วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553


SDRAM (เอสดีแรม) ย่อมาจากคำว่า Synchronous Dynamic RAM SDRAM คือหน่วยความจำแรมที่พัฒนามาจาก DRAM เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับระบบบัสความเร็วสูงได้ โดยบริษัทซัมซุงเป็นผู้พัฒนาขึ้นมาในปี ค.ศ.1993 ซึ่งหน่วยความจำก่อนหน้านี้ใช้ระบบบัสแบบอะซิงโครนัส นั่นหมายถึงจังหวะการทำงานของซีพียูกับหน่วยความจำใช้สัญญาณนาฬิกาคนละตัว จังหวะการทำงานที่ไม่ซิงโครไนซ์กัน จึงเป็นปัญหา เพราะเทคโนโลยีซีพียูต้องการความเร็วและมีการสร้างระบบบัสมาตรฐานขึ้นมา ชนิดของ SDRAM เช่น PC66 PC100 PC133 หรือ PC200 (จะเห็นว่ามีอักษร PC แล้วตามด้วยตัวเลขต่อท้ายอยู่ด้วย ซึ่งก็คือการระบุความเร็วบัสในการทำงานของหน่วยความจำ SDRAM ตัวนั้นคะ เช่น PC100 ก็แสดงว่า SDRAM ตัวนั้นออกแบบมาให้ทำงานกับระบบบัสที่ความเร็ว 100MHz ) แต่ว่าเมื่อเทคโนลียีแรมพัฒนาขึ้นอีก SDRAM ก็มีผู้ใช้น้อยลง จนในปัจจุบัน SDRAM ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่เก่าไปแล้ว
*************************************************************************

DRAM
Dynamic Random Access Memory หรือ DRAM หรือ ดีแรม คือ แรม (Random Access Memory; RAM) หรือ หน่วยความจำชนิดปกติสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์พีซีและเครื่องเวิร์คสเตชั่น (Workstation) หน่วยความจำคือเครือข่ายของประจุไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เก็บข้อมูลในรูปของ "0" และ "1" ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายๆRandom Access หรือ การเข้าถึงแบบสุ่ม หมายถึง โปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อมูลที่ต้องการเรียงตามลำดับจากจุดเริ่มต้นDRAM คือไดนามิก ซึ่งตรงกันข้ามกับ SRAM หรือ สแตติกแรม (Static RAM); DRAM ต้องการการรีเฟรช (Refresh) เซลเก็บข้อมูล หรือการประจุไฟ (Charge) ในทุกๆช่วงมิลลิวินาที ในขณะที่ SRAM ไม่ต้องการการรีเฟรชเซลเก็บข้อมูล เนื่องจากมันทำงานบนทฤษฎีของการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้าซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงใน 2 ทิศทาง ไม่เหมือนกับเซลเก็บข้อมูลซึ่งเป็นเพียงตัวเก็บประจุไฟฟ้าเท่านั้น โดยทั่วไป SRAM มักจะถูกใช้เป็นหน่วยความจำแคช (Cache Memory) ซึ่งโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงได้เร็วกว่าDRAM จะเก็บทุกๆบิตในเซลเก็บข้อมูล ซึ่งประกอบขึ้นด้วยกลุ่มตัวเก็บประจุ (คาปาซิเตอร์; Capacitor) และทรานซิสเตอร์ (Transistor) คาปาซิเตอร์จะสูญเสียประจุไฟฟ้าอย่างรวดเร็ว และนั่นเป็นเห็นเหตุผลว่า ทำไม DRAM จึงต้องการการรีชาร์ต
*******************************************************************************

DDR-RAM (ดีดีอาร์ แรม) หรือ DDR SDRAM ย่อมาจากคำว่า "Double Data Rate SDRAM" คือ หน่วยความที่ใช้เก็บข้อมูลชั่วคราว (Ram) ที่ได้รับการพัฒนา และ ยึดถือหลักการทำงานตามปกติของหน่วยความจำแบบ SD-RAM จึงทำให้ทำงานได้เหมือนกัน SD-RAM แทบทุกอย่าง แตกต่างกันตรงที่ DDR-RAM สามารถทำงานที่ความเร็วสูงกว่า 200MHz (เมกะเฮิร์ตซ) ขึ้นไปได้ และมีความสามารถในการรับส่งข้อมูลเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า คือ รับส่งข้อมูลได้ทั้งทั้งขาขึ้นและขาลงของสัญญาณนาฬิกา เทียบกับSD-RAM ปกติที่จะรับส่งข้อมูลเฉพาะขาขึ้นของสัญญาณนาฬิกาเพียงด้านเดียวคะ แรมชนิดนี้สังเกตุได้จากมีจำนวนขาสัญญาณ(Pins) 184 ขา และเขี้ยวที่ด้านสัมผัสทองแดงมีอยู่ที่เดียว แตกต่างจาก SD-RAM ที่มีอยู่ 2 ที่

