ายทอดความรู้วิชาการ และเพื่อการติดต่อ สื่อสารสำหรับมนุษยชาติ ดังคำจำกัดความของพจนี พลสิทธิ์ (2536 : 3) สรุปความเป็นมาและความสำคัญของ สิ่งพิมพ์ ว่า “สิ่งพิมพ์” นับเป็นวัสดุที่แสดงถึงพัฒนา การความเจริญก้าวหน้าทางด้านสติปัญญา ของมนุษย์ ความคิด จินตนาการ เจตคติ ความฝัน ชีวิต วัฒนธรรม สังคม เหตุการณ์ เรื่องราวต่าง ๆ ของมนุษย์แต่ลายุคสมัย สามารถเก็บรักษาสืบทอดจาดชนรุ่นหนึ่งไปสู่ชนรุ่นหลัง ความคิดในเรื่องการพิมพ์นี้นอกเหนือจาก เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกความคิด จินตนาการ ความรู้ และเหตุการณ์ต่างๆ แล้วยังเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าชนชาติต่าง ๆ ในโลกนี้ล้วนมีความพยายามที่จะพัฒนาความคิดของตนให้เจริญก้าวหน้าทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ความคิดในเรื่องการพิมพ์ที่มีจุดประสงค์เริ่มแรกก็คงเพื่อให้มีการแพร่หลายเรื่องความคิด ความรู้ ไปสู่ชนรุ่นหลัง และเพื่อให้ มีหลาย ๆ สำเนาจะได้เก็บรักษาให้คงอยู่ได้นานปีนั้น ในยุคปัจจุบันชนรุ่นหลังได้สานต่อความคิดเรื่องการพิมพ์จนกระทั่งกลายเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัย และซับซ้อน สามารถผลิตสิ่งพิมพ์ได้หลากหลายชนิดตอบสนองวัตถุประสงค์ของมนุษยชาติได้กว้างขวางนอกเหนือจากสื่อสิ่งพิมพ์จะเป็นสื่อมวลชนที่มีความเกี่ยวกันกับมนุษยชาติมานานนับพัน ๆ ปี และมีความเก่าแก่กว่าสื่อมวลชนประเภทอื่นไม่ว่าจะเป็น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ หรืออินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นสื่อประเภทหนึ่งที่มีการใช้แพร่หลายไปทั่วโลกเช่นในปัจจุบันก็ตาม แต่สื่อสิ่งพิมพ์ก็ยังเป็นสื่อที่มีการใช้อย่างแพร่หลายเป็นที่นิยมของทุกชนชาติมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน ไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทใดก็ตาม เช่น หนังสือพิมพ์รายวัน นิตยสาร วารสาร หรือสิ่งพิมพ์ประเภทต่าง ๆ สาเหตุสำคัญที่ทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ยังเป็นที่นิยมแพร่หลายมาโดยตลอด ก็เพราะบุคคลสามารถเลือกอ่านได้ตามความเหมาะสม อีกทั้งยังใช้เป็นเอกสารอ้างอิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความสำคัญของสิ่งพิมพ์
สิ่งพิมพ์ในสังคมไทยมีหลายแบบหลายลักษณะ มีทั้งที่พิมพ์ในวงจำกัดและที่พิมพ์แพร่หลายทั่วไป ตามความต้องการของสังคมและจุดมุ่งหมายของผู้ผลิต ยิ่งในอนาคตอันใกล้นี้ประเทศไทยกำลังก้าวสู่การเป็นประเทศในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้ประชาชนมีความต้องการที่จะรับรู้ข่าวสารที่ดี ที่ถูกต้อง กว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ในบรรดาสื่อต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลในปัจจุบันสื่อสิ่งพิมพ์นับเป็นสื่อที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านั้นได้
สิ่งพิมพ์ทำหน้าที่เป็นสื่อมวลชนชนิดหนึ่ง ซึ่งมีความสำคัญไม่แพ้สื่ออื่น ๆ ปัจจุบันมีการสนับสนุนวงการพิมพ์ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น งานแสดงความทันสมัยของเทคโนโลยีทางการพิมพ์ที่กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน งานดรูปา (Drupa) จัดทุก 4 ปี ที่เมืองดุชเชลดอร์ฟ การจัดงานประกวดโฆษณายอดเยี่ยมของโลก (Clio Award) ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการประกวดงาน โฆษณายอดเยี่ยมแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 18 ประจำปี พ.ศ. 2536 - 2537 (Tact Award) มีสิ่งพิมพ์ส่งเข้าประกวดมากที่สุดถึง 697 ชิ้น ทั้งนี้เป็นเพราะสิ่งพิมพ์มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างไปจากสื่ออื่น ๆ สิ่งพิมพ์มีอิทธิพลต่อวงการต่าง ๆ
