วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เมนเฟรม คอมพิวเตอร์ (mainframe computer)

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (mainframe computer)
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนามาตั้งแต่เริ่มแรก เหตุที่เรียกว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดลดลงมาก เมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูงมาก มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์การ และต้องอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิและมีการดูแลรักษาเป็นอย่างดี บริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยเครื่องเมนเฟรม อย่างไรก็ตามขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม




คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีการพัฒนาตั้งแต่เริ่มแรกสาเหตุที่เรียกว่าเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ เพราะตัวเครื่องประกอบด้วยตู้ขนาดใหญ่ที่ภายในตู้มีชิ้นส่วนและอุปกรณ์ต่างๆ

อยู่เป็นจำนวนมาก แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมนเฟรมคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลดลงมากเมนเฟรมเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีราคาสูง มักอยู่ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์หลักขององค์กร ซึ่งอยู่ในห้องที่มีการควบคุมอุณหภูมิ และมีการดูแลรักษาอย่างดีบริษัทผู้ผลิตเมนเฟรมได้พัฒนาขีดความสามารถของเครื่องให้สูงขึ้น ข้อเด่นของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก เช่น ระบบเอทีเอ็มซึ่งเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลที่จัดการโดยใช้เครื่องเมนเฟรมอย่างไรก็ตาม ขนาดของเมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์ก็ยากที่จะจำแนกจากกันให้เห็นชัด

ปัจจุบันเมนเฟรมได้รับความนิยมน้อยลง ทั้งนี้เพราะคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กมีประสิทธิภาพและความสามารถดีขึ้น ราคาถูกลง ขณะเดียวกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็ดีขึ้นจนทำให้การใช้งานบนเครือข่ายกระทำได้เหมือนการใช้งานบนเมนเฟรม


เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ ขนาดใหญ่ที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงมากและมักจะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและอุปกรณ์อื่น ๆ พ่วงต่ออยู่ด้วยเสมอ เครื่องเมนเฟรมคอมพิวเตอร์ได้รับการออกแบบมาสำหรับผู้ใช้จำนวนตั้งแต่ไม่กี่คนไปจนถึงนับร้อยคนสามารถใช้งานต่าง ๆ กันได้ในเวลาเดียวกัน จึงมักจะทำหน้าที่เป็นโฮสต์เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับระบบเครือข่าย ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ตามปกตินั้นสามารถเข้าสู่ระบบเครือข่ายได้โดยอัตโนมัติ ตัวอย่างเช่น การใช้งานในบริษัทรับประกันวินาศภัยแห่งหนึ่งซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ โดยมีสาขาประจำภาคอยู่อีกสามแห่ง คือที่ราชบุรี เชียงราย และ ภูเก็ต แต่ละสาขาประจำภาคก็จะมีสาขาย่อยอยู่ตามจังหวัดต่าง ๆ โดยรอบสาขาใหญ่นั้น ๆ ที่สำนักงานใหญ่และสาขาประจำภาคจะมีเครื่องเมนเฟรมที่เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กของสาขาประจำจังหวัดในกลุ่มนั้น ๆ เข้าด้วยกันและเมนเฟรมทั้งสี่เครื่องก็จะถูกเชื่อมต่อถึงกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างแบบนี้จะช่วยลดปริมาณข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครื่องเมนเฟรมลง และยังช่วยให้การตอบสนองระหว่างผู้ใช้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นเช่น ผู้ใช้ในจังหวัดหนึ่งสามารถติดต่อกับเครื่องเมนเฟรมประจำกลุ่มของตนเองได้โดยตรง ส่วนผู้บริหารระดับสูงก็สามารถตรวจสอบรวบรวมข้อมูลจากเครื่องเมนเฟรมทั้งสี่แห่งเข้าด้วยกันได้ตลอดเวลาที่ต้องการ



ภาพที่ 2.15 แสดงเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลโดยมีเครื่องเมนเฟรมทำหน้าที่เป็นโหนดเนื่องจากเครื่องเมนเฟรมเป็นคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่มีราคาแพงมากและระบบมีโครงสร้างที่สลับซับซ้อน จึงไม่สามารถนำมาใช้เป็นเครื่องเทอร์มินอล แต่ในทางกลับกัน จะมีเครื่องเทอร์มินอลจำนวนมากเชื่อมต่อเข้ากับเครื่องเมนเฟรมซึ่งทำหน้าที่เป็นโฮสต์ให้บริการสารพัดอย่างแก่เทอร์มินอลเหล่านั้นรวมทั้งเป็นจุดเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบเครือข่ายด้วย
ในปัจจุบัน บริษัทและองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน (โดยเฉพาะในประเทศไทย) ได้เลิกใช้เครื่องเมนเฟรมแล้วหันไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อทำหน้าที่อย่างเดียวกัน แต่มี ค่าใช้จ่ายถูกกว่ามาก อย่างไรก็ตามยังคงมีบริษัทและองค์กรขนาดใหญ่อีกเป็นจำนวนมากที่ยังคงใช้เครื่องเมนเฟรมอยู่ในการให้บริการทุกชนิดแก่บุคลากรในองค์กรนั้น ๆ งานหลายชนิดก็มีความจำเป็นที่ต้องใช้เครื่องเมนเฟรม เช่น การพยากรณ์อากาศ การคำนวณขนาดใหญ่ทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นต้น เครื่องเมนเฟรมยังคงยิ่งใหญ่เหนือเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กในเรื่องค่าใช้จ่ายโดยรวมที่ต่ำกว่า เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลที่ดีกว่า การขยายขีดความสามารถได้มากกว่า ความไว้วางใจได้ในระดับที่สูงกว่า และวิธีการควบคุมระบบทั้งระบบจากศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว
อ้างอิง http://www.dcs.cmru.ac.th/lesson2_7.php





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น