*******************************************************************************

ประเภทของแรม (RAM)
แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
๐ Static RAM (SRAM) ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ” กับ “ไม่มีไฟ” ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบเท่าที่ยังมีกระแสไฟฟ้าเลี้ยงวงจรอยู่ นิยมไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำแคช (Cache) ภายในตัวซีพียู เพราะมีความเร็วในการทำงานสูงกว่า DRAM มาก แต่ไม่สามารถทำให้มีขนาดความจุสูงๆได้ เนื่องจากราคาแพงและกินกระแสไฟมากจนมักทำให้เกิดความร้อนสูง อีกทั้งวงจรก็ยังมีขนาดใหญ่ด้วย
๐ Dynamic RAM (DRAM) ทำจากวงจรที่ใช้การเก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ” กับ “ไม่มีประจุ” ซึ่งวิธีนี้จะใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยกว่า SRAM มาก แต่โดยธรรมชาติแล้วประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปได้เรื่อยๆ ดังนั้นเพื่อให้ DRAM สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟเลี้ยงวงจรอยู่ จึงต้องมีวงจรอีกส่วนหนึ่งคอยทำหน้าที่ “เติมประจุ” ไฟฟ้าให้เป็นระยะๆ ซึ่งเรียกกระบวนการเติมประจุไฟฟ้านี้ว่าการ รีเฟรช (Refresh) หน่วยความจำประเภท DRAM นี้ นิยมนำไปใช้ทำเป็นหน่วยความจำหลักของระบบในรูปแบบของชิปอที (Integrated Circuit) บนแผงโมดูลของหน่วยความจำ RAM หลากหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR, DDR2, DDR3 และ RDRAM เป็นต้น โดยสามารถออกแบบให้มีขนาดความจุสูงๆได้ กินไฟน้อย และไม่เกิดความร้อนสูงชนิดของแรมหรือ DRAM (ในปัจจุบัน)
DRAM ที่นำมาใช้ทำเป็นแผงหน่วยความจำหลักของระบบชนิดต่างๆ มีดังนี้
EDO RAM
คำว่า EDO ย่อมาจาก Extended Data-Out เป็น DRAM ที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าปัจจุบันได้ผลิตไปนานแล้ว SDRAM (Synchronous DRAM) ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์ (Package) แบบ TSOP (Thin Small Outline Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM (Dual Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 168 ขา ใช้แรงดันไฟ 3.3 โวลต์ ความเร็วบัสมีให้เลือกใช้ทั้งรุ่น PC-66 (66 MHz), PC-100 (100 MHz), PC-133 (133 MHz) และ PC-150 (150 MHz) ปัจจุบันได้หมดความนิยมไปแล้วจะได้พบก็แต่เพียงในคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆเท่านั้น ในยุคของ SDRAM ได้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการจำแนกรุ่นต่างๆจากเดิมที่เคยระบุเป็นค่าตัวเลข Access Time ว่ากี่ ns ไปเป็นการบอกความเร็วของบัสที่ใช้งานแทน เช่น 66,100 หรื 133 MHz หรือที่เรามักจะเห็นกันตามกันตามร้านขายอุปกรณ์ที่มักตะระบุข้อความว่าเป็น PC-66, PC-100 หรือ PC-133 นั่นเองและโดยมากมักจะทำออกมาเป็นแผงแบบ 168 Pin เพียงอย่างเดียว
DDR SDRAM (Double Data Rate SDRAM)
ตัวชิปจะใช้ผลิตภัณฑ์แบบ TSOP เช่นเดียวกับ SDRAM และมีขนาดความยาวของแผงโมดูลเท่ากันคือ 5.25 นิ้ว ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 184 ขา ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ รองรับความจุสูงสุดได้ 1 GB/แผง ความเร็วบัสในปัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 133 MHz (DDR-266) ไปจนถึง 350 MHz (DDR-700)
DDR-II SDRAM
ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA (Fine-Pitch Ball Grid Array) ที่มีความต้านทานไฟฟ้าต่ำกว่าแบบ TSOP อีกทั้งยังสามารถออกแบบให้ตัวชิปมีขนาดเล็กและบางลงได้ รวมทั้งการปรับปรุงประสิทธิภาพอีกหลายประการ เช่น การผนวกเอา ODT (On-Die Termination) เข้าไปไว้บนโมดูลของหน่วยความจำเพื่อลดสัญญาณรบกวน, การขยายสัญญาณเป็น 4-bit Prefetch, Additive Latency และ Enhanced Registers เป็นต้น รวมไปถึงจุดเด่นในเรื่องของการปรับลดการใช้พลังงานไฟฟ้าและการใช้ความถี่ที่สูงขึ้น DDR-II SDRAM มีจำนวนขาสัญญาณทั้งสิ้น 240 Pin ซึ่งต่างจาก DDR SDRAM แบบเดิมที่มีเพียง 184 Pin เท่านั้น ดังนั้นจึงต้องใช้เมนบอร์ดที่สนับสนุนหน่วยความจำ DDR II โดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันก็สามารถพบเห็นได้ทั่วไปทั้งในเครื่อง PC ที่ใช้ชิปเซ็ตของ Intel ในตระกูล Q9xx, P9xx, และ i9xx ทุกรุ่น (i915GL และ i910GL) ร่วมกับช็อคเก็ต LGA 775 และ PCI-Express เป็นต้น นอกจากนี้ยังใช้ชิปเซ็ตของ Intel สำหรับเครื่อง Notebook ในตระกูล i9xx ทุกรุ่นด้วย
DDR-III SDRAM เป็นหน่วยความจำรุ่นล่าสุด โดยตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ FBGA เช่นเดียวกับ DDR2 และมีขนาดความยาวของแผงโมดูลเท่ากันคือ 5.25 นิ้ว ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ DIMM ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 1 ร่อง ซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ตรงกันกับของ DDR2 ทำให้ไม่สามารถเสียบแทนกันได้ และมีจำนวนขาทั้งสิ้น 240 ขา ใช้แรงดันไฟน้อยลงไปอีกเหลือเพียง 1.5 โวลต์ รองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 4 GB ความเร็วบัสในปัจจุบันมีให้เลือกใช้ตั้งแต่ 400 MHz (DDR3-800) ไปถึง 533 MHz (DDR3-1066) และคาดว่าในเร็วๆนี้ยังอาจมีความเร็วสูงขึ้นไปอีกจนถึง 667 MHz (DDR3-1333) และ 800 MHz (DDR3-1600) ปัจจุบันหน่วยความจำแบบ DDR3 นี้เริ่มเห็นได้มากขึ้น โดยถูกนำมาใช้งานร่วมกับชิปเซ็ตรุ่นใหม่ๆของ Intel อย่าง Intel P35 Express เป็นต้น RDRAM (Rambus DRAM) ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยบริษัท Rambus Inc. โดยถูกนำมาใช้งานครั้งแรกร่วมกับชิปเซ็ต i850 และซีพียู Pemtium 4 ของ Intel ในยุคเริ่มต้น ปัจจุบันไม่ค่อยได้รับความนิยมเท่าที่ควร โดยมีชิปเซ็ตและเมนบอร์ดของ Intel เพียงบางรุ่นเท่านั้นที่สนับสนุน ตัวชิปจะใช้บรรจุภัณฑ์แบบ CSP (Chip-Scale Package) ติดตั้งอยู่บนแผงโมดูลแบบ RIMM (Rambus Inline Memory Module) ที่มีร่องบากบริเวณแนวขาสัญญาณ 2 ร่อง ใช้แรงดันไฟ 2.5 โวลต์ และรองรับความจุสูงสุดได้มากถึง 2 GB ปัจจุบัน RDRAM ที่มีวางขายตามท้องตลาด สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
๐ RDRAM (16 บิต) เป็น RDRAM แบบ Single Channel ที่มีความกว้างบัส 1 แชนแนล ขนาด 16 บิต

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม




คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนาตั้งแต่เริ่มแรกสาเหตุที่เรียกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ

อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลดลงมากเมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูง มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์กร ซึ่งอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และมีการดูแลรักษาอย่างดีบริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยใช้เครื่องเมนเฟรมอย่างไรก็ตาม ขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด

ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม


เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงมากและมักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์อื่น ๆ พ่วงต่ออยู่ด้วยเสมอ เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ใช้จำนวนตั้งแต่ไม่กี่คนไปจนถึงนับร้อยคนสามารถใช้งานต่าง ๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน จึงมักจะทำหน้าที่เป็นโฮสต์เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ตามปกตินั้นสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การใช้งานในบริษัทรับประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีสาขาประจำภาคอยู่อีกสามแห่ง คือที่ราชบุรี เชียงราย และ ภูเก็ต แต่ละสาขาประจำภาคก็จะมีสาขาย่อยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยรอบสาขาใหญ่นั้น ๆ ที่สำนักงานใหญ่และสาขาประจำภาคจะมีเครื่องเมนเฟรมที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของสาขาประจำจังหวัดในกลุ่มนั้น ๆ เข้าด้วยกันและเมนเฟรมทั้งสี่เครื่องก็จะถูกเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างแบบนี้จะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครื่องเมนเฟรมลง และยังช่วยให้การตอบสนองระหว่างผู้ใช้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นเช่น ผู้ใช้ในจังหวัดหนึ่งสามารถติดต่อกับเครื่องเมนเฟรมประจำกลุ่มของตนเองได้โดยตรง ส่วนผู้บริหารระดับสูงก็สามารถตรวจสอบรวบรวมข้อมูลจากเครื่องเมนเฟรมทั้งสี่แห่งเข้าด้วยกันได้ตลอดเวลาที่ต้องการ



ภาพที่ 2.15 แสดงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลโดยมีเครื่องเมนเฟรมทำหน้าที่เป็นโหนดเนื่องจากเครื่องเมนเฟรมเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีราคาแพงมากและระบบมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทอร์มินอล แต่ในทางกลับกัน จะมีเครื่องเทอร์มินอลจำนวนมากเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรมซึ่งทำหน้าที่เป็นโฮสต์ให้บริการสารพัดอย่างแก่เทอร์มินอลเหล่านั้นรวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วย
ในปัจจุบัน บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (โดยเฉพาะในประเทศไทย) ได้เลิกใช้เครื่องเมนเฟรมแล้วหันไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน แต่มี ค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก อย่างไรก็ตามยังคงมีบริษัทและองค์กรขนาดใหญ่อีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงใช้เครื่องเมนเฟรมอยู่ในการให้บริการทุกชนิดแก่บุคลากรในองค์กรนั้น ๆ งานหลายชนิดก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องเมนเฟรม เช่น การพยากรณ์อากาศ การคำนวณขนาดใหญ่ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เครื่องเมนเฟรมยังคงยิ่งใหญ่เหนือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในเรื่องค่าใช้จ่ายโดยรวมที่ต่ำกว่า เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีกว่า การขยายขีดความสามารถได้มากกว่า ความไว้วางใจได้ในระดับที่สูงกว่า และวิธีการควบคุมระบบทั้งระบบจากศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว
อ้างอิง http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson2_7.php





วันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์




เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในสำนักงานในบ้านนั้นเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ มีแบบตั้งโต๊ะ(Desktop)แบบพกพา(Notebook) และ พาล์มทอป(Palmtop) ไมโครคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลัก ๆ
ดังนี้
เคส (Case) คือ ส่วนที่บรรจุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น แผงวงจนหลัก ฮาร์ดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เคสมีทั้งแบบแนวนอนและแนวตั้ง

มาเตอร์บอร์ด (Motherboard) หรือเรียกกันว่าเมนบอร์ด (Mainboard)
แผงวงจรหลัก หรือเมนบอร์ด (Mainboard) ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง เป็นต้น

ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลและโปรแกรม ภายในจะมีข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ บรรจุอยู่

ซีดีรอม (CD - ROM)
เครื่องขับคอมแพคดิสก์ หรือซีดีรอม (CD-ROM) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูล บนแผ่นซีดี มีความสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก

แรม (RAM)
เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลและโปแกรมขณะที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล

CPUหน่วยประมวลผลกลางหน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำกรประมวลผลข้อมูล

ดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive)
หน่วยขับดิสก์ หรือดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ มีขนาด 3.5 นิ้ว

แป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์

เมาส์ (Mouse)
เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญรูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ

จอภาพ (Monitor)
จอภาพ หรือมอนิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงผลการประมวลในรูปของภาพ หรือข้อความ

เครื่องพิมพ์ หรือ พริ้นเตอร์ (Printer)
เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลโดยการพิมพ์ข้อมูลออกเป็นตัวอักษร ตัวเลขและรูปภาพ

ลำโพง (Speaker)
ลำโพง หรือสปีคเกอร์ เป็นอุปกรณ์หน่วยสดงผลในรูปของเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี มีในคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบสื่อประสมหรือมัลติมีเดีย (Multiedia)


องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วนด้วยกัน คือ
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์

ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
คือลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และ อุปกรณ์รอบข้าง (peripheral) ที่เกี่ยวข้อง เช่น ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย
หน่วยรับข้อมูล ( input unit )
หน่วยประมวลผลกลาง ( central processor unit ) หรือ CPU
หน่วยความจำหลัก
หน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit )
หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง (secondary storage unit )
หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ จากนั้น หน่วยประมวลผลกลาง จะนำไปประมวลผล และแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมากให้ผู้ใช้รับทราบทาง หน่วยแสดงผลลัพธ์
หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราวที่มีขนาดไม่สูงมากนัก การที่ฮาร์ดแวร์จะทำหน้าที่ได้มีประสิทธิภาพนั้น ขึ้นอยู่กับโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ส่วนการทำงานได้มากน้อยเพียงใด จะขึ้นอยู่กับหน่วยความจำหลักของเครื่องนั้น ๆ ข้อเสียของหน่วยความจำหลักคือ หากปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในหน่วยความจำหลักจะหายไป ในขณะที่ข้อมูลอยู่ที่ หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็ยข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก จึงเหมาะสำหรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ หรือเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง ข้อเสียของหน่วยเก็บข้อมูลสำรองคือการเรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก
ฮาร์ดแวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