ภารกิจ อิสรเสรีภาพ และความรับผิดชอบของสื่อสิ่งพิมพ์
1. บทบาทและหน้าที่
1.1 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้กรอบทฤษฎี
ภารกิจ (Function) - ลักษณะของจรรยาบรรณ (Code of Ethics) จากบันทึกความจำ ถ่ายทอดข่าวสาร อธิบายความ (Interpretation) บทบาทต่อธุรกิจ บันเทิง (Entertainment) เป็นสื่อกลาง สร้างค่านิยมและวัฒนธรรมใหม่ เป็นสถาบันทางสังคม รักษาสถานภาพของสังคม
1.2 บทบาทและหน้าที่ ในกระบวนการสื่อสาร ของสื่อสิ่งพิมพ์
1.2.1 ฐานะผู้ส่งสาร (Sender, Source)
- บอกวัตถุประสงค์ information, teaching, education, attention, entertain
- บอกเนื้อหา facts, truth
- รับผิดชอบเนื้อหา และวิธีการนำเสนอ การเขียน การเลือกช่องทางเผยแพร่
- วิเคราะห์ผู้รับสารให้ถูกตัว ถูกกลุ่ม ถูกกาละ ตรงตามต้องการ/สนใจ
1.2.2 ฐานะสาร (Message) สารประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ คือ
- รหัสสาร (Code message)
- เนื้อหา (Content message)
- การจัดสาร (Message treatment) -“ตอกไข่ ปรุง ใส่ข้าว”
1.2.3 ฐานะสื่อ (Channel)
- ส่งไปยังผู้รับอย่างรวดเร็ว และจำนวนมาก (สื่อสารมวลชน)
- มองเห็น อ่านได้
- คงทนถาวรกว่าสื่ออื่น
- ส่งไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ดีกว่าสื่ออื่น
- ทบทวนข่าวสารได้หลายครั้ง โดยไม่จำกัดเวลา สถานที่ จำนวนครั้ง
- ราคาถูก
1.2.4 ฐานะผู้รับสาร (Reciever)
- ความเป็นปัจเจกบุคคล (เป็นตัวของตัวเอง)
- ความเป็นกลุ่มก้อน (เป็นสมาชิกกลุ่ม)
- ความเป็นสื่อกลาง
- เป็นผู้ใช้ หรือบริโภคข่าวสาร
1.3 บทบาทและหน้าที่ ภายใต้ระบบของสังคม และการเมือง
Authoritarianism
Libertarianism
Social responsibility
บทบาทหน้าที่ต่อ - ชนชั้นกลาง
- นักการเมือง
- คนรากหญ้า
1.4 บทบาทและหน้าที่ ต่อการพัฒนาทุนทางสังคม
1. คน และพลังมวลชน
2. ระบบ แบบแผน กิจกรรม กิจการ พิธีกรรม
3. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
4. ความรู้ และความจริง
5. การสื่อสาร
6. สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางจิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม
7. วัฒนธรรม
8. ทุนที่เป็นวัตถุดิบ อุปกรณ์ เครื่องจักร เครื่องมือ
9. นวัตกรรมทางสังคม
1.5 บทบาทหน้าที่ต่อการส่งเสริมการส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
1.6 กฎหมาย นโยบาย และระบบการผลิต ที่มีอิทธิพลต่อบทบาทและหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
2. เสรีภาพและความรับผิดชอบ (อำนาจภายนอกที่มีต่อสื่อ)
2.1 เสรีภาพตามกฎธรรมชาติ ศาสนา และปรัชญา ของบุคคล
2.2 เสรีภาพตามกรอบกฎหมาย จริยธรรม-จรรยาบรรณ ของสิ่งพิมพ์
2.3 ความรับผิดชอบของสิ่งพิมพ์ ในฐานะสถาบันการศึกษา สถาบันแห่งความเป็นกลาง และในฐานะเป็นสมบัติของประชาชน
3. อิสรภาพและอุดมการณ์ (อำนาจภายในของสื่อ)
3.1 อิสรภาพตามลัทธิความเชื่อทางศาสนา และปรัชญาของสังคม
3.2 อุดมการณ์ความเป็นสื่อกลางของประชาชน
3.3 หน้าที่ต่อการสร้างระบบสุขภาวะของประชาชน
4. อิทธิพลของสื่อสิ่งพิมพ์