ซอฟต์แวร์ (Software)
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใดๆ เนื่องจากต้องมี ซอฟต์แวร์ (Software) ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ (Programming Language) ภาษาใดภาษาหนึ่ง และมี โปรแกรมเมอร์ (Programmer) หรือนักเขียนโปรแกรมเป็นผู้ใช้ภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเขียนซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ขึ้นมา
ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆคือ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software )
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ( Application Software )
ซอฟต์แวร์ระบบ โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงานอื่น ๆ ที่ผู้ใช้ต้องการได้ต่อไป ส่วน ซอฟต์แวร์ประยุกต์ จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน
ซอฟต์แวร์ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์

บุคลากร (Peopleware)
เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ ยูเซอร์ (user) แต่ก็มีบางชนิดที่สามารถทำงานได้เองโดยไม่ต้องใช้ผู้ควบคุม อย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ก็ยังคงต้องถูกออกแบบหรือดูแลรักษาโดยมนุษย์เสมอ
ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (computer user) แบ่งได้เป็นหลายระดับ เพราะผู้ใช้คอมพิวเตอร์บางส่วนก็ทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์เท่านั้น แต่บางส่วนก็พยายามศึกษาโปรแกรมประยุกต์ในขั้นที่สูงขึ้น ทำให้มีความชำนาญในการใช้โปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ นิยมเรียกกลุ่มนี้ว่า เพาเวอร์ยูสเซอร์ (power user)
ผู้เชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์ (computer professional) หมายถึงผู้ที่ได้ศึกษาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์ ทั้งในระดับกลางและระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้จะนำความรู้ที่ได้ศึกษามาประยุกต์และพัฒนาใช้งาน และประสิทธิภาพของระบบคอมพิวเตอร์ให้ทำงานในขั้นสูงขึ้นไปได้อีก นักเขียนโปรแกรม (programmer) ก็ถือว่าเป็นผู้เชียวชาญทางคอมพิวเตอร์เช่นกัน เพราะสามารถสร้างโปรแกรมใหม่ ๆ ได้ และเป็นเส้นทางหนึ่งที่จะนำไปสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ต่อไป
บุคลากรก็เป็นส่วนหนึ่งของระบบคอมพิวเตอร์ เพราะมีความเกี่ยวข้องกับระบบคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่การพัฒนาเครื่องคอมพิวเตอร์ ตลอดจนถึงการนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ ซึ่งสามารถสรุปลักษณะงานได้ดังนี้
การดำเนินงานและเครื่องอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น การบันทึกข้อมูลลงสื่อ หรือส่งข้อมูลเข้าประมวล หรือควบคุมการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล (Data Entry Operator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาโปรแกรม เช่น เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ (Application Programmer) เจ้าหน้าที่พัฒนาโปรแกรม (System Programmer) เป็นต้น
การวิเคราะห์และออกแบบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล เช่น เจ้าหน้าที่วิเคราะห์และออกแบบระบบงาน (System Analyst and Administrator) วิศวกรระบบ (System Engineer) เจ้าหน้าที่จัดการฐานข้อมูล (Database Adminstrator) เป็นต้น
การพัฒนาและบำรุงรักษาระบบทางฮาร์ดแวร์ เช่น เจ้าหน้าที่ควบคุมการทำงานระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) เป็นต้น
การบริหารในหน่วยประมวลผลข้อมูล เช่น ผู้บริหารศูนย์ประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) เป็นต้น
ข้อมูลและสารสนเทศ (Data / Information)
ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานที่ถูกเก็บรวบรวมมาประมวลผล เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ้งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพโดยแตกต่างๆระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ คือ
ข้อมูล คือ ได้จากการสำรวจจริง แต่ สารสนเทศ คือ ได้จากข้อมูลไม่ผ่านกระบวนการหนึ่งก่อน
สารสนเทศเป็นสิ่งที่ผู้บริหาารนำไปใช้ช่วยในการตัดสินใจ โดยที่สารสนเทศที่มีประโยชน์นั้นจะมีคุณสมบัติ ดังตาราง
มีความสัมพันธ์กัน (relevant)
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน
มีความทันสมัย (timely)
ต้องมีความทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานได้ทันทีเมื่อต้องการ
มีความถูกต้องแม่นยำ (accurate)
เมื่อป้อนข้อมูลเข้าสู่คอมพิวเตอร์และผลลัพธ์ที่ได้จะต้องถูกต้องในทุกส่วน
มีความกระชับรัดกุม (concise)
ข้อมูลจะต้องถูกย่นให้มีความยาวที่พอเหมาะ
มีความสมบูรณ์ในตัวเอง (complete)
ต้องรวบรวมข้อมูลที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน
คุณสมบัติของสารสนเทศที่มีประโยชน์


การเปลี่ยนรูปจากข้อมูลสู่สารสนเทศ

กระบวนการทำงาน (Procedure)
กระบวนการทำงานหรือโพรซีเยอร์ หมายถึง ขั้นตอนที่ผู้ใช้จะต้องทำตาม เพื่อให้ได้งานเฉพาะอย่างจากคอมพิวเตอร์ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทุกคนต้องรู้การทำงานพื้นฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตัวอย่างเช่น การใช้เครื่อง ฝาก-ถอนเงินอัตโนมัติ ถ้าต้องการถอนเงินจะต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ ดังนี้
จอภาพแสดงข้อความเตรียมพร้อมที่จะทำงาน
สอดบัตร และพิมพ์รหัสผู้ใช้
เลือกรายการ
ใส่จำนวนเงินที่ต้องการ
รับเงิน
รับใบบันทึกรายการ และบัตร
การใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติงานในส่วนต่าง ๆ นั้นมักจะมีขั้นตอนที่สลับซับซ้อน และเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานด้วย จึงต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานที่ชัดเจน เช่น คู่มือสำหรับผู้ควบคุมเครื่อง (Operation Manual) คู่มือสำหรับผู้ใช้ (User Manual) เป็นต้น



สำหรับคอมพิวเตอร์นั้น จะมีส่วนประกอบหลัก ๆ อยู่ 4 ส่วนด้วยกัน คือ
1. โปรเซสเซอร์ (Processor)
2. หน่วยความจำ(Memory)
3. ส่วนอินพุต/เอาต์พุต (Input/Output)
4. สื่อจัดเก็บข้อมูล(Storage)

1.โปรเซสเซอร์ (Processor)
หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) หน่วยประมวลผลกลางหรือซีพียู เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ ที่มีความสำคัญมากที่สุด ของฮาร์ดแวร์เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์อินพุต ตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนประสำคัญ 3 ส่วน คือ
1. หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit : ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยทำงานเกี่ยวข้องกับ การคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร นอกจากนี้หน่วยคำนวณและตรรกะของคอมพิวเตอร์ ยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไข และกฏเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ เช่น เปรียบเทียบมากว่า น้อยกว่า เท่ากัน ไม่เท่ากัน ของจำนวน 2 จำนวน เป็นต้น ซึ่งการเปรียบเทียบนี้มักจะใช้ในการเลือกทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จะทำตามคำสั่งใดของโปรแกรมเป็น คําสั่งต่อไป
2. หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุมทำหน้าที่คงบคุมลำดับขั้นตอนการการประมวลผลและการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ภายใน หน่วยประมวลผลกลาง และรวมไปถึงการประสานงานในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยประมวลผลกลาง กับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย เมื่อผู้ใช้ต้องการประมวลผล ตามชุดคำสั่งใด ผู้ใช้จะต้องส่งข้อมูลและชุดคำสั่งนั้น ๆ เข้าสู่ระบบ คอมพิวเตอร์เสียก่อน โดยข้อมูล และชุดคำสั่งดังกล่าวจะถูกนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำหลักก่อน จากนั้นหน่วยควบคุมจะดึงคำสั่งจาก ชุดคำสั่งที่มีอยู่ในหน่วยความจำหลักออกมาทีละคำสั่งเพื่อทำการแปล ความหมายว่าคำสั่งดังกล่าวสั่งให้ ฮาร์ดแวร์ส่วนใด ทำงานอะไรกับข้อมูลตัวใด เมื่อทราบความหมายของ คำสั่งนั้นแล้ว หน่วยควบคุมก็จะส่ง สัญญาณคำสั่งไปยังฮาร์แวร์ ส่วนที่ทำหน้าที่ ในการประมวลผลดังกล่าว ให้ทำตามคำสั่งนั้น ๆ เช่น ถ้าคำสั่ง ที่เข้ามานั้นเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการคำนวณ หน่วยควบคุมจะส่งสัญญาณ คำสั่งไปยังหน่วยคำนวณและตรรกะ ให้ทำงาน หน่วยคำนวณและตรรกะก็จะไปทำการดึงข้อมูลจาก หน่วยความจำหลักเข้ามาประมวลผล ตามคำสั่งแล้วนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงยังอุปกรณ์แสดงผล หน่วยคงบคุมจึงจะส่งสัญญาณคำสั่งไปยัง อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ ที่กำหนดให้ดึงข้อมูลจากหน่วยความจำหลัก ออกไปแสดงให้เห็นผลลัพธ์ดังกล่าว อีกต่อหนึ่ง
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) คอมพิวเตอร์จะสามารถทำงานได้เมื่อมีข้อมูล และชุดคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลอยู่ในหน่วยความ จำหลักเรียบร้อยแล้วเท่านั้น และหลักจากทำการประมวลผลข้อมูลตามชุดคำสั่งเรียบร้อบแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ จะถูกนำไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำหลัก และก่อนจะถูกนำออกไปแสดงที่อุปกรณ์แสดงผล ถ้าเปรียบเทียบกับร่างกายของมนุษย์โพรเซสเซอร์ก็น่าจะเปรียบเทียบเป็นเหมือนสมองของมนุษย์นั่งเอง ซึ่งคอยคิดควบคุมการทำงานส่วนต่างๆของร่างกาย ดังนั้นถ้าจัดระดับความสำคัญแล้วโพรเซสเซอร์ก็น่าจะมีความสำคัญเป็นอันดับแรก
DRAM คือ เมโมรี่แบบธรรมดาที่สุด ซึ่งความเร็วขึ้นอยู่กับค่า Access Time หรือเวลาที่ใช้ในการเอาข้อมูลในตำแหน่งที่เราต้องการออกมาให้ มีค่าอยู่ในระดับนาโนวินาที (ns) ยิ่งน้อยยิ่งดี เช่น ชนิด 60 นาโนวินาที เร็วกว่าชนิด 70 นาโนวินาที เป็นต้น รูปร่างของ DRAM เป็น SIMM 8 บิต (Single-in-line Memory Modules) มี 30 ขา DRAM ย่อมาจาก Dynamic Random Access Memory

Fast Page DRAM ปกติแล้วข้อมูลใน DRAM จึงถูกเก็บเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า Page ถ้าเป็น Fast Page DRAM จะเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่าปกติสองเท่าถ้าข้อมูลที่เข้าถึงครั้งที่แล้ว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน Page เดียวกัน Fast Page DRAM เป็นเมโมรี่ SIMM 32 บิตมี 72ขา (Pentium มีดาต้าบัสกว้าง 64 บิตดังนั้นจึงต้องใส่ SIMM ทีละสองแถวเสมอ)

EDO Ram นำข้อมูลขึ้นมาเก็บไว้ใน Buffer ด้วย เพื่อว่า ถ้าการขอข้อมูลครั้งต่อไป เป็นข้อมูลในไบต์ถัดไป จะให้เราได้ทันที EDO RAM จึงเร็วกว่า Fast Page DRAM ประมาณ 10 % ทั้งที่มี Access Time เท่ากัน เพราะโอกาสที่เราจะเอาข้อมูลติด ๆกัน มีค่อนข้างสูง EDO มีทั้งแบบ SIMM 32 บิตมี 72 ขา และ DIMM 64 บิตมี 144 ขา คำว่า EDO ย่อมาจาก Extended Data Out

SDRAM เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่เร็วกว่า EDO ประมาณ 25 % เพราะสามารถเรียกข้อมูลที่ต้องการขึ้นมาได้ทันที โดยที่ไม่ต้องรอให้เวลาผ่านไปเท่ากับ Access Time ก่อน หรือเรียกได้ว่า ไม่มี Wait State นั่นเอง ความเร็วของ SDRAM จึงไม่ดูที่ Access Time อีกต่อไป แต่ดูจากสัญญาณนาฬิกาที่ โปรเซสเซอร์ติดต่อกับ Ram เช่น 66, 100 หรือ 133 MHz เป็นต้น SDRAM เป็นแบบ DIMM 64 บิต มี 168 ขา เวลาซึ้อต้องดูด้วยว่า MHz ตรงกับเครื่องที่เราใช้หรือไม่ SDRAM ย่อมาจาก Sychronous DRAM เพราะทำงาน "sync" กับสัญญาณนาฬิกาบนเมนบอร์ด

SDRAM II (DDR)
DDR (Double Data Rate) SDRAM มีขา 184 ขา มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 2 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 2 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล และมีความเร็วมากกว่า SDRAM เช่น ความเร็ว 133 MHz คูณ 2 Pipline เท่ากับ 266 MHz