4.1 อิทธิพลที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจ
4.2 อิทธิพลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
4.3 อิทธิพลทีมีต่อการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจและการเมือง
4.4 ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์กับสังคม
- เป็นสถาบันทางการสื่อสาร
- เป็นตัวเชื่อมของสังคมที่มีความแตกต่างกัน
- เป็นแหล่ง Information
4.5 ปัจจัยที่มีผลต่ออิทธิพลของสื่อ (ต่อ Awareness, Knowledge, Attitude, Behavior, Decission, Culture-Socialization-Economic-Political)
- กฎหมาย
- จริยธรรมของสื่อ
- เทคโนโลยีการพิมพ์
- เทคนิคการนำเสนอ
- การพัฒนาระบบและเนื้อหา
- นักเขียน
- ความละเอียดหลากหลายของข้อมูลข่าวสาร
- ลักษณะธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์
4.6 ปัญหาที่มาจากตัวสื่อ
- ความรับผิดชอบ
- ความซื่อสัตย์ ไม่บิดเบือน
- ความเป็นกลาง ไม่มีอคติ
- การสำคัญผิด
บทบาทหน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
สื่อสิ่งพิมพ์เปรียบเสมือนสื่อกลางหรือกระจกสะท้อนให้เห็นลักษณะต่าง ๆ ของสังคมบ้านเมืองหรือของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเมือง เศรษฐกิจ สังคมประเพณีและวัฒนธรรม โดยทำหน้าที่และบทบาทในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล การนำเสนอ แสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ดังนั้นบทบาทของสื่อสิ่งพิมพ์ก็คือ การกระทำหรือการสื่อสารของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ได้ส่งผลกำลังส่งผลหรือจะส่งผลต่อชีวิตและสังคม
1.บทบาทการเป็นนายทวารประตูข่าว
เคิร์ท เลวิน ได้ให้ความหมายของนายทวารประตูข่าว หรือคนเฝ้าประตูว่า คือบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลางในช่องทางการสื่อสาร เป็นผู้ตัดสินใจข่าวสารที่ตนได้รับมานั้นจะส่งไปยังมวลชนหรือไม่ และส่งไปอย่างไร บุคคลผู้ทำหน้าที่นี้มักได้แก่ บรรณาธิการ หัวหน้าข่าว นักข่าว ซึ่งจะต้องใช้วิจารณญาณในการตัดสินเลือกและเสนอข่าวสารไปยังประชาชน
2.บทบาทการเป็นผู้แจ้งข่าวสาร
มีบทบาทในการแจ้งข่าวสารให้ประชาชนทราบ เสาะหาข้อเท็จจริง รายงานแบบเจาะลึก รวมไปถึงการราย งานเชิงสืบสวนเปิดโปง
3.บทบาทการเป็นสุนัขยาม
3.1 เฝ้าและจับตาดูการปฏิบัติงานของรัฐบาลเจ้าหน้าที่รัฐว่าการทำงานตามหน้าที่ตามนโยบายหรือไม่
3.2 พิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนจากกลุ่มอิทธิพลนักการเมือง
3.3 เตือนหรือเห่าให้เจาหน้าที่รัฐทำตามหน้าที่อันที่ถูกต้องหรือละเว้นการกระทำไม่ถูกต้องและเตือนให้ประชาชนระวังกลลวง
4.บทบาทการเป็นเจ้าหน้าที่รับเรื่องราวร้องทุกข์
4.1 รับเรื่องราวร้องทุกข์จากประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือเอกชน
4.2 ตรวจสอบการปฏิบัติงานหรือพฤติกรรมที่ถูกร้องเรียนพร้อมหาข้อเท็จจริงมารายงาย
4.3 ตรวจสอบสื่อด้วยกันเองในเชิงจริยธรรม และจรรยาบรรณ
หน้าที่ของสื่อสิ่งพิมพ์
1. ให้ข่าวสารและรายงานความเคลื่อนไหวของเหตุการณ์ต่างๆ
2. เป็นแหล่งกลางในการนำเสนอความคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
3. ให้สาระและความบันเทิง
4. ให้ความรู้ทางการศึกษาและบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ
5. ให้บริการด้านธุรกิจการค้า
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น