RDRAM หรือที่นิยมเรียกว่า RAMBUS มีขา 184 ขา ทำมาเพื่อให้ใช้กับ Pentium4 โดยเฉพาะ(เคยใช้กับ PentiumIII และ Chipset i820 ของ Intel แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากมีปัญหาเรื่องระบบไฟจึงยกเลิกไป) มีอัตราการส่งข้อมูลเป็น 4 เท่าของความเร็ว FSB ของตัว RAM คือ มี 4 ทิศทางในการรับส่งข้อมูล เช่น RAM มีความเร็ว BUS = 100 MHz คูณกับ 4 pipline จะเท่ากับ 400 MHz เป็นเมโมรี่แบบใหม่ที่มีความเร็วสูงมาก คิดค้นโดยบริษัท Rambus, Inc. จึงเรียกว่า Rambus DRAM หรือ RDRAM อาศัยช่องทางที่แคบ แต่มีแบนด์วิทด์สูงในการส่งข้อมูลไปยังโปรเซสเซอร์ ทำให้ความเร็วในการทำงานสูงกว่า SDRAM เป็นสิบเท่า RDRAM เป็นทางเลือกทางเดียวสำหรับเมนบอร์ดที่เร็วระดับหลายร้อยเมกกะเฮิร์ดซ์ มีแรมอีกชนิดหนึ่งที่ออกมาแข่งกับ RDRAM มีชื่อว่า Synclink DRAM ที่เพิ่มความเร็วของ SDRAM ด้วยการเพิ่มจำนวน bank เป็น 16 banks แทนที่จะเป็นแค่ 4 banks

ส่วนอินพุต/เอาต์พุต(Input/Output)
อุปกรณ์อินพุต (Input device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่าง ๆ จากโลก ภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ อุปกรณ์นำข้อมูลเข้า คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถสัมผัสและรับรู้สิ่งต่างๆ จากภายนอกเครื่องได้ อันได้แก่ โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนสั่งงาน ให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามขั้นตอน และข้อมูลที่ต้องใส่เข้าไปพร้อมกับโปรแกรม เพื่อส่งไปให้หน่วยประมวลผลกลางทำการประมวลผล และผลิตผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา ตัวอย่างเช่น เครื่องอ่านบัตร คีย์บอร์ด เมาส์ จอยสติก จอสัมผัส ปากกาแสง กล้องดิจิตอล สแกนเนอร์ เป็นต้น
อุปกรณ์เอาต์พุต (Output device) คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่โลกภายนอกได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องเจาะบัตร จอภาพ เครื่องพิมพ์ อุปกรณ์นำข้อมูลออก หรืออุปกรณ์แสดงผล คือ อุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ควบคุมหรือส่งผลออกมาสู่ภายนอกตัวเครื่องได้ หลังจากที่คอมพิวเตอร์ได้ทำการประมวลผลแล้ว ก็จะต้องมีวิธีในการนำผลลัพธ์ออกมาแสดง ซึ่งสามารถแบ่งอุปกรณ์แสดงผลนี้ ออกได้เป็น 3 ประเภทคือ อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ชั่วคราว เช่น จอภาพ (Monitor) อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวร เช่น เครื่องพิมพ์ (Printer) และอุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ถาวรทางด้านกราฟิก เช่น พลอตเตอร์ (Plotter) เป็นต้น

ผลิตภัณฑ์ TOP WORLD รุ่น TW-990R (Magnetic Access Controller ) เป็นเครื่องควบคุม (Controller)โดยใชับัตรแถบแม่เหล็ก (Magnetic Card) ทำงานโดยมีอุปกรณ์หลัก 2 ส่วนคือส่วนที่เป็นหัวอ่าน (Reader) และส่วนควบคุมประมวลผล(Controller) อยู่ในเครื่องเดียวกัน เมื่อมีการเข้า-ออกซึ่งต้องใช้บัตรรูดที่บริเวณหัวอ่าน (Reader) โดยที่หัวอ่านจะอ่านข้อมูลของบัตรแต่ละใบและส่งสัญญาณ ข้อมูลบัตรที่อ่าน ได้ไปยังส่วนควบคุมประมวลผล (Controller)
จากนั้นส่วนควบคุมจะทำการสั่งให้กลอนปลดล็อคออก ผู้เข้าผ่านสามารถเข้าประตูผ่าน ไปได้ หรือใช้สำหรับลงเวลาทำงานของพนักงานก็ได้ สามารถต่อกับระบบเสียงเตือนภัยเพื่อแจ้งเตือนกรณีเปิดประตูค้างทิ้งไว้ หรือมีการงัดประตู เครื่องควบคุม(Controller) สามารถทำการโปรแกรมการตั้งบัตรได้โดยใช้รหัส (Password) ในการเข้าโปรแกรมที่หน้าเครื่องควบคุมหรือที่คอมพิวเตอร์ และสามารถทำงานเป็นอิสระจากกันได้ (Standalone) โดยไม่จำเป็นต้องเปิดคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา


คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยนเป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส 7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8 บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์
เมื่อนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานพิมพ์ภาษาไทยจึงต้องมีการดัดแปลงแผงแป้นอักขระให้สามารถใช้ งานได้ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย กลุ่มแป้นที่ใช้พิมพ์ตัวอักษรภาษาไทยจะเป็นกลุ่มแป้นเดียวกับภาษาอังกฤษ แต่จะใช้แป้นพิเศษแป้นหนึ่งทำหน้าที่สลับเปลี่ยนการพิมพ์ภาษาไทย หรือภาษาอังกฤษภายใต้การควบคุมของซอฟต์แวร์อีกชั้นหนึ่ง

แผงแป้นอักขระสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตระกูลไอบีเอ็มที่ผลิตออามารุ่นแรก ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2524 จะเป็นแป้นรวมทั้งหมด 83 แป้น ซึ่งเรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอ็กซ์ที ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 บริษัทไอบีเอ็มได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระ กำหนดสัญญาณทางไฟฟ้าของแป้นขึ้นใหม่ จัดตำแหน่งและขนาดแป้นให้เหมาะสมดียิ่งขึ้น โดยมีจำนวนแป้นรวม 84 แป้น เรียกว่า แผงแป้นอักขระพีซีเอที และในเวลาต่อมาก็ได้ปรับปรุงแผงแป้นอักขระขึ้นพร้อม ๆ กับการออกเครื่องรุ่น PS/2 โดยใช้สัญญาณทางไฟฟ้า เช่นเดียวกับแผงแป้นอักขระรุ่นเอทีเดิม และเพิ่มจำนวนแป้นอีก 17 แป้น รวมเป็น 101 แป้น การเลือกซื้อแผงแป้นอักขระควรพิจารณารุ่นใหม่ที่เป็นมาตรฐานและสามารถใช้ได้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่
สำหรับเครื่องขนาดกระเป๋าหิ้วไม่ว่าจะเป็นแล็ปท็อปหรือโน้ตบุ๊ค ขนาดของแผงแป้นอักขระยังไม่มีการกำหนดมาตรฐาน เพราะผู้ผลิตต้องการพัฒนาให้เครื่องมีขนาดเล็กลงโดยลดจำนวนแป้นลง แล้วใช้แป้นหลายแป้นพร้อมกันเพื่อทำงานได้เหมือนแป้นเดียว

เมาส์ Mouse จัดเป็น Input Device ประเภทหนึ่งซึ่งข้อมูลที่ป้อน เข้าไปจะเป็นตำแหน่งและการ กด Mouse Mouse มีอยู่ด้วยกัน หลายประเภทโดยจะมี 1)Mouse แบบปกติที่พบเห็นทั่วไปอาจจะมี 2 ปุ่ม หรือ 3 ปุ่ม 2) Mouse แบบไร้สาย (WireLess) ซึ่งจะใช้ สัญญาณวิทยุโดย Mouse เป็นตัวส่งสัญญาณ และมีตัวรับสัญญาน ที่ต่อกับเครื่องคอม 3) Mouse แสง (Optical Mouse) เป็น Mouse ที่ไม่มีลูกกลิ้งที่ฐาน Mouse โดยใช้การอ่านค่าจากการ สะท้อนของแสงที่สัมผัสกับพื้นผิว 4) Scroll Mouse เป็น Mouse ที่มี Scroll ไว้เพื่อใช้เลื่อน Scroll Bar ในโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ เช่น Internet Explorer นอกจาก Mouse แล้วยังมีอุปกรณ์อีก ประเภทที่เรียกว่า Track Ball ซึ่งจะมีลักษณะคล้าย Mouse แต่ จะมี Ball อยู่ด้านบนแทนที่จะอยู่ด้านล่าง และเลื่อน Pointer โดยการ ใช้ นิ้วมือกลิ้งไปบน Ball

สแกนเนอร์ Scanner เป็น Input Device ที่รับข้อมูลโดยการ Scan ภาพหรือ เอกสาร ซึ่งปัจจุบันมีการนำFunction ในการส่งเอกสารเพิ่มเข้าไปใน Scanner ซึ่งสามารถส่งภาพที่ Scan โดยกดปุ่มที่ Scanner แทนที่จะต้องไปแนบภาพกับ e-mail แล้วค่อยส่ง คุณสมบัติของ Scanner จะวัดที่ค่า Resolution ว่ามีความละเอียดเท่าไร แสดงได้กี่สี และความเร็วในการ Scan

Game Pad จัดเป็นอุปกรณ์ Input Device อีกประเภทหนึ่ง ทำหน้าที่คล้าย Mouse แต่มีไว้สำหรับเล่นเกมส์ซึ่งผู้ผลิต Game Pad หรือ Joystick จะทำการออกแบบลักษณะของ Game Pad เพื่อให้ผู้ใช้รู้สึกสนุกและสมจริงกับการเล่นเกม โดยจะมีปุ่มที่ต่างกันแล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้เล่น เพราะสามารถกำหนดหน้าที่ให้กับปุ่มแต่ละปุ่มได้

เครื่องพิมพ์ เป็นอุปกรณ์เอ้าพุทชนิดหนึ่ง จะพิมพ์ออกมาบนกระดาษ ความเร็ว ของเครื่องพิมพ์ มีหน่วยเป็น PPM (page per minute) หรือจำนวนตัวอักษรต่อหน่วยเวลา หน่วยเป็น CPS (character per second) ความละเอียด ของเครื่องพิมพ์วัดจากจุดที่พิมพ์ในหนึ่งนิ้ว หน่วยเป็น DPI (dot per inch) สำหรับงานเอกสารทั่วไป ใช้ประมาณ 300 dpi สำหรับงานด้านกราฟฟิคใช้ประมาณ 600 dpi ยิ่งความละเอียดสูง งานที่พิมพ์ออกมาย่อมมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นประเภทของเครื่องพิมพ์ หลัก ๆ แบ่งได้ดังนี้
1. Dotmatrix ดอทแมทริกซ์ - เครื่องพิมพ์ที่ใช้หัวเข็มกระแทกผ้าหมึกลงบนกระดาษ ทำให้เกิดจุด จำนวนเข็มของหัวพิมพ์ มีสองแบบคือ ชนิด 9 เข็ม และชนิด 24 เข็ม เครื่องพิมพ์ชนิดนี้เวลาพิมพ์จะค่อนข้างมีเสียงดัง
2. Ink Jet เครื่องพิมพ์พ่นหมึก - ใช้วิธีพ่นหมึกลงบนกระดาษ สำหรับเครื่องพิมพ์สี จะใช้แม่สีในการพิมพ์ได้แก่ สีฟ้า แดง เหลือง และดำ ผสมกันเพื่อสร้างสีต่าง ๆ (ปัจจุบันเป็นที่นิยมมากเนื่องจากราคาไม่แพงนัก แต่ตลับสีค่อนข้างแพง)
3. Laser เครื่องพิมพ์เลเซอร์ - เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการยิงแสงเลเซอร์ ไปสร้างภาพบนกระดาษ ความเร็วในการพิมพ์จะอยู่ 4,6,8,12,20 ขึ้นกับความสามารถของเครื่องพิมพ์ ปัจจุบันมีการพัฒนาความเร็วมากขึ้น ทำให้มากกว่า 20 หน้าต่อนาที สำหรับการพิมพ์ด้วยเลเซอร์สี ปัจจุบันยังไม่เป็นที่นิยมมากนัก ในหมู่ผู้ใช้งานทั่วไป เนื่องจากยังมีราคาค่อนข้างสูงมาก
นอกจากเครื่องพิมพ์ข้างต้นแล้ว ยังมีเครื่องพิมพ์ประเภทอื่น ๆ อีก เช่น Ploter, Line Printer ซึ่งเป็นเครื่องพิมพ์ ทีใช้สำหรับงานขนาดใหญ่ โรงงาน และอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ และราคาก็สูงมาก เช่นเดียวกัน

จอภาพ ทำหน้าที่แสดงอักษร ข้อความและรูปภาพที่สร้างจากการ์ดแสดงผล ขนาดของจอภาพ วัดจาก ความยาวเส้นทแยงมุมของจอภาพ ขนาดมาตราฐานของจอภาพคือ 14 นิ้ว หรือ 15 นิ้ว สำหรับหน่วยที่ใช้วัด เรียกว่า ดอตพิตช์ (Dot Pitch) ยิ่งมีขนาดเล็กจะมีความคมชัดสูง สำหรับขนาดดอตพิตช์ มาตราฐานไม่ควรมากกว่า 0.28 มิลลิเมตร ปัจจุบันมีจอภาพที่กำลังเป็นที่สนใจมากคือ จอแบน (LCD) ซึ่งกินพื้นที่ในการติดตั้งน้อยมาก แต่ราคาปัจจุบันยังแพงมาก


สื่อจัดเก็บข้อมูล (Storage)
สื่อที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลในอดีตเริ่มตั้งแต่การใช้บัตรเจาะรู ต่อมามีการใช้เทปแม่เหล็กซึ่งสามารถอ่านและเขียนได้รวดเร็วกว่า รวมทั้งยังเก็บรักษาง่ายและมีความจุสูง ต่อมามีการพัฒนาดิสก์(Disk) ขึ้นมา ซึ่งสามารถอ่าน และค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วกว่าเทปแม่เหล็ก ดิสก์ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ
1. ดิสก์แบบอ่อน เป็นดิสก์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นพลาสติกบางๆ และมีสารแม่เหล็กเคลือบภายนอก ตัวอย่างดิสก์แบบนี้ เช่น แผ่นดิสก์ขนาด 3.25 นิ้ว ที่เราใช้กันอยู่
2. ดิสก์แบบแข็ง เป็นแผ่นดิสก์ที่เป็นแผ่นอลูมิเนียม มีสารแม่เหล็กเคลือบอยู่ เช่นฮาร์ดดิสก์ชนิดต่างๆ ดิสก์แบบนี้จะสามารถบันทึกได้มากกว่าดิสก์แบบอ่อน เพราะสามารถบรรจุข้อมูลได้หนาแน่นกว่า และมีความเร็วในการหมุนเร็วมาก ดังนั้นดิสก์แบบนี้จะมีการเก็บที่ดีมาก โดยจะมีกล่องครอบดิสก์ไว้ ไม่ให้มีอากาศ หรือฝุ่นเข้าไปถูกแผ่นดิสก์เลยและในปัจจุบันก็มีอุปกรณ์อีกอย่างที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ เรียกว่า Handy Drive จะเป็นชิปขนาดเล็กที่สามารถเก็บข้อมูลไว้ภายในได้ มีลักษณะคล้าย ROM แบบเขียนได้ โดยจะติดต่อกับเครื่องผ่านพอร์ต USB ปัจจุบันมีตั้งแต่ขนาด 2, 4, 8,… จนถึง 128 Mb

ดิสก์ ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าดิสก์มี 2 แบบ โดยมีลักษณะเป็นแผ่นกลมบาง สำหรับโครงสร้างของดิสก์จะมี 3 อย่าง คือ
1. แทร็ก(Track) เป็นลักษณะที่มีการแบ่งดิสก์ออกเป็นวง หลายๆวง แต่ละวงเรียกว่าแทร็ก โดยจะเริ่มที่แทร็ก 0
2. เซกเตอร์(Sector) เป็นการแบ่งแทร็กออกเป็นส่วนๆอีกครั้ง หากมองดูแล้วจะเหมืนเป็นการแบ่งดิสก์ออกเป็นส่วนๆโดยใช้เส้นผ่านศูนย์กลาง สำหรับในดิสก์แบบอ่อนจะมีการแบ่งเซกเตอร์ออกตั้งแต่ 8 ถึง 32 เซกเตอร์ ตามแต่ชนิดแผ่น แต่ในดิสก์แบบแข็งอาจมีการแบ่งเป็นหลายร้อยเซกเตอร์ก็ได้ โดยจะเริ่มที่เซกเตอร์ที่ 0 แต่เนื่องจากความกว้างของเซกเตอร์ในส่วนรอบนอกจะกว้างกว่าด้านใน ในบางครั้งจะมีการแบ่งเซกเตอร์ที่อยู่ในส่วนนอกอีกครั้งเพื่อให้มีขนาดที่เหมาะสม
3. ไซลินเดอร์(Cylinder) เนื่องจากดิสก์แบบแข็งจะมีดิสก์หลายแผ่นเรียงซ้อนกัน เราจะเรียกแทร็ก และเซกเตอร์ ของดิสก์แต่ละแผ่นที่ตรงกันว่า ไซลินเดอร์
หน่วยที่เล็กที่สุดในโครงสร้างของดิสก์คือบล็อก(Block) หรือช่องที่เกิดจากการแบ่งแทร็ก และเซกเตอร์นั่นเอง ซึ่งบล็อกนี้อาจจะมีเนื้อที่ 512 ไบต์ หรือ 1024 ไบต์ ก็ได้ ตามแต่วิธีการจัดการดิสก์
สำหรับในปัจจุบันนี้นั้น ได้มีทางเลือกให้ผู้ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ได้จัดเก็บข้อมูล ดังตัวอย่างที่จะนำมาเสนอดังต่อไปนี้
ตัวอย่างของสื่อหรืออุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูล
ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูลต่าง ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยจะเป็นแผ่นดิสก์และหัวอ่านที่บอบบางมาก และไม่ค่อยจะทนต่อการกระทบ กระเทือนได้ ดังนั้น จึงควรที่จะระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เวลาจัดถือไม่ควรให้กระแทกหรือกระเทือน และระมัดระวังไม่ให้มือโดน อุปกรณ์อื่น ๆ ที่อยู่บนแผงวงจร โดยปกติ ฮาร์ดดิสก์ มักจะบรรจุอยู่ในช่องที่เตรียมไว้เฉพาะภายในเครื่อง โดยจะมีการต่อสาย สัญญาณเข้ากับตัวควบคุมฮาร์ดดิสก์ และสายไฟเลี้ยงที่มาจากแหล่งจ่ายไฟด้วยเสมอ ในที่นี้ จะขอแนะนำให้รู้จักกับ ฮาร์ดดิสก์ แบบต่าง ๆ ในเบื้องต้น พอเป็นพื้นฐานในการทำความรู้จักและเลือกซื้อมาใช้งานกัน